แบบจำลองทางอุณหพลศาสตร์ของกระบวนการทำความเย็นในกระบวนการผลิตน้ำแข็งหลอด
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความวิจัยนี้นำเสนอแบบจำลองทางอุณหพลศาสตร์ของกระบวนการทำความเย็นในเครื่องทำน้ำแข็งหลอด เพื่อหาระยะเวลาที่ใช้และภาระการทำความเย็นตลอดกระบวนการทำความเย็นภายใต้ความหนาน้ำแข็งหลอดที่ต้องการผลิต เนื่องจากปัจจุบันการผลิตน้ำแข็งหลอดให้มีความหนาตามต้องการเครื่องทำน้ำแข็งหลอดถูกตั้งเวลาของกระบวนการทำความเย็นไว้คงที่ทุกรอบการผลิตภายใต้อุณหภูมิน้ำป้อนค่าหนึ่ง แต่ความเป็นจริงความหนาน้ำแข็งหลอดที่ผลิตได้ไม่เป็นไปตามต้องการจากอุณหภูมิน้ำป้อนที่เบี่ยงเบนด้วย 2 ปัจจัยคือ อุณหภูมิสิ่งแวดล้อมและการลดอุณหภูมิน้ำป้อนที่เครื่องแลกเปลี่ยนความร้อนด้วยน้ำเย็นทิ้งจากการละลายน้ำแข็งในรอบผลิตก่อนเพื่อการประหยัดพลังงาน ยิ่งไปกว่านั้นการทำนายภาระการทำความเย็นจากแบบจำลองที่มีการศึกษาวิจัยในอดีตขาดการพิจารณาช่วงการลดอุณหภูมิน้ำซึ่งมีแนวโน้มเกิดภาระการทำความเย็นสูงสุดขึ้น ผลการศึกษาวิจัยนี้พบว่า สามารถทำนายระยะเวลาของกระบวนการทำความเย็นได้แม่นยำขึ้น 15.18% เมื่อเทียบกับงานวิจัยในอดีต ภาระการทำความเย็นสูงสุดเกิดในช่วงลดอุณหภูมิน้ำและลดลงต่อเนื่องจนสิ้นสุดช่วงก่อตัวของน้ำแข็งหลอด เนื่องจากความแตกต่างระหว่างอุณหภูมิน้ำกับสารทำความเย็นและความต้านทานความร้อนของน้ำแข็งหลอดที่เพิ่มความหนา ภาระการทำความเย็นในช่วงเวลาต่างๆ นำไปสู่อัตราการระเหยสารทำความเย็นซึ่งเป็นผลลัพธ์สำคัญในการกำหนดอัตราการดูดสารทำความเย็นของเครื่องอัดไอที่เหมาะสมกับเครื่องทำน้ำแข็งหลอด
Article Details
References
ณัฐดนย์ พรรณุเจริญวงษ์, ฉัตรชัย เบญจปิยะพร, รพีพัฒน์ ลาดศรีทา, & สุกัญญา ทองโยธี. (2556). การศึกษาพารามิเตอร์ที่มีผลต่อการแข็งตัวของน้ำแข็งหลอด. The Journal of Industrial Technology, 9(3), 63-80.
ธีรวัฒน์ คลับคล้าย, & ธีระชาติ พรพิบูลย์. (2556). แบบจำลองทางเทอร์โมไดนามิกส์ของกระบวนการต้มและอุ่นนํ้าอ้อยแบบหลายขั้นตอนในกระบวนการผลิตนํ้าตาล. วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, 32(5), 606-616.
ภูวนาถ กาบคำ. (2547). การศึกษาเพื่อปรับปรุงประสิทธิภาพการผลิตน้ำแข็งหลอด. [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย]. Chulalongkorn University Intellectual Repository (CUIR). http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/1515
Ozisik, M. N. (1985). Heat transfer: A basic approach. McGraw-Hill.
Pannucharoenwong, N., Benjapiyaporn, C. Theerakulpisut, S., Saeng-Uthai, S., Benjapiyaporn, J. & Promteerawong, P. (2016). 50 Ton tubular ice factory production optimization. Engineering and Applied Science Research, 43, 180-182.
Stephan, K., & Abdelsalam, M. (1980). Heat-transfer correlations for natural convection boiling. International Journal of Heat and Mass Transfer, 23(1), 73-87.
Stoecker, W. F. (1989). Design of thermal systems (3rd ed.). McGraw-Hill.
Stoecker, W. F., & Jones, J. W. (1982). Refrigeration and air conditioning. McGraw-Hill.
Tangthieng, C. (2011). Effect of tube diameter on the specific energy consumption of the ice making process. Applied Thermal Engineering, 31(5), 701-707.
Thongdee, A. & Chinsuwan A. (2019). An optimization of the components and operating conditions of a pre-cooling system for tubular ice making machines. Energy Procedia, 157, 602-610.