การจัดการให้อาหารปลาดุกอนุบาลและตรวจสอบคุณภาพน้ำผ่านแอพพลิเคชันโดยใช้เทคนิคเอ็มคิวทีที

Main Article Content

รชต เรืองกาญจน์
ชลธิศา รัตนชู
วัชระ เจียมสวัสดิ์
ยรรยง สุรัตน์

บทคัดย่อ

ภาครัฐได้ส่งเสริมการพัฒนาการประมงน้ำจืด หรือประมงพื้นบ้าน จากกลุ่มสถิติการประมง กองนโยบายและแผนพัฒนาการประมง กรมประมง ส่งเสริมให้ทำประมงน้ำจืด ในกลุ่มปลา 3 ชนิด คือ ปลานิล ปลาดุก และปลาตะเพียน ปัญหาที่พบของการทำประมงน้ำจืด คือ คุณภาพน้ำ และขั้นตอนกระบวนการการให้อาหารในการทำประมงน้ำจืดที่ให้ปริมาณอาหารไม่เหมาะสมมีผลกระทบต่อคุณภาพน้ำ และต้นทุนแรงงานในการอนุบาลปลาดุก ผู้วิจัยจึงเล็งเห็นปัญหาดังกล่าว โดยพัฒนาระบบให้อาหารปลาแบบอัตโนมัติ และตรวจสอบคุณภาพน้ำ ผ่านแอปพลิเคชันโดยนำเอาเทคโนโลยีเอ็มคิวทีที มาจัดการบริหารการทำงานและตรวจสอบข้อมูลให้เหมาะสมกับการทำประมงน้ำจืดให้มีคุณภาพด้านการเติบโต และควบคุมปริมาณอาหารให้เหมาะสมและสามารถลดค่าใช้จ่ายด้านอาหาร โดยงานวิจัยนี้ได้แบ่งส่วนงานออกเป็นสองส่วน คือส่วนของฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์ ในส่วนของฮาร์ดแวร์ได้แก่ โหนดเอ็มซียู โดยมีรีเลย์ที่ใช้ในการควบคุมมอเตอร์ นอกจากนี้ก็ยังมีโมดูลเซ็นเซอร์วัดค่าความเป็นกรดด่าง (pH sensor module) และเซ็นเซอร์วัดอุณหภูมิ (waterproof temperature sensor) ในส่วนของซอร์ฟแวร์ ใช้ภาษา
ไพทอน (python language) ทำหน้าที่เป็นแพลตฟอร์มสำหรับการพัฒนาแอปพลิเคชันที่ใช้ในการติดต่อสื่อสารกับผู้ใช้งานในงานวิจัยนำไปใช้กับกลุ่มประมงน้ำจืดในการเลี้ยงปลาดุก จากผลการทดลองพบว่า เกษตรกรมีความพึงพอใจเนื่องจากคุณภาพน้ำที่ดีส่งผลให้อัตราการรอดตายของปลาดุกในการอนุบาลเพิ่มขึ้น สามารถเพิ่มอัตราการรอดตายของปลาดุกในการอนุบาลจากเดิมร้อยละ 92% หลังการทดลองใช้งานปลาดุกมีอัตราการรอดตายร้อยละ 100% และลดต้นทุนการใช้แรงงานในการดูแลปลาดุกอนุบาลได้ 1,725 บาท/เดือน เนื่องจากสามารถตรวจสอบข้อมูลต่างๆ และควบคุมการทำงานได้ผ่านแอปพลิเคชันและเวลาเหลือในการประกอบอาชีพอื่นๆ

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กรมประมง. (2563). วารสารการประมงอิเล็กทรอนิกส์ ฉบับที่ 1. www4.fisheries.go.th/local/index.php/main/view_activities/1282/79128.

กาญจนา จ้ายเกิด. (2557). การศึกษาผลกระทบของการเลี้ยงปลาในกระชังต่อคุณภาพน้ำ บริเวณอำเภอคลองท่อมจังหวัดกระบี่.

จามจุรี กุลยอด และศิลป์ณรงค์ ฉวีพัฒน์. (2560). ต้นแบบระบบควบคุมการเปิด-ปิดไฟผ่านแอพพลิเคชันบนระบบปฏิบัติการแอนดรอยด์. คณะวิทยาการคอมพิวเตอร์มหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร.

บัญญัติ มนเทียรอาสน์. (2556). ผลของรูปแบบการให้อาหารที่มีโปรตีนต่างกันต่อการเจริญเติบโต และอัตราการรอดของปลานิลแดงในรูปแบบ MQTT. มหาวิทยาลัยบูรพา.

ภาสกร แพรญาติ. (2562). GUI เเละ Kivy ขั้นพื้นฐาน. https://m61-3013-5.blogspot.com/2019/07/gui-kivy.html.

มหาวิทยาลัยกรุงเทพธนบุรี. (2558). การเลี้ยงปลาดุกในบ่อซีเมนต์แบบครัวเรือนเพื่อครัวเรือนที่ต้องการเลี้ยงปลาดุกในบ่อซีเมนต์. มหาวิทยาลัยกรุงเทพธนบุรี.

Angani, A.,Oh, S.M., Kim E. S., & Shin, K. J. (2019). Realization of eel fish farm with artificial intelligence Part2: IoT based flow control using MQTT. IEEE International Conference on Architecture, Construction, Environment and Hydraulics (ICACEH), 2019 (pp. 97-100). doi: 10.1109/ICACEH48424.2019.9041842.