การผลิตไบโอดีเซลชนิดไหลอย่างต่อเนื่องด้วยการให้ความร้อนจากไมโครเวฟ
Main Article Content
บทคัดย่อ
งานวิจัยนี้เป็นการนำเสนอการผลิตไบโอดีเซลชนิดไหลอย่างต่อเนื่องโดยใช้ไมโครเวฟเป็นแหล่งความร้อน ปาล์มน้ำ มันถูก เปลี่ยนเป็นเมทิลเอสเทอร์ผ่านการทรานส์เอสเทอริฟิเคชันโดยใช้โพแทสเซียมไฮดร็อกไซด์เป็นตัวเร่งปฏิกิริยา ที่อัตราส่วนโดย โมลระหว่างเมทานอลต่อน้ำมัน 6:1 และปริมาณตัวเร่งปฏิกิริยา 1% ทั้งนี้ได้ทำการศึกษาอิทธิพลของกำลังไฟฟ้าของไมโครเวฟ (600 และ 800 วัตต์) ระยะเวลาในการทำปฏิกิริยา (1 นาที และ 2 นาที) และอุณหภูมิเริ่มต้นของน้ำมันปาล์ม (60 และ 80 องศา เซลเซียส) ที่ส่งผลต่อร้อยละผลได้ของไบโอดีเซล (เมทิลเอสเทอร์) และจากผลการศึกษา พบว่า การเพิ่มระยะเวลาในการทำปฏิกิริยาส่งผลให้ปริมาณผลได้ของเมทิลเอสเทอร์สูงขึ้น ในขณะที่การเพิ่มอุณหภูมิเริ่มต้นในการทำปฏิกิริยาส่งผลให้ร้อยละผล ได้ของเมทิลเอสเทอร์ลดลง และการเพิ่มกำลังไฟฟ้าของไมโครเวฟไม่ได้ส่งผลกระทบอย่างมีนัยสำคัญ ทั้งนี้ยังพบว่า สภาวะที่ เหมาะสมที่สุดในการทำปฏิกิริยาทรานส์เอสเทอริฟิเคชัน คือ ที่กำลังไฟฟ้าของไมโครเวฟ 800 วัตต์ ระยะเวลาในการทำปฏิกิริยา 2 นาที และอุณหภูมิเริ่มต้น 60 องศาเซลเซียส ซึ่งทำให้ได้ปริมาณผลได้ของเมทิลเอสเทอร์สูงสุด (86.13%) สำหรับสมบัติของเมทิลเอสเทอร์ ได้แก่ ความหนาแน่น จุดวาบไฟ และจุดขุ่น มีค่าอยู่ในเกณฑ์มาตรฐานไบโอดีเซลประเภทเมทิลเอสเทอร์ของ กรดไขมันที่กรมธุรกิจพลังงาน กระทรวงพลังงาน กำหนด
Article Details
References
กระทรวงพลังงาน. (2561). แผนบริหารจัดการน้ำมันเชื้อเพลิง พ.ศ. 2561-2580. กระทรวงพลังงาน.
กรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน. (2558). แผนการพัฒนาพลังงานทดแทนและทางเลือก พ.ศ.2558-2579. กระทรวงพลังงาน.
กรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน. (2553). คู่มือการพัฒนาและการลงทุนผลิตพลังงานทดแทน. กระทรวงพลังงาน.
ชานนท์ โพธิ์เจริญ. (2550). การพัฒนาเครื่องผลิตไบโอดีเซลจากน้ำมันสบู่ดำ ขนาดเล็กโดยการให้ความร้อนด้วยไมโครเวฟ. วท.ด. มหาวิทยาลัยศรีนคริทรวิโรฒ.
บัณฑิต โรจน์อารยานนท์. (2559). วิศวกรรมไมโครเวฟ. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ประกาศกรมธุรกิจพลังงาน. (2556). กำหนดลักษณะและคุณภาพของน้ำมันไบโอดีเซล. กระทรวงพลังงาน.
ปรเมษฐ์ สิทธิสันติ์. (2553). การผลิตไบโอดีเซลแบบกึ่งต่อเนื่องจากกระบวนการทรานเอสเตอริฟิเคชันของน้ำมันสบู่ดำที่มีการให้ความร้อนด้วยไมโครเวฟ. มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
สุห์ดี นิเซ็ง. (2563). การสังเคราะห์ไบโอดีเซลจากน้ำมันในน้ำเสียชุมชน เทศบาลเขารูปช้าง จังหวัดสงขลา. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย.
Chen, G., Shan, R., Shi, J., & Yan, B. (2014). Ultrasonicassisted production of biodiesel from transesterification of palm oil over ostrich eggshell-derived CaO catalysts. Bioresource Technology, 171, 428-32.
Choedkiatsakul., I., K. Ngaosuwan, S. Assabumrungart., S. Mantegna, and G. Cravotto. (2015). Biodiesel production in a novel continuous flow microwave reactor. Renewable Energy, 83, 25-29. Doi:10.1016/j.renene.2015.04.012.
Hong, I., Jeon, H., Kim, H. & Lee, S. (2016). Preparation of waste cooking oil baser biodiesel using microwave irradiation energy. J. Ind. Eng. Chem, 42, 107-112.
Nezihe, A. & Aysegul, D. (2008). Microwave assisted transesterification of repe seed oil. Fuel, 87 (10-11), 1781-88.
Khedri, Behzad, Mostafaei, M. & Ardebili, S. (2019). A review on microwave-assisted biodiesel production. Energy Sources, Part A: Recovery, Utilization and Environmental Effects, 41 (19), 2377-95.
Ma, F. & Hanna, M.A. (1999). Biodiesel production: A review. Bioresource Technology, 70, 1-15. https://doi.org/10.1016/S0960-8524 (99) 00025-5.
Shakinaz, A.El. Sherbiny, Ahmed, A. Refaat, & Shakinaz, T. & El Sheltawy. (2010). Production of Biodiesel Using the Microwave Technique. Journal of Advanced Research, 1 (4), 309-14.
Xiang, Y., Yukun X., & Lipeng, W. (2017). Microwave radiation improves biodiesel yields from waste cooking oil in the presence of modified coal fly ash. Journal of Taibah University for Science 11 (6),1019-29.