แคริโอไทป์ และอิดิโอแกรมมาตรฐานของปลาซิวหนวดยาว (Esomusmetallicus) ด้วยการ ย้อมสีแบบธรรมดา และแถบสีแบบนอร์

Main Article Content

กษมา ด่านวันดี
กฤติมา กษมาวุฒิ
สำเนาว์ เสาวกูล
สุพัชชา ชูเสียงแจ้ว

บทคัดย่อ

การศึกษาแคริโอไทป์และอิดิโอแกรมมาตรฐานของปลาซิวหนวดยาว (Esomus metallicus) รวบรวมปลาซิวหนวดยาวจากอ่างเก็บน้ำห้วยเสนง จังหวัดสุรินทร์ คัดแยกเพศปลาและคัดเลือกปลาเพศผู้และเพศเมียอย่างละ 10 ตัว ศึกษาโดยเตรียมโครโมโซมจากไตด้วยเทคนิคการบดขยี้ (Squash Technique) ย้อมสีโครโมโซมด้วยเทคนิคการย้อมสีแบบธรรมดา (Conventional Staining Technique) และการย้อมแถบสีแบบนอร์ (Ag-NOR Banding Technique) ผลการศึกษาพบว่าปลาซิวหนวดยาวมีจำนวนโครโมโซมดิพลอยด์ (2n) เท่ากับ 50 แท่ง และมีจำนวนโครโมโซมพื้นฐาน (NF) เท่ากับ 78 ทั้งในเพศผู้และเพศเมียซึ่งประกอบด้วยโครโมโซมชนิดเมทาเซนทริกขนาดใหญ่ 2 แท่ง โครโมโซมชนิดอะโครเซนทริกขนาดใหญ่ 4 แท่ง โครโมโซมชนิดซับเมทาเซนทริกขนาดกลาง 12 แท่ง โครโมโซมชนิดอะโครเซนทริกขนาดกลาง 10 แท่ง และโครโมโซมชนิดเทโลเซนทริกขนาดกลาง 22 แท่ง พบตำแหน่งนอร์ (NORs) อยู่บริเวณแขนข้างสั้นของโครโมโซมคู่ที่ 8 อีกทั้งไม่พบความแตกต่างของโครโมโซมเพศระหว่างปลาเพศผู้และเพศเมีย ปลาซิวหนวดยาวมีสูตรแคริโอไทป์ ดังนี้ 2n (50)  = Lm2 + La4 + Msm12 + Ma10 + Mt22

Article Details

บท
Original Articles

References

เกรียงไกร สีตะพันธุ์, และทักขิณา เหมยคํา. (2547). คาริโอไทป์ของปลา 10 ชนิดในวงศ์ Cyprinidae. วิจัยและส่งเสริม วิชาการเกษตร, 22(ฉบับพิเศษ), 92- 101.

ธวัช ดอนสกุล, อัจฉริยา รังษิรุจิ และวิเชียร มาก ตุ่น. (2552). คาริโอไทป์ของปลาซิวผอม ซิวหลังจุด ซิวหลังแดง ซิวเพชรน้อยและปลาซิวหนูที่พบในประเทศไทย. เรื่องเต็มการประชุมทางวิชาการของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ครั้งที่ 47: สาขาประมง. การประชุมทางวิชาการของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ครั้งที่ 47.สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย.

ธวัช ดอนสกุล. (2540). การศึกษาโครโมโซมของปลาสร้อยขาว ปลาร่องไม้ตับ ปลาเขยา และปลาซิวใบไผ่ที่พบในประเทศไทย. การประชุมทางวิชาการของ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ครั้งที่ 35: สาขาประมง วิศวกรรมศาสตร์ การจัดการทรัพยากรและสิ่งแวดล้อม คหกรรมศาสตร์ ศึกษาศาสตร์ และเศรษฐศาสตร์, กรุงเทพฯ, ประเทศไทย. มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

ธวัช ดอนสกุล และวิเชียร มากตุ่น. (2545). คาริโอไทป์ของปลาซิวหางดอกซิวควายแถบดำ และซิวควายที่พบในประเทศไทย. การประชุมสัมมนาวิชาการเพื่อเสนอผลงานวิจัย. มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

ธวัช ดอนสกุล และอนันต์ พู่พิทยาสถาพร. (2548). คาริโอไทป์ของปลาวงศ์ไซไพรนิ ดี 5 ชนิดที่พบในประเทศไทย. การประชุมวิชาการพันธุ์ศาสตร์แห่งชาติครั้ง ที่ 14: พันธุศาสตร์: จากพื้นฐานสู่เทคโนโลยีระดับโมเลกุล, กรุงเทพฯ, ประเทศไทย.

