การพัฒนาผลิตภัณฑ์เคหะสิ่งทอจากผ้าฝ้ายย้อมสีสกัดจากแก่นฝาง

Main Article Content

จิราพร ชุมชิต
อดิศักดิ์ เป๊กศรี

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสีผ้าฝ้ายที่ย้อมด้วยสีสกัดจากแก่นฝางและสารช่วยย้อมธรรมชาติ และ 2) พัฒนาผลิตภัณฑ์เคหะสิ่งทอจากการประยุกต์ใช้ผ้าฝ้ายย้อมด้วยสีสกัดจากแก่นฝางและสารช่วยย้อมธรรมชาติ โดยการศึกษาสีผ้าฝ้ายจะวัดค่าความเข้มสี (K/S) บนผ้าหลังย้อมด้วย 3 วิธี คือ 1) การย้อมก่อน 2) การย้อมพร้อม และ 3) การย้อมหลัง ที่ใช้สารช่วยย้อมธรรมชาติในกระบวนการ และไม่ใช้สารช่วยย้อม ส่วนการพัฒนาผลิตภัณฑ์จะเริ่มจากพิจารณาความหลากหลายของสีผ้าหลังย้อม นำไปสู่การออกแบบและตัดเย็บต้นแบบผลิตภัณฑ์ ที่นำไปประเมินคุณภาพจากผู้เชี่ยวชาญแล้วจึงปรับปรุงให้ได้ต้นแบบผลิตภัณฑ์ที่มีคุณภาพ สำหรับการวิเคราะห์ข้อมูลจะใช้สถิติเชิงพรรณนาเพื่อวิเคราะห์ค่า K/S บนผ้าฝ้ายที่ย้อมในทุกสภาวะ รวมทั้งวิเคราะห์ค่าเฉลี่ย (gif.latex?\bar{x} ) และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) ของความพึงพอใจของผู้บริโภคที่มีต่อต้นแบบผลิตภัณฑ์ ผลการวิจัยพบว่าผ้าฝ้ายที่ย้อมเฉพาะสีสกัดจากแก่นฝางมีสีน้ำตาล-ส้ม (ค่าเฉลี่ยของ K/S = 1.17) เมื่อใช้สารช่วยย้อมชนิดกรด (น้ำ ฝักส้มป่อยและน้ำ มะขามเปียก) ได้ผ้าสีน้ำตาล-เหลือง มีค่า K/S สูงสุด เท่ากับ 1.49 ต่ำสุด เท่ากับ 0.62 และชนิดด่าง (น้ำ ปูนใส และน้ำขี้เถ้า) ได้ผ้าสีม่วง-ชมพู-แดง มีค่า K/S สูงสุด เท่ากับ 1.18 ต่ำสุด เท่ากับ 0.39 ภาพรวมความคงทนของสีต่อการซักอยู่ในระดับปานกลาง-ดี ส่วนความคงทนต่อการขัดถูทั้งในสภาวะเปียกและแห้งเท่ากันคือติดเปื้อนสีบนผ้าฝ้ายมาตรฐานในระดับน้อย แต่ความคงทนของสีต่อแสงอยู่ในระดับต่ำที่สุด ในส่วนต้นแบบผลิตภัณฑ์เคหะสิ่งทอประเภทหมอนอิงที่ออกแบบด้วยการใช้เทคนิคการต่อผ้าแบบแพทช์เวิร์ค (patchwork) พบว่า ค่าเฉลี่ยรวมของความพึงพอใจกลุ่มคนที่เข้ามาชมหรือเลือกซื้อผลิตภัณฑ์ในร้านค้าที่จำ หน่ายผลิตภัณฑ์ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมในเขตอำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ อยู่ในระดับมาก (gif.latex?\bar{x} = 4.17) ทั้งนี้ต้นแบบผลิตภัณฑ์ถูกนำไปประยุกต์ใช้ในการถ่ายทอดสู่วิสาหกิจชุมชนเป้าหมายด้วยการอบรมเชิงปฏิบัติการตัดเย็บหมอนอิงจากผ้าฝ้ายย้อมสีสกัดจากแก่นฝางและสารช่วยย้อมธรรมชาติ ทำให้กลุ่มเป้าหมายสามารถนำองค์ความรู้ที่ได้รับไปปรับใช้กับผลิตภัณฑ์ของกลุ่ม ทั้งด้านการออกแบบ การคัดเลือกสีของผ้า หลักและวิธีการตัดเย็บแบบแพทช์เวิรค์ให้มีคุณภาพ และสามารถต่อยอดผลิตภัณฑ์ให้เป็นที่ต้องการของตลาดสินค้าสิ่งทอที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมได้

