ระดับพอลิเมอร์ที่ต่างกันร่วมกับน้ำมันหอมระเหยกานพลูที่สามารถควบคุมเชื้อราที่ติดมากับเมล็ดพันธุ์มะเขือผสมเปิด
Main Article Content
บทคัดย่อ
เมล็ดพันธุ์ผสมเปิดที่ผลิตส่วนใหญ่ในปัจจุบันพบว่าเมล็ดมีความงอกต่ำเนื่องจากการเข้าทำลายของเชื้อรา จึงจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องทำลายเชื้อราก่อนการนำไปเพาะกล้า ซึ่งหนึ่งในวิธีการที่เป็นที่นิยมและใช้กันอย่างแพร่หลายในทางอุตสาหกรรมเมล็ดพันธุ์ คือการเคลือบเมล็ดพันธุ์ร่วมกับสารป้องกันเชื้อรา เพื่อป้องกันเชื้อราในระยะต้นกล้า และทำให้เมล็ดมีการงอกสม่ำเสมอมากขึ้นง่ายต่อการจัดการหลังการปลูก แต่สารเคลือบที่ใช้ในอุตสาหกรรมเมล็ดพันธุ์ต้องนำเข้าจากต่างประเทศ และมีการใช้สารป้องกันเชื้อราที่เป็นสารเคมีที่มีราคาสูงและเป็นอันตราย งานวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาสูตรสารเคลือบที่เหมาะสมสำหรับการเคลือบเมล็ดพันธุ์มะเขือผสมเปิดร่วมกับน้ำมันหอมระเหยกานพลูเพื่อป้องกันเชื้อราที่ติดมากับเมล็ดพันธุ์ โดยทำการทดลองที่ห้องปฏิบัติการเทคโนโลยีเมล็ดพันธุ์ คณะเกษตรและอุตสาหกรรมเกษตร มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์ วางแผนการทดลองแบบ completely randomized design (CRD) จำนวน 4 ซ้ำ โดยศึกษาอัตราส่วนของพอลิเมอร์ polyvinyl pyrrolidone (PVP-K-90) ที่เหมาะสมสำหรับการเคลือบเมล็ดพันธุ์มะเขือผสมเปิดร่วมกับน้ำมันหอมระเหยกานพลู พบว่า polyvinyl pyrrolidone (PVP-K-90) ในอัตรา 5 กรัม ร่วมกับน้ำมันหอมระเหยกานพลู (1 %) สามารถละลายน้ำได้ดีและมีความหนืดที่เหมาะสม ครอบคลุมทั่วทั้งเมล็ด ไม่ทำให้เมล็ดเกาะติดกัน มีความงอก 84 เปอร์เซ็นต์ และความเร็วในการงอก 9.23 ต้นต่อวัน ซึ่งสูงกว่าเมล็ดพันธุ์ที่ไม่ได้เคลือบ และมีการเข้าทำลายของเชื้อราเพียง 2 เปอร์เซ็นต์เมื่อเทียบกับเมล็ดพันธุ์ที่ไม่ได้เคลือบที่มีการเข้าทำลายของเชื้อราสูงถึง 80.75 เปอร์เซ็นต์ และยังสามารถควบคุมเชื้อได้ถึง 77.50 เปอร์เซ็นต์
Article Details
References
ธิดารัตน์ คำแก้ว. (2560). การยกระดับคุณภาพเมล็ดพันธุ์ด้วยแบคทีเรียส่งเสริมการเจริญเติบโตของพืช. วารสารแก่นเกษตร 45(1), 197-208.
นิอร งามฮุย, ทิวาพร บุญคืน, อาทิตยา หินทอง, วันเพ็ญ ชะลอเจริญยิ่ง, พวงเพชร พิมพ์จันทร์ และ ภูวิพัฒน์ เกียรติ์สาคเรศ. (2563). ผลของสารสกัดสมุนไพรเคลือบเมล็ดต่อคุณภาพเมล็ดพันธุ์ถั่วฝักยาวอินทรีย์. การประชุมวิชาการระดับชาติราชมงคลสุรินทร์ ครั้งที่ 11 วิจัยและนวัตกรรมวิธีใหม่. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอิสาน วิทยาเขตสุรินทร์.
บุญมี ศิริ (2558). การปรับปรุงสภาพ และการยกระดับคุณภาพเมล็ดพันธุ์. โรงพิมพ์คลังนานาวิทยา.
