การประยุกต์ใช้การวิเคราะห์ทางสถิติเชิงพื้นที่ของคดียาเสพติดในอำเภอเมือง จังหวัดนครปฐม

Main Article Content

วิจิตรา ผลิเจริญผล
อรประภา ภุมมะกาญจนะ โรแบร์

บทคัดย่อ

คดียาเสพติดเป็นคดีที่เกิดขึ้นมากที่สุดในพื้นที่อำเภอเมือง จังหวัดนครปฐม การศึกษาครั้งนี้เป็นการศึกษาข้อมูลเชิงพื้นที่ของการเกิดคดียาเสพติดด้วยระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ ในพื้นที่ความรับผิดชอบของ สภ.เมืองนครปฐม โดยรวบรวมข้อมูลการเกิดคดียาเสพติดระหว่าง ปี 2556 ถึง ปี 2560 เพื่อ 1) ศึกษาแบบรูปของการเกิดคดียาเสพติดด้วยเครื่องมือ Moran’s I 2) วิเคราะห์จุดความร้อนของการเกิดคดียาเสพติดด้วยเครื่องมือ Getis-Ord Gi* 3) วิเคราะห์ทิศทางการกระจายของคดียาเสพติดด้วยเครื่องมือ Standard Deviational Ellipse และ 4) ศึกษาความสัมพันธ์เชิงพื้นที่ของการเกิดคดียาเสพติดและการใช้ที่ดิน
ผลการศึกษาแสดงให้เห็น 1) แบบรูปการเกิดคดียาเสพติดในพื้นที่ความรับผิดชอบของ สภ.เมืองนครปฐมเป็นแบบเกาะกลุ่มโดยมีค่า Moran’s I เท่ากับ 0.31, 0.34, 027, 0.24 และ 0.17 ตามลำดับ 2) บริเวณที่เกิดคดียาเสพติดสูง โดยมีค่า GiZscore มากกว่า 1.65 ในปี 2556 และปี 2557 ได้แก่ ตำบลพระปฐมเจดีย์ และตำบลห้วยจระเข้ ปี 2558 ได้แก่ ตำบลพระปฐมเจดีย์ตำบลวังตะกู และตำบลสนามจันทร์ ปี 2559 ได้แก่ ตำบลพระปฐมเจดีย์ ตำบลห้วยจระเข้ และตำบลบ่อพลับ และปี 2560 ได้แก่ ตำบลสนามจันทร์ 3) ทิศทางการกระจายของคดียาเสพติดทั้ง 5 ปี มีแนวโน้มไปทางทิศตะวันออกของพื้นที่ศึกษา และ 4) การจับกุมคดียาเสพติดสูงพบในแบบรูปการใช้ที่ดินประเภทชุมชนและสิ่งปลูกสร้าง ผลการวิจัยสามารถใช้ประกอบการพิจารณาวางแผนเชิงนโยบายที่เกี่ยวข้องกับยาเสพติดได้

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

Abdulhafedh, A. (2017). A Novel Hybrid Method for Measuring the Spatial Autocorrelation of Vehicular Crashes: Combining Moran’s Index and Getis-Ord Gi* Statistic. Journal of Civil Engineering. 7(2), 208-221.

Burachat, J. (2017). Analysis of Current Drug Situation Problem. Journal of Research and Development Institute, Rajabhat Maha Sarakham University. 4(2), 37-56.

Dechsiri, B., & Robert, O. (2019). Drug Trafficking Estimation based on Geo-statistics. Defence Technology Academic Journal. 3(1), 52-61.

In-ain, T. (2018). Developing a Spatial Database for the Application of GIS in Drug Offences Analysis. https://www.agi.nu.ac.th/nred/

Document/is-PDF/2561/geo_2561_018_FullPaper.pdf.

Mungkung, W., & Wacharasin, C., & Deoisres, W. (2016). Family Factors Influencing Substance Abuse in Male Adolescents at a Juvenile Vocational Training Centre. The Public Health Journal of Burapha University. 11(2)., 53-63.

Offce of Drugs and Crime. (2022). World drug report2022. https://www.unodc.org/

Offce of the Narcotics Control Board. (2016). Thailand narcotics control annual report. https://www.oncb.go.th/EN_ONCB/Pages/publications.aspx

Offce of the Narcotics Control Board. (2020). Thailand narcotics control annual report. https://www.oncb.go.th/EN_ONCB/Pages/publications.aspx

Srithamrong, T. (2016). Crime Risk Area Assessment based Geo-Spatial Statics [Master’s thesis, Silpakorn University]

Toju, B., & Okeke, H., & Christain, C. (2014). Crime Mapping in Nigeria Using GIS. Journal of Geographic Information System. 6(5). 453-466.

Tongngern, S., & Supalaknari, S., & Choosakoon kriang, S. (2019). Analysis of demographic data of the offenders and case data of narcotics cases in Ban Pong district in 2015. Journal of Social Sciences. 9(1), 123.-133.

Wongsa, S., & Bualah, K. (2017). Analysis of spatial drug epidemic situation and evaluation of the implementation of drug suppression and prevention strategy in 2016 by the office of the narcotics control board region 6. The National Conference 2017 Conti

nuation Report of the 2nd Conference: Social Development and Administration Strategy. https://www.academia.edu/

Yiampisan, M., & Srivanit, M. (2010). Using the Kernel Density Estimation Surface for Criminal Pattern: A Case Study in Phranakhon District, Bangkok. Journal of Architectural/Planning Research and Studies. 7(1), 87-102.