ประสิทธิภาพของเครื่องตรวจเอกสารสำหรับกระดาษที่ผ่านการกด

Main Article Content

ณรงค์ กุลนิเทศ
นนทพัทธ์ ยั้งประยุทธ์
อธิป ลอศิริกุล

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์ของการศึกษานี้ เพื่อทราบถึงประสิทธิภาพของแสงเฉียงของเครื่องตรวจพิสูจน์เอกสารในด้านการตรวจหารอยกดบนแผ่นกระดาษรองเขียนที่ต่างชนิดกัน และศึกษาคุณสมบัติของการเขียนผ่านรอยกดที่ตรวจพบ ผู้วิจัยใช้วิธีเชิงปริมาณในการศึกษา จากการทดลองกำหนดแหล่งกำเนิดแสงเฉียงที่ใช้ในการหาประสิทธิภาพนั้นมาจากทางด้านซ้ายและขวา สูงห่างจากแผ่นกระดาษ 10 มิลลิเมตร และแหล่งกำาเนิดแสงเฉียงทำมุม 10 องศา กับแนวระดับในการศึกษาใช้กระดาษที่ต่างกันดังนี้ กระดาษถ่ายเอกสารขนาด 70 และ 80 แกรม และกระดาษรายงานขนาด 70 แกรม นอกจากนี้ยังศึกษาอิทธิพลของชนิดของปากกาที่ใช้ในการเขียน ผ่านปากกาหมึกเจล และปากกาลูกลื่น ซึ่งจากการศึกษาพบว่าแสงเฉียงภายใต้เครื่องตรวจพิสูจน์เอกสารมีประสิทธิภาพตรวจพบรอยกดบนแผ่นกระดาษรองได้สูงสุดที่จำนวน 3 แผ่น กระดาษและปากกาที่ต่างชนิดกันมีค่าเฉลี่ยจำนวนแผ่นรองเขียนที่ตรวจพบรอยกดแตกต่างกัน โดยที่ปากกาลูกลื่นที่เขียนในกระดาษถ่ายเอกสารขนาด 70 แกรม และ 80 แกรม และกระดาษรายงานมีค่าเฉลี่ยอยู่ที่ 1.5, 1.2 และ 1.2 แผ่นตามลำดับ ในส่วนปากกาหมึกเจลที่เขียนในกระดาษถ่ายเอกสารขนาด 70 แกรม 80 แกรม และกระดาษรายงานมีค่าเฉลี่ยอยู่ที่ 1.0, 1.0, และ 0.8 แผ่น ตามลำดับ ถึงแม้ค่าเฉลี่ยจำนวนแผ่นกระดาษรองที่ตรวจพบรอยกดจะแตกต่างกันแต่จากการวิเคราะห์ความแปรปรวนสองทางตัวประกอบที่ค่านัยสำคัญทางสถิติที่ p<0.05 พบว่ากระดาษและปากกาที่ต่างชนิดกันไม่ส่งผลต่อประสิทธิภาพในการหารอยกดด้วยเครื่องตรวจพิสูจน์เอกสาร งานวิจัยนี้จึงเป็นประโยชน์ในการตรวจพิสูจน์หลักฐานทางเอกสารสำหรับงานทางนิติวิทยาศาสตร์

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

พิชศาล พันธุ์วัฒนา. (2560). การตรวจสอบลายมือเขียนที่ปรากฏในเอกสาร. วารสารวิชาการ อาชญาวิทยาและนิติวิทยาศาสตร์, 3(2), 28-36.

อมรเทพ พลศึก, สฤษดิ์ สืบพงษ์ศิริ และชัยชาญ ไชยรังสินันท์. (2559). การประยุกต์ใช้เครื่อง ESDA ในการตรวจพิสูจน์ลายมือชื่อลายมือเขียนและพยานหลักฐานทางเอกสารในงานทางนิติวิทยาศาสตร์. วารสารวิชาการอาชญาวิทยาและนิติวิทยาศาสตร์, 2(1), 45-69.

Cantavalle S. (2019). The history of paper: From its origins to the present day. Retrieved March 26, 2021, from https://www.pixartprinting.co.uk/blog/history-paper/.

Kelly, J. S., and Lindblom, B. S. (2006). Scientific examination of questioned documents (2 nd ed.). Florida: Taylor & Francis group.

Mial, R., Sharma, A. and Panchal, V. (2021). Indented writing on paper developed by side light method. International Journal of Advanced Research Trends in Engineering and Technology, 8(6), 1-4.

Mial, R., Sharma, A. and Panchal, V. (2021). Indented writing on paper developed by side light method. International Journal of Advanced Research Trends in Engineering and Technology, 8(6), 1-4.

Neumann, C., Ramotowski, R. and Genessay, T. (2011). Forensic examination of ink by high-performance thin layer chromatography—the united state secret service digital ink library. Journal of Chromatography A, 1218(19), 2793-2811.

Singla, A and Jasuja O. (1987). A simple method for determining the sequence of intersecting ball pen lines. Journal of the Forensic Science Society, 27(4), 227-230.