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. (2560). ประมวลสารสนเทศพร้อมใช้การย้อมสิ่งทอด้วยสีธรรมชาติ (Textile Dyeing with Natural Dyes). http://siweb1.dss.go.th/repack/fulltext/IR%2041.pdf

กระทรวงอุตสาหกรรม. (2556). คู่มือแนวทางการจัดการสีน้ำทิ้งของโรงงานฟอกย้อมสิ่งทอ. http://www.diw.go.th/hawk/job/1_8.pdf

ขจีจรัส ภิรมย์ธรรมศิริ และ วาสนา แสงดี. (2530). เทคนิคการตัดเย็บและหมอนประดิษฐ์. ยูไนเต็ดท์บุ๊คส์.

ใจภักดิ์ บุรพเจตนา. (2559). การพัฒนาผลิตภัณฑ์สิ่งทอประเภทของที่ระลึกของชุมชนบ้านหาดเสี้ยว จังหวัดสุโขทัย. วารสารวิชาการศิลปะสถาปัตยกรรมศาสตร์มหาวิทยาลัยนเรศวร, 7(1), 146-159.

เฉลิมพร ทองพูน, เมทินี ทวีผล, และธีรพันธ์ มาจันทร์. (2558). การย้อมสีด้ายฝ้ายโดยใช้น้ำย้อมธรรมชาติจากเปลือกต้นกระท้อน. การประชุมวิชาการระดับชาติ “พิบูลสงครามวิจัย 2558” (น.193-198), มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม.

ทวีศักดิ์ สาสงเคราะห์, กิตติศักดิ์ อริยะเครือ, จำลอง และ ชลธิชา สาริกานนท์. (2557). การออกแบบและพัฒนาผลิตภัณฑ์เคหะสิ่งทอจากเศษผ้าเหลือใช้ด้วยเทคนิคการใช้เครื่องยิงพรม (Hand Tufted) สำหรับกลุ่ม วิสาหกิจชุมชนบ้านเคียนงาม จังหวัดนครนายก. รายงานวิจัย.กรุงเทพมหานคร.

ภัทรา ศรีสุโข ณภัค แสงจันทร์ ธนกฤต ใจสุดา และกรชนก บุญทร. (2562). การศึกษาสีธรรมชาติจากพันธุ์พืชป่าชายเลน ตำบลบ่อ อำเภอขลุง จังหวัดจันทบุรี โดยกระบวนการมีส่วนร่วมของชุมชน. วารสารวิจัยรำไพพรรณี, 13(1), 64-73.

มาลี ตั้งสถิตย์กุลชัย, เสาวนีย์ รัตนพานี, วิจิตร รัตนพานี, และสายสุนีย์ เหลี่ยวเรืองรัตน์. (2550). การสกัดและการเกิดสารเชิงซ้อนของสีย้อมธรรมชาติจากแก่นฝาง.รายงานวิจัย.นครราชสีมา.

รจนา และเรืองชัย ชื่นศิริกุลชัย. (2559). ผลิตภัณฑ์เคหะสิ่งทอสีธรรมชาติจากว่านยาอูเนะสู่ตลาดญี่ปุ่น.การประชุมวิชาการระดับชาติ มหาวิทยาลัยนเรศวร ครั้งที่ 12 ประจำปี พ.ศ. 2559 (หน้า 2074-2085), มหาวิทยาลัยนเรศวร.

วิชาญ วันโพนทอง. (2548). การย้อมสีด้วยสีธรรมชาติ. วารสารกรมวิทยาศาสตร์บริการ, 53(168), 35-37.

