องค์ประกอบทางเคมีและฤทธิ์ยับยั้งแอลฟาอะไมเลสและแอลฟากลูโคซิเดส ของสารสกัดงวงตาล
Main Article Content
บทคัดย่อ
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาองค์ประกอบทางเคมีและฤทธิ์ยับยั้งแอลฟาอะไมเลสและแอลฟากลูโคซิเดสของวงตาล สารสกัดหยาบน้ำและเอทานอลจากงวงตาล โดยผลการเปรียบเทียบขนาดอนุภาคด้วยเทคนิคกล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอนแบบส่องกราด (Scanning Electron Microscope, SEM) และเปรียบเทียบปริมาณธาตุด้วยเทคนิคเอกซเรย์สเปกโทรสโกปีแบบกระจายพลังงาน (Energy Dispersive X-ray Spectroscopy, EDS) พบว่า มีคาร์บอนเป็นธาตุองค์ประกอบหลัก รองลงมาคือ ออกซิเจนคลอรีน และโพแทสเซียม ตามลำดับ โดยมีขนาดอนุภาคของสารสกัดหยาบน้ำและเอทานอล เป็น 70.31 และ 78.96 ไมโครเมตร ตามลำดับ และมีขนาดอนุภาคค่อนข้างสม่ำเสมอ ผลการวิเคราะห์สารประกอบฟีนอลิกในงวงตาลและสารสกัดหยาบน้ำและเอทานอล พบว่ามีแทนนินในปริมาณสูงที่สุด เท่ากับ 712.88, 617.81 และ 588.04 มิลลิกรัม/กิโลกรัม ตามลำดับ รองลงมาได้แก่ กรดแกลลิก ไอโซควอเซทิน ควอเซทิน คาเทชิน รูทิน และอะพิเจนิน ตามลำดับ แสดงว่างวงตาลและสารสกัดงวงตาลอุดมไปด้วยสารที่มีคุณสมบัติในการต้านอนุมูลอิสระ การทดสอบฤทธิ์ยับยั้งแอลฟาอะไมเลสและแอลฟากลูโคซิเดส พบว่า สารสกัดหยาบน้ำและเอทานอลแสดงฤทธิ์ยับยั้งแอลฟากลูโคซิเดสได้สูงกว่าชุดควบคุมเชิงบวก แต่แสดงฤทธิ์ยับยั้งแอลฟาอะไมเลสได้ต่ำกว่า
ชุดควบคุมเชิงบวก นอกจากนี้ยังพบว่าการสกัดงวงตาลด้วยน้ำจะให้ฤทธิ์ยับยั้งเอนไซม์ได้ดีกว่าการสกัดด้วยเอทานอล แสดงว่างวงตาลมีศักยภาพในการใช้บำบัดโรคเบาหวานได้
Article Details
References
กานต์ศศิน เศียรอุ่น. (2559). การศึกษาฤทธิ๋ลดระดับน้ำตาลในเลือดของสารสกัดชั้นน้ำของใยตาลสุกในหนูขาวที่ถูกเหนี่ยวนำให้เป็นโรคเบาหวานด้วยสเตรปโตโซโตชิน. วิทยานิพนธ์ระดับปริญญาโท. สาขาวิชาเภสัชวิทยา มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.
กิตติพัฒน์ โสภิตธรรมคุณ และปานทิพย์ รัตนศิลป์กัลชาญ. (2560). การสกัดและวิธีวัดความสามารถการต้านอนุมูลอิสระในพืชสมุนไพร. วารสารวิทย.เทคโน.หัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ. 3(1): 86-94.
ดลฤดี โตเย็น. (2565). การวิเคราะห์ธาตุและองค์ประกอบด้วยเทคนิค Energy Dispersive X-ray Spectroscopy (EDS) [online]. สืบค้นจาก http://www3.rdi.ku.ac.th › knowledge › EDS. สืบค้นเมื่อวันที่ 27 พฤษภาคม พ.ศ.2565.
ธิดากานต์ รัตนบรรณางกูร (Ed.). (2554). วิตามินไบเบิล. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์อมรินทร์สุขภาพ.
นิธิยา รัตนปานนท์. (2546). สารประกอบฟีนอลิก. สำนักพิมพ์โอเดียนสโตร์.
พรชนก ชโลปกรณ์ และพงศธร กล่อมสกุล. (2560). ฤทธิ์ในการยับยั้งแอลฟาอะไมเลสและแอลฟากลูโคซิเดสของสารสกัดฝาง ม้ากระทืบโรง และปลาไหลเผือก. วารสารวิจัยราชภัฏพระนคร สาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. 12(1). 63-73.
พิชิตพล ราชคม และพัชรา สินลอยมา. (2564). การเปรียบเทียบลักษณะทางกายภาพและปริมาณเขม่าดินปืนบนผ้าภายหลังการยิงด้วยเทคนิค SEM/EDX. บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยสวนดุสิต. 17(13): 113-128.
พิมพ์เพ็ญ พรเฉลิมพงศ์. (2565). Tannin/แทนนิน [online]. สืบค้นเมื่อวันที่ 24 มีนาคม 2565 จาก https://www.foodnetworksolution.com/wiki/word/2376/tannin-แทนนิน.
