การตรวจหาโลหะหนักในหอยเศรษฐกิจจังหวัดจันทบุรี

Main Article Content

ศุทธินี เมฆประยูร
จักรพันธ์ โพธิพัฒน์

บทคัดย่อ

การศึกษาปริมาณโลหะหนักทองแดง สังกะสี ตะกั่ว และแคดเมียมในหอยแครง หอยแมลงภู่ และหอยนางรม จากจันทบุรี ดำเนินการเก็บตัวอย่างจากตลาดน้ำพุ ตลาดเจริญสุข ตลาดนัดเขาไร่ยา ท่าเรือแหลมสิงห์ และท่าเรือขลุง ในฤดูแล้ง (เดือนมีนาคม 2563) และฤดูฝน (เดือนกันยายน 2563) ด้วยวิธีการย่อยสลายสารอินทรีย์แบบเปียก (AOAC, 2005) จากการศึกษา พบปริมาณทองแดง ตะกั่ว และแคดเมียมมีค่าอยู่ในช่วง 2.087-28.413, 0.003-0.034 และ 0.032-0.846 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม (น้ำหนักเปียก) ตามลำดับ ซึ่งมีค่าต่ำกว่าค่ามาตรฐานอาหารที่มีสารปนเปื้อนตามประกาศกระทรวงสาธารณสุข ฉบับที่ 98 (พ.ศ. 2529) กำหนดให้มีปริมาณทองแดง สังกะสี ตะกั่ว และแคดเมียม มีค่าไม่เกิน 20, 100, 0.5 และ 2.0 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม (น้ำหนักเปียก) ตามลำดับ ขณะที่ปริมาณสังกะสีในหอยนางรมในฤดูฝนมีค่าสูงกว่าค่ามาตรฐานอาหาร ค่าขีดจำ กัดการตรวจวัด ของทองแดง สังกะสี ตะกั่ว และแคดเมียม มีค่าเท่ากับ 0.0040, 0.025, 0.0016 และ 0.0028 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม ตามลำดับ ค่าร้อยละการกลับคืนของสารละลายมาตรฐานทองแดง สังกะสี ตะกั่ว และแคดเมียม มีค่าอยู่ในช่วงร้อยละ 81-98 ตามลำดับ อย่างไรก็ตาม การประเมินความปลอดภัยในการบริโภคหอยเศรษฐกิจที่มีการปนเปื้อนโลหะหนักยังคงอยู่ในเกณฑ์ที่ปลอดภัย

Article Details

บท
Original Articles

References

กระทรวงสาธารณสุข. (2529). พระราชบัญญัติโลหะหนักในอาหาร. กระทรวงสาธารณสุข.

ณัฐวร ขันธิกุล, เชษฐพงษ์ เมฆสัมพันธ์ และณิศรา ถาวรโสตร์. (2020). การเปลี่ยนแปลงของปริมาณโลหะหนักในดินตะกอนตามฤดูกาลและพื้นที่บริเวณพื้นที่อ่าวไทยตอนใน. Thai Science and Technology Journal. https://doi: 10.14456/tstj.2020.138.

ทิพย์วรรณ แซ่มา. (2553). การปนเปื้อนโลหะหนักในหอยสองฝาที่มีความสำคัญทางเศรษฐกิจ บริเวณดอนหอยหลอดจังหวัดสมุทรสงคราม. การประชุมทางวิชาการของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ครั้งที่ 48 (หน้า 191-198).

พิพัฒน์ นพคุณ. (2541). แคดเมียมในอาหารทะเล. วารสารกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์, 40 (3), 341-345.

แววตา ทองระอา ฉลวย มุสิกะ วันชัย วงสุดาวรรณ และ อาวุธหมั่นหาผล. (2557). การประเมินความเสี่ยงต่อสุขภาพในการได้รับโลหะหนักจากการบริโภคอาหารทะเลบริเวณชายฝั่งนิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุด จังหวัดระยอง. วารสารวิทยาศาสตร์บูรพา, 19 (2), 39-54.

