การพัฒนานวัตกรรมเครื่องอบด้วยการควบคุมอุณหภูมิอัตโนมัติจากพลังงานแสงอาทิตย์แบบผสมผสานด้วยเทคโนโลยีอินเทอร์เน็ตทุกสรรพสิ่ง (IoT)

Main Article Content

วีรวัตร คำภู
ชาญชัย นามพล
สุทิพย์ เป้งทอง

บทคัดย่อ

การพัฒนานวัตกรรมเครื่องอบด้วยการควบคุมอุณหภูมิอัตโนมัติจากพลังงานแสงอาทิตย์แบบผสมผสานด้วยเทคโนโลยีอินเทอร์เน็ตทุกสรรพสิ่ง มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อออกแบบและพัฒนานวัตกรรมเครื่องอบด้วยการควบคุมอุณหภูมิอัตโนมัติจากพลังงานแสงอาทิตย์แบบผสมผสานด้วยเทคโนโลยีอินเทอร์เน็ตทุกสรรพสิ่ง 2) เพื่อส่งเสริมการแปรรูปผลิตภัณฑ์อาหารหม่ำและเพิ่มรายได้ให้กับชุมชน โดยผ่านกระบวนการทดสอบประสิทธิภาพการทำงานและความเหมาะสมของนวัตกรรมจากผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 3 ท่าน เก็บรวบรวมข้อมูลเพื่อวิเคราะห์ข้อมูลหาค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน จากผลการทดสอบประสิทธิภาพการทำงานของนวัตกรรมโดยใช้เวลาในการทดสอบทั้งสิ้นเป็นเวลา 3 วัน ระหว่างวันที่ 25-27 มกราคม 2566 ทดสอบเปรียบเทียบผลิตภัณฑ์จากหม่ำในตู้อบกับการตากในรูปแบบเดิม มีค่าเฉลี่ยของอุณหภูมิโดยรวม 47 องศาเซลเซียส และมีค่าเฉลี่ยความชื้นสัมพัทธ์โดยรวม 20 เปอร์เซ็นต์ การตากผลิตภัณฑ์ในรูปแบบเดิม มีค่าเฉลี่ยอุณหภูมิโดยรวม 27 องศาเซลเซียส และค่าเฉลี่ยความชื้นสัมพัทธ์โดยรวม 52 เปอร์เซ็นต์ การประเมินประสิทธิภาพความเหมาะสมของนวัตกรรม พบว่า มีค่าเฉลี่ยโดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด  (gif.latex?\bar{x} = 4.73 S.D. = 0.23)  การประเมินความพึงพอใจต่อการใช้งานของนวัตกรรมกับชุมชม พบว่า มีค่าเฉลี่ยโดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด (gif.latex?\bar{x} = 4.56 S.D. =0.57) เครื่องสามารถลดระยะเวลาในการตากแดด เนื่องจากสามารถลดความชื้นได้มากกว่า มีอัตราอบแห้งสูงกว่า จึงส่งผลให้สามารถนำมาจำหน่ายได้เร็วกว่า ถือได้ว่าเป็นการลดระยะเวลาในการผลิต

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

ธีรพงศ์ บริรักษ์, พงษ์สวัสดิ์ คชภูมิ, ณรงค์ ภู่อยู่ และวรลักษณ์ เสถียรรังสฤษฎิ์ (2564). ตู้อบแห้งพลังงานแสงอาทิตย์แบบผสมผสาน. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยอีสเทิร์นเอเชีย ฉบับวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี,5(1), 180-195.

รัฐพงษ์ โป้เคนและวิศิษศักดิ์ เสงี่ยมศักดิ์. (2563). ตู้อบกล้วยพลังงานแสงอาทิตย์. วารสารวิชาการการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ, 6(1), 48-57.

วิวัฒน์ มีสุวรรณ. (2559). อินเทอร์เน็ตเพื่อสรรพสิ่ง (Internet of Things) กับการศึกษา Internet of Things on Education. วารสารวิชาการนวัตกรรมสื่อสารสังคม มหาวิทยาลัยนเรศวร, 4(2), 83-92.

สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร. (2565). สถิติการเกษตรของประเทศไทย ปี 2565. กระทรวงเกษตรและสหกรณ์

อนุชิต กลับประสิทธิ์, ดุษณี ศุภวรรธนะกุล, ประสูติ สิทธิสรวง, รัศมี แสงศิริมงคลยิ่ง. (2564). การสร้างตู้อบแห้งพลังงานแสงอาทิตย์ในการจัดการเทคโนโลยีการผลิตปลาช่อนแดดเดียว. วารสารมหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์, 12(2), 82-96.

อภิญญา สายศรีแก้ว, อัษฎา วรรณกายนต์, อภิชัย ไพรสิทธิ์และสุชาติ ดุมนิล. (2565). การพัฒนาตู้อบพลังงานแสงอาทิตย์เพื่อการแปรรูปอาหารควบคุมด้วยระบบ Internet of Things (IoT). วารสารวิชาการเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์, 7(2), 42-52.

ฮาติมมี บากา, รอกีเยาะ อาแว, ซุลกิพลี กาซอ, และสุนิตย์ โรจนสุวรรณ. (2560). การศึกษาประสิทธิภาพการอบแห้งของปลาช่อนด้วยตู้อบพลังงานแสงอาทิตย์ร่วมไฟฟ้า. วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มรย. 1(1), 13- 24.