ปิยฉัตร อัครนุชาต, สุภามาศ ช่างแต่ง, ปิติพงษ์ โตบันลือภาพ สุชาดา เวียรศิลป์ และสงวนศักดิ์ ธนาพรพูนพงษ์. (2553). ผลของการเคลือบเมล็ดด้วยน้ำมันหอมระเหยต่อเชื้อราที่ติดมากับเมล็ดพันธุ์ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์. วารสารเกษตร, 26(1), 85-92.
มยุรี ปละอุด. (2549). ผลของน้ำมันหอมละเหยต่อเชื้อราที่ติดมากับเมล็ดและคุณภาพของเมล็ดพันธุ์ข้าวขาวดอกมะลิ 105. [วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต,
มหาวิทยาลัยเชียงใหม่]. มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
รุ่งอรุณ กันธะปา. (2554). การเพิ่มประสิทธิภาพการเคลือบน้ำมันหอมระเหยกานพลูโหระพา สะระแหน่และไคโตซานเพื่อควบคุมเชื้อราที่ติดมากับเมล็ดพันธุ์ข้าวโพด [วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยเชียงใหม่]. มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
สุวารี ก่อเกษตรวิศว์. (2551). ผลของสารเคลือบที่มีต่อคุณภาพและอายุการเก็บรักษาเมล็ดพันธุ์ข้าวโพดหวาน [วิทยานิพนธ์ปริญญาวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต,
มหาวิทยาลัยขอนแก่น]. มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
Bruggink, G.T. (2005). Flower seed priming, pregermimation, pelleting and coating. pp. 249-262. In McDonald M.B., & F.Y. Kwong (eds.). Flower seed biology and technology. CABI publishing.
Ester, A., S.B. Hotstede, P.S.R. Kosters, & Moel, C.P.D. (1994). Film-coating of cauli-flower seed, Brassica oleracea L. Var. botrytis L., with insecticides to control the cabbage root fly, Delia radicum. Crop Prot. 14, 14-19.
ISTA. (2019). Seed science and technology. Glattbrugg internaitonal seed testing Association. Murphy, D.J. (2017). Encyclopedia of applied plant sciences. In: P. Shewry (ed). Seed Treatments (pp. 564-569). Academic Press.
Pedrini, S., Merritt, D.J., Stevens, J., & Dixon, K. (2017). Seed coating: Science or marketing spin?. Trends Plant Sci., 22(2), 106-116.
Scott, D. (1975). Effects of seed coating on establishment. New Zeal. J. Agr. Res. J., 18(1), 59-67.
Sinha, K.K., Sinha, A.K., & Prasad, G. (1993). The effect of clove and cinnamon oils on growth of an aflatoxin production by Aspergillus flavus. Letters in Applied Microbiology 16, 114-117.
Taylor, A.G., & Harman, G.E. (1990). Concepts and technologies of selected seed treatments. Annu. Rev. Phytopathol, 28, 321-339.
Taylor, A.G., Allen, P.S., Bennett, M.A., Bradford, K.J., Burris, J.S., & Misra, M.K. (1998). Seed enhancements. Seed Sci. Res., 8, 245-256.
Thobunluepop, P., Jatisatienr, C., Jatisatienr, A., Pawelzik, E., & Vearasilp, S. (2007). Comparison of the Inhibitory Effect of Captan, Chitosan-Lignosulphonate Polymer and Eugenol Coated Seeds Against Rice Seed Borne Fungi. In Tropentag (ed.), International Research on Food Security, Natural Resource Management and Rural Development, Utilisation of diversity in land use systems: Sustainable and organic approaches to meet human needs (p. 554). Cuvillier Verlag Gottingen.
Velluti, A., Sanchis, V., Ramos A.J., & Marin, S. (2003). Inhibitory effect of cinnamon, clove, lemon grass, oregano and palmarose essential oils on growth and fumonisin B1 production by fusarium proliferatum in maize grain. International Journal of Food Microbiology, 89, 145-154.
Velluti, A., Marin, S., Gonzalez, P., Ramos, A.J., & Sanchis, V. (2004). Initial screening for inhibitory activity of essential oils on growth of Fusarium verticillioides, F. proliferatum and F. graminearum on maize-based agar media. Food Microbiology, 21, 649-656.