ธวัช ดอนสกุล และวิเชียร มากตุ่น. (2538). คาริโอไทพ์ของปลาพรม ปลากระมัง ปลาแปบ และปลาซิวควายที่พบในประเทศไทย. การประชุมทางวิชาการของ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ครั้งที่ 33 สาขาประมง วิทยาศาสตร์ วิศวกรรมศาสตร์ อุตสาหกรรมเกษตร ศึกษาศาสตร์มนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ การจัดการทรัพยากรและสิ่งแวดล้อม 30 มกราคม - 1 กุมภาพันธ์ 2538. มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

ธวัช ดอนสกุล และอนันต์ พู่พิทยาสถาพร. (2548). คาริโอไทป์ของปลาวงศ์ไซไพรนิ ดี 5 ชนิดที่พบในประเทศไทย. [เอกสารนำเสนอ]. การประชุมวิชาการพันธุ ศาสตร์แห่งชาติครั้งที่ 14: พันธุศาสตร์: จากพื้นฐานสู่เทคโนโลยีระดับโมเลกุล, กรุงเทพฯ, ประเทศไทย.

นูรอีน ยีแสม, สิทธิศักดิ์ จันทรัตน์, และพัน ยี่สิ้น. (2562). พันธุศาสตร์เซลล์ของปลาซิวทอง (Rasbora einthovenii) บริเวณป่าพรุสิรินธร จังหวัดนราธิวาส. วารสารวิจัยเทคโนโลยีการประมง, 13(2), 58-68.

Esmaeili, H. R., Ebrahimi, M. & Saifali, M. (2008). Karyological analysis of five tooth-carps (Actinopterygii: Cyprinodontidae) from Iran. Journal of aquaculture, 39(2), 95-100.

Fontana, F., Chiarelli, B. & Rossi, A.C. (1970). Il Cariotipo di alcune specie di cyprinidae, Centrarchidae, characidae studiate mediante colture in vitro. International journal of cytology, cytosystematics and cytogenetics caryologia, 23(4), 549- 564.

Hardie, D.C. & Hebert, P.D.N. (2004). Genome size evolution in fishes. Canadian Journal of Fisheries and Aquatic Sciences, 61, 1636-1646.

Howell, W. M., & Black, D. A. (1980). Controlled silver-staining of nucleolus organizer regions with a protective colloidal developer: a 1-step method. Experientia, 36(8), 1014-1015.

Khuda-Bukhsh, A.R. (1979). Karyology of two species of hillstream fishes, Barilius bendelisis and Rasbora daniconius (Fam. Cyprinidae). Current Science, 48(17), 793-794.

Khuda-Bukhsh, A. R., Chanda, T., & Barat, A. (1986). Karyomorphology and evolution in some Indian hillstream fishes with particular reference to polyploidy in some species. Proceedings of the Second International Conference on Indo-Pacifc Fishes (pp. 886-898). Ichthyological Society of Japan.

Magtoon, W. & R, Arai. (1994). Karyotypes of five Rasbora species and one Danio species (Cyprinidae) from Thailand. Proceedings of the fourth Indo-Pacific fish conference, 484–496.

Manna, G. K., & Khuda-Bukhsh, A. R. (1977). Karyomorphology of cyprinid fshes and cytological evaluation of the family. Nucleus, 20,119-127.

Neeratanaphan, W., Khamlerd, C., Chowrong, S., Intamat, S., Sriuttha, M., & Tengjaroenkul, B. (2017). Cytotoxic assessment of flying barb fsh (Esomus metallicus) from a gold mine area with heavy metal contamination. International Journal of Environmental Studies, 74(4),613-624.

Rooney, D. E. (2001). Human cytogenetics: constutitional analysis: a practical approach. Oxford University Press.

Smith, H.M., 1945. The fresh-water fishes of Siam, or Thailand. Bulletin of the United States National Museum.

Seetapan, K. & Moeikum, T. (2004). Karyotypes of ten Cyprinid fishes (Family Cyprinidae). Journal of Agricultural Research and Extension. 22(Special Issue): 92-101.

Sukham, S., Chingakham, B., Thoidingjam, L. & Waikhom, G. (2013). Cytogenetic characterization of Devario aequipinnatus McClelland, 1839) and Devario yuensis (Arunkumar and Tombi, 1998) (Cypriniformes: Cyprinidae) from Manipur, northeast India. In Turkish Journal of Zoology. 706-712.

Turpin, R., and Lejeune, J. (1965). Les chromosomes humains. Gauthier-Villars, Paris.