รพีพร เอี่ยมสะอาด, เบญจวรรณ ธรรมธนารักษ์, รัฐกรณ์ จำนงค์ผล และสุภาภรณ์ เลขวัตร. (2557). คุณสมบัติทางเคมีกายภาพและการต้านอนุมูลอิสระของน้ำตาลโตนด. วารสารวิทยาศาสตร์เกษตร. 45(2). 657-660.
วิชยา ไตรบุญ. (2558). การศึกษาโครงสร้างและฤทธิ์ในการยับยั้งการทำงานของเอนไซม์แอลฟากลูโคซิเดส จากองค์ประกอบทางเคมีของเหง้าว่านนางคำ. วิทยานิพนธ์หลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาเคมี มหาวิทยาลัยศิลปากร. กรุงเทพมหานคร.
สมเกียรติ ขันอ่อน. (2552). การพัฒนาและการผลิตสารสกัดจากไม้พะยอมในรูปแบบผงเพื่อใช้ในกระบวนการผลิตน้ำตาลสด. วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิทยาศาสตร์ศึกษา. มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี.
สำนักงานการเกษตรจังหวัดสงขลา. (2542). ตาลโตนดสงขลา. สงขลา: สำนักงานการเกษตรจังหวัดสงขลา.
เสาวนีย์ ชัยเพชร, อภิญญา วณิชพันธุ์ และสมคิด ชัยเพชร. (2559). ผลของการทำแห้ง การสกัด และการวิเคราะห์เชิงปริมาณของสารออกฤทธิ์จากพืชวงศ์ Dipterocarpaceae สู่ทิศทางด้านอาหาร. รายงานการวิจัยทุนสนับสนุนจากมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัยที่สนับสนุนงบประมาณแผ่นดินประจำปีพ.ศ.2557-2558.
Alam, U., Asghar, O., Azmi, S. and Malik, R.A. (2014). Chapter 15-General aspects of diabetes mellitus. Handbook of Clinical Neurology. 126: 211-222.
AOAC. (1992). Offcial methods of analysis. Association of Offciating Analytical Chemists, 75(3), 443-464.
Heim,K.E., Tagliaferro, A.R. and Bobilya, D.J. (2002). Flavonoid antioxidants: chemistry, metabolism and structure-activity relationships. Journal of Nutritional Biochemistry. 13: 572–584.
Kavatagimath, S.A.; Jalalpure, S.S. and Hiremath, R.D. (2016). Screening of Ethanolic extract of Borassus flabellifer Flowers for its antidiabetic and antioxidant potential. Journal of Natural Remedies. 16: 22–32.
Kusano R., Ogawa S., Matsuo Y., Tanaka T., Yazaki Y., Kouno I. (2011). α-Amylase and lipase inhibitory activity and structural characterization of Acacia bark proanthocyanidins. Journal of Natural Product. 74: 119–128.
Goyal, P., Agarwal, A. K., Lakashminarasimhaiah and Singh, G.K. (2014). Hypoglycemic activity of inflorescence of Borassus flabellifer extracts on blood glucose levels of streptozocin-induced diabetic rats. Journal of Pharmacy Research. 8(11): 1738-1742.
Goyal, P., Agarwal, A.K., Lakashminarasimhaiah and Singh, G.K. (2015). Antidiabetic and antihyperlipidemic effect of Borassus flabellifer in streptozotocin (STZ) induced diabetic rats. World Journal of Pharmacy and Pharmaceutical Science. 4(1): 1172-1184.
Peñarrieta, J. M., M., Alvarado J. A., Akesson, B. & Bergenståhl, B. (2007). Separation of phenolic compounds from foods by reversed-phase high performance liquid chromatography. Revista Boliviana de Química, 24(1), 1-4.
Phukhatmuen P., Raksat A., Laphookhieo S., Charoensup R., Duangyod T., Maneerat W. (2020). Bioassay-guided isolation and identification of antidiabetic compounds from Garcinia cowa leaf extract. Heliyon. 6: 1–8.
Rosak, C. and Mertes, G. (2012). Critical evaluation of the role of acarbose in the treatment of diabetes: patient considerations. Diabetes, Metabolic Syndrome and Obesity: Targets and Therapy. 5: 357-367.
Terao, J. (1999). Dietary flavonoids as antioxidants in vivo: conjugated metabolites of (-)-epicatechin and quercetin participate in antioxidative defense in blood plasma. Journal of Medical Investigation. 46(3/4): 159-168.
Tsai, S-Y, Tsai, H-L and Mau J-L. (2007). Antioxidant properties of Agaricus blazei, Agrocybe cylindracea, and Boletus edulis. LWT Food Science and Technology. 40: 1392–402.
Wafaa, B., Said, B. and Mohamed, B. (2010). Antidiabetic medicinal plants as a source of alpha glucosidase inhibitors. Current Diabetes Reviews. 6(4): 247-254.
Zheng, Y., Ley, s.H. and Hu, F.B. (2018). Global aetiology and epidemiology of type 2 diabetes mellitus and its complications. Nature Reviews Endocrinology.14: 88-98.