ผลของฮอร์โมนพืชต่อการเจริญของว่านขันหมาก (Aglaonema tenuipes Engl.) ในหลอดทดลอง
Main Article Content
บทคัดย่อ
ว่านขันหมากหรือว่านขันหมากเศรษฐี (Aglaonema tenuipes Engl.) เป็นพืชสมุนไพรที่พบบริเวณชายป่าที่มีความชื้นใน ทั่วทุกภาคของประเทศไทย เป็นพืชที่กำลังได้รับความสนใจเนื่องจากมีสารต้านอนุมูลอิสระและช่วยลดการเกิดภูมิแพ้ รวมถึงมีชื่อ ที่เป็นมงคลทำ ให้นิยมนำ มาปลูกเป็นไม้ประดับ การศึกษาในครั้งนี้เพื่อศึกษาผลของฮอร์โมนพืชต่อการเจริญของว่านขันหมาก โดยนำ เทคนิคเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อพืชมาใช้ในการเพาะเลี้ยงว่านขันหมากบนอาหารเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อสูตร Murashige and Skoog (MS) จากการทดลองการชักนำ แคลลัสจากเมล็ดว่านขันหมากพบว่าสามารถชักนำ ให้เกิดแคลลัสได้ดีที่สุดบนอาหารที่เติม naphthyl acetic acid (NAA) 3.0 มิลลิกรัมต่อลิตร โดยมีขนาดแคลลัส 0.68±0.19เซนติเมตร และเกิดแคลลัสร้อยละ 86.67±5.77 การชักนำ ยอดใหม่จากส่วนยอดที่งอกจากเมล็ดพบว่าเมื่อเติม 6-benzylaminopurine (BAP) ความเข้มข้น 2.0 มิลลิกรัมต่อลิตร สามารถชักนำ ยอดใหม่ได้สูงจำ นวน 2.77 ±1.59 ยอดต่อชิ้นส่วน ซึ่งมีขนาดและลักษณะที่สมบูรณ์ที่สุด และการชักนำ ราก จากส่วนยอดของว่านขันหมากพบว่า NAA ความเข้มข้น 2.0 มิลลิกรัมต่อลิตร สามารถ ชักนำ รากได้มากที่สุดจำ นวน 11.93±1.65 รากต่อยอด และมีอัตราการชักนำ รากร้อยละ 100.0 จากผลการศึกษาจึงได้ข้อมูลพื้นฐานด้านการนำ เทคนิคการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ พืชเข้ามาใช้ในการพัฒนาว่านขันหมากทางด้านสมุนไพรไทยและการขยายพันธุ์เพื่อเป็นไม้ประดับต่อไป
Article Details
References
คำนูณ กาญจนภูมิ. (2542). การเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อพืช. พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพ:จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
นงนุช เลาหะวิสุทธิ์ และมัลลิกา มิตรน้อย. (2548). การเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อพรรณไม้น้ำอะโกลนีม่า (Aglaonema symplex). ใน: เรื่องเต็มการประชุมทางวิชาการของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ครั้งที่ 43. สาขาประมง มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์. กรุงเทพ: หน้า 267-274.
เบ็ญจมาศ จิตรสมบูรณ์. (2560). การตรวจสอบความเป็นพิษและฤทธิ์ทางชีวภาพของว่านขันหมาก (Aglaonema simplex BL.) รายงานการวิจัย มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี.
วราภรณ์ ภูตะลุน. (2557). เทคโนโลยีการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อพืชสมุนไพร : จากพื้นฐานสู่การประยุกต์ใช้ทางเภสัชศาสตร์. พิมพ์ครั้งที่ 1. ขอนแก่น: ขอนแก่นพิมพ์พัฒนา.
วิสาหกิจชุมชนกลุ่มแปรรูปสมุนไพรพื้นบ้านถ้ำเพชรโพธิ์ทอง. (2562). สินค้าของเราว่านขันหมาก. ได้จาก http://www.jajong.com/page/produck.html.
สมพร ประเสริฐส่งสกุล. (2552). การเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อกับการปรับปรุงพันธุ์พืช. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพ: สำนักพิมพ์โฟร์เพซ.
สันติ วัฒฐานะ หนูเดือน เมืองแสน ชูศรี ไตรสนธิ เกรียงศักดิ์ เอื้อมเก็บ บุญช่วย บุญมี ปฐมาภรณ์ ทิลารักษ์ ทศพร ชนกคุณ และรุ่งเพชร ปัญญาวุฒิ. (2563). หนังสือบัญชีรายการทรัพยากรชีวภาพพืชสมุนไพรและภูมิปัญญาการใช้สมุนไพรจังหวัดจันทบุรี ตราด. พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพ: สำนักงานพัฒนาเศรษฐกิจจากฐานชีวภาพ (องค์การมหาชน).
สุรวิช วรรณไกรโรจน์ ยี่โถ ทัพภะทัต เฉลิมศรี นนทสวัสดิ์ศรี เกวลิน คุณาศักดากุล รมณีย์เจริญทรัพย์ พนมพร วรรณประเสริฐ เพชรรัตน์ จันทรทิณ และ Ray, L.O. (2564). บาทฐานงานเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อพืช. พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพ: ศูนย์การพิมพ์แก่นจันทร์.
Abass, M.M., El-Shamy, H.A., Dawh, A.K. and Sayed, S.S. (2016). In vitro micropropagation of Aglaonema commutatum SCHOTT. Zagazig Journal of Horticultural Science, 43(2), 363-376.
Ahmed, A.B. and Mohamed, K.G. (2018). Micropropagation and ex vitro acclimatization of aglaonema plants. Middle East Journal of Applied Sciences, 8(4), 1425-1436.
Chen, W.L. and Yeh, D.M. (2007). Elimination of in vitro contamination, shoot multiplication, and ex vitro rooting of Aglaonema. HortScience, 42(3), 629-632.
Davies, P.J. (2010). The plant hormones: their nature, occurrence, and functions. Plant Hormones. Available from: https://doi.org/ 10.1007/978-1-4020-2686-7_1.
Fang, J.Y., Hsu, Y.R. and Chen, F.C. (2013). Development of an efficient micropropagation procedure for Aglaonema ‘Lady Valentine’ through adventitious shoot induction and proliferation. Plant Biotechnology, 30, 423-431.
Kaviani, B., Sedaghathoor, S., Motlagh, M.R.S. and Rouhi, S. (2019). Influence of plant growth regulators (BA, TDZ, 2-iP and NAA) on micropropagation of Aglaonema widuri. Plant Physiology, 9(2), 2709-2718.
Mariani, T.S., Fitriani, A., Jamie A., Silva, T.D., Wicaksono, A. and Chia, T.F. (2011). Micropropagation of Aglaonema using axillary shoot explants. International Journal of Basic & Applied Sciences IJBAS-IJENS, 11(1), 46-53.
Miransari, M. and Smith, D.L. (2014). Plant hormones and seed germination. Environment and Experiment Botany, 99, 110-121.
Zuopu, Z., SuLi, S., Ting, S., Jie, L., Chun, L. and Li, Z. (2018). Optimization of callus and Multiple shoots induction medium of Aglaonema commutatum Schott ‘Red Valentine’, Genomics and Applied Biology, 12, 5429-5436.