การเปรียบเทียบปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกจากเมืองระหว่างปีที่การระบาดของ ไวรัสโคโรน่า (Covid-19) พ.ศ. 2563 กับปีฐาน พ.ศ.2559 โดยวิธี CCF กรณีศึกษา เทศบาลเมืองชัยภูมิ

Main Article Content

สุรวุฒิ สุดหา
ดุษฎีพร หิรัญ

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปริมาณของการปล่อยก๊าซเรือนกระจกในพื้นที่ชุมชนเมืองในช่วงที่มีการประกาศพระราชกำหนด การบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉินเนื่องด้วยวิกฤติไวรัสโคโรน่า 2563 โดยวิธีการประเมินการปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจก ระดับเมือง (City Carbon Footprint: CCF) จากคู่มือองค์การบริหารก๊าซเรือนกระจก โดยมุ่งศึกษาเขตเทศบาลเมืองชัยภูมิทั้ง 3 ประเภทกิจกรรม เปรียบเทียบกับข้อมูลการปลดปล่อยในปี 2559 ซึ่งเป็นปีก่อนเกิดการระบาด ผู้วิจัยได้ประสานข้อมูลกับ สำนักงานเทศบาลเมืองชัยภูมิ สำนักงานปศุสัตว์จังหวัดชัยภูมิ สำนักงานเกษตรอำเภอเมืองชัยภูมิ และข้อมูลทุติยภูมิจากรายงานกระทรวงต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง ได้ผลการวิจัยคือ ในปี 2559 พื้นที่เทศบาลเมืองชัยภูมิมีการปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจก 119,768.55 ตันคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่าต่อปี หรือคิดเป็น 3.27 ตันคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่าต่อจำนวนประชากรต่อปี ส่วนในปี 2563 มีการปลดปล่อย 114,063.22 ตันคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่าต่อปี หรือคิดเป็น 3.18 ตันคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่าต่อ จำนวนประชากรต่อปี ซึ่งมีปริมาณลดลงกว่าร้อยละ 4.76 ซึ่งสอดคล้องกับข้อมูลการใช้พลังงานของกระทรวงพลังงาน และสอดคล้องกับการปล่อยคาร์บอนระดับโลกในช่วงปีเดียวกันที่ลดลงร้อยละ 3-11 (He & Mi, 2022) โดยมีกิจกรรมกลุ่มเผาไหม้อยู่กับที่ และกลุ่มกลุ่มเผาไหม้เคลื่อนที่ ที่มีปริมาณลดลงกว่าร้อยละ 9.76 และ 16.04 ตามลำดับ สาเหตุเนื่องจากสถานการณ์ การระบาดไวรัสโคโรนา (COVID-19) ทำ ให้มีการใช้พลังงานไฟฟ้าและน้ำมันเชื้อเพลิงภาพรวมลดลง ประชาชนอยู่ในที่พักอาศัยมากขึ้น ส่งผลให้ขยะครัวเรือนและของเสียครัวเรือนเพิ่มมากขึ้นเท่าตัว กลุ่มการเกษตร ป่าไม้ และการใช้ประโยชน์ที่ดินมี การปลดปล่อยเพิ่มขึ้น 3 เท่าเนื่องด้วยนโยบายการสนับสนุนการทำปศุสัตว์ในพื้นที่ มีจำนวนสัตว์เพิ่มขึ้นจำนวนมาก แต่พื้นที่ สีเขียวของเทศบาลชัยภูมิไม่เพิ่มขึ้น หน่วยงานที่เกี่ยวข้องจึงควรกำ หนดนโยบายและโครงการต่างๆ เพื่อเตรียมการลดปริมาณ ก๊าซเรือนกระจกในพื้นที่ อาทิ การกำหนดโครงการต่างๆ เพื่อลดปริมาณก๊าซเรือนกระจกทั้งในส่วนของกลุ่มการเผาไหม้อยู่กับที่ในการรณรงค์ลดการใช้พลังงานไฟฟ้า กลุ่มเผาไหม้เคลื่อนที่เพื่อรณรงค์ลดการใช้พลังงานเชื้อเพลิงฟอสซิลผลักดันและจูงใจให้ ประชาชนเลือกใช้พลังงานสะอาดมากขึ้น กลุ่มการจัดการของเสียที่รณรงค์ลดและแยกขยะครัวเรือน และกลุ่มการเกษตร ป่าไม้ และการใช้ประโยชน์ที่ดินในการจัดการของเสียปศุสัตว์เชิงนโยบาย และเพิ่มพื้นที่สีเขียวในเทศบาลเมืองชัยภูมิให้มากขึ้นอย่างต่อเนื่อง เป็นต้น

Article Details

บท
Original Articles

References

กระทรวงพลังงาน. (2563). รายงานสถานการณ์การใช้น้ำมันและไฟฟ้าของไทย ปี 2563. กระทรวงพลังงาน.

กรมควบคุมมลพิษ. (2563). รายงานสถานการณ์มลพิษของประเทศไทย ปี 2563. กรมควบคุมมลพิษ.

ภัทรานิษฐ์ ศรีจันทราพันธุ์. (2564). การศึกษาปริมาณขยะในครัวเรือนช่วงการแพร่ระบาดของไวรัสโคโรนา 2019.วารสารวิชาการ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย, 41(2).

ศูนย์บริหารสถานการณ์โควิด. (2563). รายงานข่าวกรณีติดเชื้อไวรัสโคโรน่า 2019 (COVID-19) ประจำวันที่ 22 มิถุนายน 2563. กระทรวงสาธารณสุข.

ศูนย์วิจัยกสิกรไทย. (2564). โควิดพุ่ง ขยะติดเชื้อเพิ่ม 2 เท่าจากก่อนโควิด. องศาเศรษฐกิจ, ศูนย์วิจัยกสิกรไทย, www.kasikornresearch.com/th/analysis/k-socialmedia/Pages/Infectious-Waste-FB-09-09-21.aspx

องค์การบริหารก๊าซเรือนกระจก. (2559). คู่มือการจัดทำ ข้อมูลปริมาณก๊าซเรือนกระจกระดับเมือง. องค์การบริหารก๊าซเรือนกระจก.

อำนาจ วิชัย. (2563). การประเมินก๊าซเรือนกระจกระดับเมือง กรณีศึกษา เทศบาลเมืองพะเยา. วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (ววท.), ปีที่ 29 ฉบับที่ 4 กรกฎาคมสิงหาคม 2564.

Bengali, S. (2020). The COVID-19 pandemic is unleashing a tidal wave of plastic waste. Retrieve June 13, 2020, from https://www.latimes.com/world-nation/story/2020-06-13/coronavirus-pandemic-plasticwaste-recycling

He, K. & Mi, Z. (2022). Carbon Implications of COVID-19. Science-Policy Brief for the Multistakeholder Forum on Science, Technology and Innovation for the SDGs.

Integrated Carbon Observation System ICOS. (2022). Supplementary data: Temporary reduction in daily global CO2 emissions during the COVID-19 forced confinement. Integrated Carbon Observation System ICOS

International Food Information Council. (2020). COVID-19: Impact on food purchasing, eating behaviors and perceptions of food safety. International Food Information Council.

Pierre Friedlingstein. (2021). Impact of COVID-19 on CO2 emissions. Global Carbon Project; Climate-Carbon Interactions in the Current Century. from http://unfccc.int/sites/default/files/resource/1.GCP_.pdf