ผลของระดับกลีเซอรีนต่อคุณภาพฟิล์มย่อยสลายได้จากแป้งข้าวหอมมะลิ

Main Article Content

ประยูร จอมหล้าพีรติกุล
ละมุล วิเศษ
อาภาภรณ์ จอมหล้าพีรติกุล
ภูชิสส์ ตันวาณิชกุล
ชัยณรงค์ หล่มช่างคำ

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษากรรมวิธีในการขึ้นรูปของฟิล์มย่อยสลายได้ทางชีวภาพที่มีผลต่อสมบัติของฟิล์ม ใช้แป้ง ข้าวหอมมะลิเป็นสารตั้งต้นในการขึ้นรูปฟิล์ม ใช้กลีเซอรีนเป็นสารเพิ่มความยืดหยุ่นที่ปริมาณ 0.75, 1.5 และ 2.25% W/V ตามลำดับ โดยทำการอบแห้งด้วยเครื่องอบแห้งลมร้อน เปรียบเทียบกับการอบแห้งด้วยเครื่องอบแห้งปั้มความร้อน โดยทำการ อบแห้งที่อุณหภูมิ 35 องศาเซลเซียส เพื่อศึกษาสมบัติเชิงกล ได้แก่ การต้านแรงดึง การยืดตัวของฟิล์ม และสมบัติทางกายภาพ ได้แก่ ค่าสี การละลายน้ำ อัตราการซึมผ่านของไอน้ำ ประยุกต์การห่อหุ้มอาหารด้วยการบรรจุบิสกิต และหาร้อยละการย่อย สลายของฟิล์ม ผลการทดลอง พบว่าการต้านแรงดึงมีค่าสูงเมื่อปริมาณกลีเซอรีนเพิ่มขึ้น ค่าสีโดยรวมมีค่าเฉลี่ย L*=77.98±1.20, a*=-1.58±0.22 และb*=7.35±0.55 การยืดตัว การละลายน้ำ และอัตราการซึมผ่านของไอน้ำ มีค่าเพิ่มขึ้นตามปริมาณการเพิ่ม ของกลีเซอรีน ความชื้นของฟิล์มอยู่ระหว่าง 8.68±0.69 - 10.59±0.83 %db เมื่อทำการทดสอบบรรจุกับผลิตภัณฑ์บิสกิต พบว่า ฟิล์มที่มีปริมาณกรีเซอรีนสูง ส่งผลให้ความชื้นของบิสกิตมีค่าสูงตามและความกรอบลดลง และเมื่อเปรียบเทียบกรรมวิธีในการ อบแห้ง พบว่าการอบแห้งด้วยเครื่องอบแห้งแบบปั้มความร้อน สามารถชะลอการซึมผ่านของไอน้ำ เข้าสู่บิสกิตได้ดีกว่า ส่งผลให้ คงความกรอบของผลิตภัณฑ์มีค่ามากกว่าการอบแห้งด้วยเครื่องอบแห้งแบบลมร้อน ฟิล์มที่เติมปริมาณกลีเซอรีนสูงใช้เวลาใน การย่อยสลายสั้น ฟิล์มย่อยสลายได้ทางชีวภาพจากแป้งข้าวหอมมะลิ สามารถประยุกต์ใช้เพื่อผลิตเป็นบรรจุภัณฑ์ทางชีวภาพ เพื่อทดแทนวัสดุสังเคราะห์ เพื่อช่วยลดปริมาณขยะที่ย่อยสลายได้ยากในอนาคตต่อไปได้

Article Details

บท
Original Articles

References

กมลทิพย์ เอกธรรมสุทธิ์. (2553). ผลของซีนไฮโดรไลเซทต่อสมบัติทางกายภาพของฟิล์มแป้งบุก. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยหอการค้าไทย, 30(1), 81-89.

กมลทิพย์ เอกธรรมสุทธิ์ และอดิศักดิ์ เอกโสวรรณ. (2543). ฟิล์มแป้งบุกชนิดบริโภคได้: การเตรียมสมบัติบางประการ และการนำไปใช้ประโยชน์. อาหาร, 30(1),

-51.