ศิริพรณ์ ปีเตอร์. (2550). มนุษย์และการออกแบบ (Human and Design). โอเดียนสโตร์.

สุดากาญน์ แยบดี. (2558). การพัฒนาผลิตภัณฑ์เคหะสิ่งทอจากผ้าไหมมัดหมี่บาติก: กรณีศึกษา ลวดลายศิลปะขอมจากปราสาทศีขรภูมิ. วารสารวิชาการและวิจัยวิจัย มทร.พระนคร, 9(1), 71-79.

สึคาเดะ ชิอากิ. (2555). แพตช์เวิร์คและควิลต์ Patchwork for Beginning (นิชยา ศิริธร, ผู้แปล). บ้านและสวนอมริมทร์แอนด์พับลิชชิ่ง.

เสาวลักษณ์ คงคาฉุยฉาย. (2545). ศิลปะการต่อผ้า. โอเดียนสโตร์.

Babu, V. R., & Sundaresan, S. (2018). Home Furnishing. https://www.textileebook.com/2019/04/home-furnishing-ramesh-babu-and .html

Chareonsuk, P., Mamaka, N., Kulwongwit, N., Wiriya-Amornchai, A. & Bunroek, P. (2021). The study of environmental stabilization for natural color dyed of eggshell powder filled in polylactic acid bio-composites. Materials Today: Proceedings. 47, 3570-3576.

Gumel, S. M., Ibrahim, B. M., & Galadima, A. (2011). Kinetic of Dyeing Cotton Fabric with Some Dye Extracts from Plants. International Journal of Chemistry and Application, 3, 123-129.

Hattori, K. (2018). The Many Faces of Sappanwood Extract: Just Add More (Or Less) Dye + Iron. https://botanicalcolors.com/the-many-faces-of-sappanwood-extract-just-add-more-or-less-dye-iron/#comment-119340

Kannathasan, K., & Kokila, P. (2021). Dyeing of cotton fabric by Caesalpinia sappan aqueous extract at different temperatures and mordants. Current Botany, 12, 188–191.

Kant, R. (2012). Textile dyeing industry an environmental hazard. Scientific research, 4(1), 22-26.

Khatun, S., Azim, A., Mishuk, A. I., Reza, S., Shafinaz, L. & Pervin, M. (2014). Prospects of home textiles in Bangladesh: A review. IJTEEE, 2(9), 6-9.

Lee, Y. J., & Jang, D. J. (2019). Improving the dyeability of cotton fabric with Caesalpinia sappan through pretreatment with gelatin. Fashion & Text. Res. J, 21(4), 509-514.

McDonough, W & Braungart, M. (2002). Remaking the Way We Make Things Cradle to Credle. North Point Press.

Nathan, V.K., Rani, M.E. (2021). Natural dye from Caesalpinia sappan L. heartwood for eco-friendly coloring of recycled paper based packing material and its in silico toxicity analysis. Environ Sci Pollut Res, 28, 28713–28719.

Ohama, P., & Tumpat, N. (2014). Textile Dyeing with Natural Dye from Sappan Tree (Caesalpinia sappan Linn.) Extract. World Academy of Science, Engineering and Technology International Journal of Materials and Textile Engineering, 8, 432-434.

Prabhu, K. H., & Bhute, A. S. (2012). Plant based natural dyes and mordants: A Review. Scholars Research Library, 2(6), 649-664.

Parmar, S., & Malik, T. (2020). Home textiles - A review. https://www.fibre2fashion.com/industry-article/1769/home-textiles-a-review

Takahashi, T., Tsurunaga, Y., Aso, Y., & Yoshino, K. (2016). Color fastness of suppanwood dye silk and insights into the clothing life of Heian period. J. Fiber Sci. Technol, 72(10), 206-219.

Tidswell, E. (2020). Dyeing for colour: toxic dyes in the textile Industry. https://goodmakertales .com/toxic-dyes-in-textile-industry/

Vankar, P. S. (2000). Chemistry of natural dyes. Resonance, 5(10), 73-80.