การสร้างสมการเพื่อทำ นายผลผลิตอ้อยด้วยค่าดัชนีพืชพรรณจากภาพถ่ายดาวเทียม Sentinel-2 กรณีศึกษา อำ เภอไชยวาน จังหวัดอุดรธานี

Main Article Content

Kompakorn Thaicharoen
jiradech Majandang

บทคัดย่อ

การทำ นายผลผลิตอ้อยช่วยในการประมาณวัตถุดิบเข้าสู่โรงงาน รวมถึงคาดการณ์ปริมาณน้ำ ตาลทรายที่สามารถผลิตได้ ส่งผล
ต่อการวางแผนจัดการผลผลิตที่จะเกิดขึ้นได้อย่างมีประสิทธิภาพ การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างสมการถดถอยเชิงเส้น
อย่างง่ายในการทำ นายผลผลิตอ้อย ด้วยค่าดัชนีพืชพรรณจากภาพถ่ายดาวเทียม Sentinel-2 กรณีศึกษา อำ เภอไชยวาน จังหวัด
อุดรธานี ค่าดัชนีพืชพรรณที่ใช้ประกอบด้วย Ratio Vegetation Index (RVI) Normalized Difference Vegetation Index (NDVI)
Normalized Ratio Vegetation Index (NRVI) Ashburn Vegetation Index (AVI) Soil Adjusted Vegetation Index (SAVI)
Transformation Vegetation Index (TVI) และ Infrared Percentage Vegetation Index (IPVI) ร่วมกับข้อมูลผลผลิตอ้อยจาก
แปลงตัวอย่างขนาด 20x20 เมตร ทั้งหมด 100 แปลง แบ่งเป็นข้อมูลที่ใช้สร้างสมการ 70 แปลง และใช้ตรวจสอบความถูกต้อง
30 แปลง ผลการศึกษาพบว่า สมการถดถอยจากดัชนีพืชพรรณ NDVI NRVI SAVI TVI และ IPVI ให้ค่าสัมประสิทธิ์การตัดสินใจ
สูงสุด เท่ากับ 0.88 และสมการถดถอยจากดัชนีพืชพรรณ NDVI NRVI และ SAVI มีค่าเปอร์เซ็นต์ความคลาดเคลื่อนสมบูรณ์เฉลี่ย
เท่ากับ 1.82 สมการที่ได้สามารถนำ ไปประเมินผลผลิตอ้อย เพื่อใช้ในการวางแผนบริหารจัดการผลผลิตที่จะเกิดขึ้นในอนาคต

Article Details

บท
Original Articles