ศุภลักษณ์ พวงสุวรรณ. (2557). ปริมาณโลหะหนักบางชนิดในปลาทูน่าบริเวณแนวสันเขาใต้น้ำ 90 E̊ . [วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต,มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์].

สุภาน้อย ทรัพย์สินเสริม ประทุมวัลย์ เจริญพร ภัสราภา แก้วเนิน และนิศานาถ ตัณฑัยย์. (2563). ปริมาณโลหะหนักสารชีวพิษ และเชื้อ Escherichia coli ในหอยสองฝาของประเทศไทย. กองตรวจสอบคุณภาพสินค้าประมงกรมประมง กระทรวงเกษตรและสหกรณ์.

สุวัจน์ ธัญรส. (2549). โลหะหนัก, มลพิษทางทะเลและชายฝั่ง. โอ.เอส.พริ้นติ้ง เฮ้าส์.

Abdullah, M.H., Sidi, J., & Aris, A.Z. (2007). Heavy metals (Cd, Cu, Cr, Pb and Zn) in Meretrix Roding, water and sediments from estuaries in Sabah, North Borneo. Inter Journal of Environmental and Science Education, 2 (3), 69-74.

AOAC. (2005). Official method of analysis (15th ed.), Arlington: The Association of Official Analytical Chemists.

Cajaraville, M.P., Bebianno, M.J., Blasco, J., Porte, C., Sarasquete, C., & Viarenge, A. (2000). The use of biomarkers to assess the impact of pollution in coastal environments of the ierian peninsula: a practical approach. Science of the Total Environment Journal, 247, 295-311.

FAO. (1983). Compilation of legal limits for hazardous substances in fish and fishery products. FAO Fishery Circular No.464. Food and Agricultrue Organizaton.

Funes, V., Alhama, J., Navas, J.I., Lopez-Barea, J., & Peinado, J. (2006). Ecotoxicological effects of metal pollution in two mollusk species from the Spanish south atlantic littoral. Journal of Environmental Pollution, 139, 214-223.

Heidari, B., Bakhtiari, A.R., & Shirneshan, G. (2013). Concentrations of Cd, Cu, Pb and Zn in soft tissue of oyster (Saccostrea cucullata) collected form the Lengeh Port coast, Persian Gulf, Iran: A comparison with the permissible limits for public health. Food

Chemistry, 141, 3014-19.

Musika, C., Wongsudawan, W. and Thongra- ar, W. (2014). Distribution and accumulation of heavy metals in sediments of the Inner Gulf of Thailand, Proceedings of the 4th Marine Science: Blue Ocean Science, 569-580. Prince of Songkla University, Songkla,

PCD. (2015). The report of the water pollution situation and management year 1998-1999. Ministry of Natural Resources and Envoronment. Thailand.

Potipat, J., Tangkrock-olan, N., Helander, H.F. (2015). Bioconcentration factor (BCF) and depuration of heavy metals of oysters (Saccostrea cucullata) and mussles (Perna viridis) in the river basins of coastal area of Chantaburi provice, Gulf of Thailand.

EnvironmentAsia, 8 (2), 118-128.

Raine, R.M. (1994). Current land use and changes in land use over time in the coastal zone of Chanthaburi Province, Thailand. Biological Conservation, 67 (3), 201-04.

Velusamy, A., Kumar, P.S., Ram, A., & Chinnadurai, S. (2014). Bioaccumulation of heavy metals in commercially important marine fishes from Mumbai harbor, India. Journal of Marine Pollution Bulletin, 81, 218-224.

WHO. (1984) List of maximum levels recommended for contaminants by the joint FAO/WHO codex alimentarius commission. Second Series. WHO.

WHO. (1982). Toxicological evaluation of certain food additives. World Health Organization.