ชาลีดา บรมพิชัยชาติกุล. (2555). เทคโนโลยีการทำ แห้งแบบผสมผสาน: การนำมาใช้เพื่อถนอมผลิตภัณฑ์อาหารที่ไวต่อความร้อน. วารสารวิจัยและพัฒนา มจธ, 35(2),269-283.

ภาวิณี เทียมดี และกวินนา สุขสำ ราญ. (2563). การพัฒนาฟิล์มย่อยสลายได้จากแป้งมันแกวเพื่อประยุกต์ใช้เป็นถุงเพาะชำ . วารสารวิชาการและวิจัย มทร.พระนคร, 14(1),1-14.

รังสินี โสธรวิทย์. (2560). ฟิล์มและสารเครือบพอลิเมอร์ชีวภาพสำหรับระบบอาหาร. (พิมพ์ครั้งที่ 3). สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

โสภิดา วิศาลศักดิ์กุล, อรวัลภ์ อุปถัมภานนท์, กุลวดี สังข์สนิท,สุภา จุฬคุปต์ และสุทัศนีย์ บุญโญภาส. (2559). การพัฒนาผลิตภัณฑ์พลาสติกชีวภาพจากแป้งเมล็ดขนุน. วารสารวิทยาศาสตร์บูรพา, 21(2), 216-228.

สำนักมาตรฐานสินค้าส่งออก กรมการค้าต่างประเทศ (2564, 20มิถุนายน). สถานการณ์ข้าว. https://www.dft.go.th/th-th/

หมอเกษตรทองกวาว (2562, 12 มิถุนายน). อัตราการแปรรูป “ข้าวเปลือก” เป็น “ข้าวสาร” ของไทยสีได้กี่เปอร์เซ็นต์.เทคโนโลยีชาวบ้าน. https://www.technologychaoban.com/

อัจจิมา อุ่นแก้ว, เจนจิรา รอดสุโข, พรนภา เกษมศิริ และวลัยพร เหมโส. (2563). การศึกษาคุณลักษณะของฟิล์มบรรจุภัณฑ์ย่อยสลายได้จากข้าวไรซ์เบอรี่. วารสารวิจัย มข. (ฉบับบัณฑิตศึกษา), 20(4), 81-93

Asgar, F., Bahareh, S. and Mahsa, M. (2013). Effect of Glycerol on Physical and Mechanical Properties of Wheat Starch Edible Films. Journal of Texture Studies, 44(3), 176-186.

ASTM D882-02. (1995). Standard Test Method for Tensile Properties of Thin Plastic Sheeting. https://www.astm.org/d0882-18.html

Dang, M.N., Thi, V.V.D., Anne, C., Grillet, H.H.T. and Chi, N.H.T. (2016). Biodegradability of polymer film based on low density polyethylene and cassava starch. International Biodeterioration & Biodegradation, 115, 257–265.

Margarita, M.A.M., Delia, R.T.B. and Florencia, C.M. (2012). Development and optimization of biodegradable films based on achira flour.

Carbohydrate Polymers, 88(2), 449–458.

Mohammad, J., Naimeh, K., Mehran, G. and Mehri, H.N. (2013). Effect of glycerol concentration on edible film production from cress seed carbohydrate gum. Carbohydrate Polymers, 96(1), 39-46.

Mohammad, J., Farideh, T.Y., Seyed, A. M. and Arash, K. (2013). Physical, barrier and antioxidant properties of a novel plasticized edible film from quince seed mucilage. International Journal of Biological Macromolecules, 62, 500–507.

Pawinee, T. and Thanyalak, A. (2019). The effect of glycerol content on physical and mechanical properties of the biodegradable film from sweet potato flour for preserving namwa banana. Life Sciences and Environment Journal, 20(1), 70-80.

Sothornvit, R. and Krochta, JM. (2000). Water Vapor Permeability and Solubility of films from Hydrolyzed Whey Protein. Journal of Food Science, 65(4), 700–703.

Tapia-Blácido, D.R., Amaral, S.P.J.d, and Menegalli, F.C. (2013). Effect of drying conditions and plasticizer type on some physical and mechanical properties of amaranth flour films. LWT - Food Science and Technology, 50(2), 392-400.