ฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระ ฤทธิ์ยับยั้งเอนไซม์ไทโรซิเนสและอีลาสเตสของผัก 10 ชนิด ในจังหวัด นครราชสีมา

Main Article Content

ลัดดาวัลย์ พะวร
คงศักดิ์ บุญยะประณัย
อรอุมา จันทร์เสถียร
มินตรา อานนท์
สุพจน์ ทับทิมใหญ
อนุสรา อันพิมพ์

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปริมาณสารประกอบฟีนอลิกรวม ฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระ ฤทธิ์ยับยั้งเอนไซม์ไทโรซิเนส
และเอนไซม์อีลาสเตสของผักในจังหวัดนครราชสีมา จำ นวน 10 ชนิด ได้แก่ กะทกรก ผักแว่น ย่านาง ผักหนอก ชะพลู กระถิน
ผักแพว ผักแขยง ผักโขมและมะตูมซาอุ โดยนำส่วนใบของผักมาล้าง อบให้แห้ง แล้วบดให้ละเอียด สกัดด้วยวิธีแช่ (Maceration)
ด้วยตัวทำละลายเอทานอลเข้มข้น 95% การวิจัยประกอบด้วย 4 การทดลอง คือ การวิเคราะห์หาปริมาณสารประกอบฟีนอลิกรวม
ด้วยวิธี Folin-Ciocalteu method ฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระด้วยวิธี DPPH radical scavenging activity ฤทธิ์ยับยั้งเอนไซม์ไทโรซิเนส
ด้วยวิธี Dopachrome method และฤทธิ์ยับยั้งเอนไซม์อีลาสเตสด้วยวิธี Spectrophotometric method พบว่าผักทั้ง 10 ชนิด
มีปริมาณสารประกอบฟีนอลิกรวมอยู่ระหว่าง 47.56 - 307.83 mg GAE/g DW สารสกัดหยาบจากใบของกระถินมีปริมาณ
สารประกอบฟีนอลิกรวมมากที่สุด เท่ากับ 307.83±6.11 mg GAE/g DW การทดสอบฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระพบว่ากระถินมีฤทธิ์
ดีที่สุดมีค่าเท่ากับ 145.62±5.61 mg QAE/g DW รองลงมาคือ ผักโขม (123.51±5.57 mg QAE/g DW) และย่านาง (106.35±4.32
mg QAE/g DW) ตามลำ ดับ สำ หรับการวิเคราะห์ฤทธิ์ยับยั้งเอนไซม์ไทโรซิเนสและอีลาสเตส จากการศึกษาพบว่าสารสกัดหยาบ
ของใบกะทกรกมีฤทธิ์ยับยั้งดีที่สุด เท่ากับ 47.34±3.21% และ 45.21±3.33% ตามลำ ดับ ผลการวิจัยแสดงให้เห็นว่ากระถิน
กะทกรก ย่านางและ ผักโขม เป็นพืชที่มีสารออกฤทธิ์ทางชีวภาพ มีศักยภาพที่จะพัฒนาไปเป็นส่วนผสมในผลิตภัณฑ์เพื่อสุขภาพ
และความงามต่อไปได้

Article Details

บท
Original Articles