ประสิทธิภาพในการประมาณค่าพารามิเตอร์ในการวิเคราะห์โมเดลสมการโครงสร้างภายใต้ เงื่อนไขทางสถิติที่แตกต่างกัน

Main Article Content

กัญญา บวรโชคชัย

บทคัดย่อ

การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อพัฒนารูปแบบและจำ ลองข้อมูลภายใต้เงื่อนไขทางสถิติที่แตกต่างกัน 2) เพื่อตรวจสอบ ความสอดคล้องของรูปแบบที่พัฒนาขึ้นกับข้อมูลเชิงประจักษ์ และ 3) เพื่อเปรียบเทียบปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อประสิทธิภาพในการ ประมาณค่าพารามิเตอร์ การศึกษาครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงทดลอง มีขั้นตอนดังนี้ 1) จำ ลองข้อมูลด้วยวิธีการมอนติคาร์โล เพื่อวิเคราะห์โมเดลสมการโครงสร้าง 2) วิเคราะห์โมเดลสมการโครงสร้างและตรวจสอบดัชนีวัดความสอดคล้องเชิงประจักษ์ ทั้ง 36 โมเดล 3) เปรียบเทียบปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อประสิทธิภาพในการประมาณค่าพารามิเตอร์ โดยปัจจัยในการศึกษาคือ ขนาดตัวอย่าง วิธีการประมาณค่าพารามิเตอร์ และระดับภาวะร่วมเส้นตรงพหุ ผลการศึกษาพบว่า 1) ข้อมูลที่จำ ลองขึ้นเป็นไป ตามเงื่อนไข 2) การตรวจสอบดัชนีวัดความสอดคล้องเชิงประจักษ์ เมื่อใช้วิธีการประมาณค่าวิธีภาวะความน่าจะเป็นสูงสุด (ML) และวิธีกำ ลังสองน้อยสุดถ่วงน้ำ หนัก (WLS) พบว่า โมเดลสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ ในทุกระดับของขนาดตัวอย่าง และ พบค่าสถิติไคกำ ลังสองมีแนวโน้มสูงขึ้นเมื่อขนาดตัวอย่างใหญ่ขึ้น และ 3) การเปรียบเทียบปัจจัยที่มีผลต่อประสิทธิภาพในการ ประมาณค่าพารามิเตอร์ โดยพิจารณาจากดัชนีความเอนเอียงสัมพัทธ์ (RB) และค่าความคลาดเคลื่อนมาตรฐานแบบมอนติคาร์โล (MCSE) พบว่า มีปฏิสัมพันธ์ระหว่างขนาดตัวอย่างและวิธีการประมาณค่าพารามิเตอร์ ที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพในการประมาณค่า พารามิเตอร์ อย่างมีนัยสำ คัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 เมื่อเปรียบเทียบรายคู่ ที่ขนาดตัวอย่าง 200 ชุด พบว่า วิธีการประมาณค่าวิธี ML กับวิธีกำลังสองน้อยที่สุดทั่วไป (GLS) และ ML กับ WLS ผลทำ ให้ดัชนี RB และ MCSE แตกต่างกันอย่างมีนัยสำ คัญทางสถิติ ที่ระดับ 0.05 สำ หรับขนาดตัวอย่างที่ระดับ 400 ชุด และ 1,000 ชุด ประสิทธิภาพในการประมาณค่าพารามิเตอร์ไม่แตกต่างกัน

Article Details

บท
Original Articles