แบบจำลองการพยากรณ์สำหรับปริมาณการส่งออกเครื่องเทศของประเทศไทย

Main Article Content

สุภาวิณี ขันคำ
สิโรรัตน์ จั่นงาม

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์ของการศึกษาในครั้งนี้ คือ การสร้างแบบจำลองการพยากรณ์ที่เหมาะสมของปริมาณการส่งออกเครื่องเทศของประเทศไทย โดยใช้วิธีการทางสถิติทั้งหมด 4 วิธี คือ วิธีการปรับให้เรียบด้วยเส้นโค้งเลขชี้กำลังของโฮลต์ วิธีการปรับให้เรียบด้วยเส้นโค้งเลขชี้กำลังของบราวน์ วิธีบอกซ์-เจนกินส์ และวิธีการพยากรณ์รวม โดยใช้วิธีกำลังสองน้อยที่สุดสามัญในการประมาณค่าสัมประสิทธิ์การถดถอย ข้อมูลอนุกรมเวลาปริมาณการส่งออกเครื่องเทศได้มาจากเว็บไซต์ของสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร ตั้งแต่ เดือนมกราคม 2560 ถึง เดือนธันวาคม 2565 แบบรายเดือน จำนวน 72 ค่า และได้แบ่งข้อมูลออกเป็นสองชุด ชุดแรก จำนวน 66 ค่า คือ ข้อมูลเดือนมกราคม 2560 ถึง เดือนมิถุนายน 2565 และชุดที่สอง จำนวน 6 ค่า คือ ข้อมูลเดือนกรกฎาคม 2565 ถึง เดือนธันวาคม 2565 โดยที่ข้อมูลชุดแรกใช้สำหรับสร้างแบบจำลองในการพยากรณ์ และข้อมูลชุดสองใช้สำหรับการตรวจสอบความแม่นของแบบจำลองการพยากรณ์ด้วยเกณฑ์ร้อยละความคลาดเคลื่อนสัมบูรณ์เฉลี่ย (mean absolute percentage error : MAPE) และเกณฑ์รากที่สองของความคลาดเคลื่อนกำลังสองเฉลี่ย (root mean square error : RMSE) ที่มีค่าตํ่าที่สุด  ผลการวิจัย พบว่าแบบจำลองการพยากรณ์ด้วยวิธีการปรับให้เรียบด้วยเส้นโค้งเลขชี้กำลังของบราวน์ มีความเหมาะสมกับอนุกรมเวลาชุดนี้มากที่สุด (MAPE = 28.93, RMSE = 222,979.17)

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กัลยา บุญหล้า และ เมทินี ชมภูสว่าง. (2564). ความแกร่งในการวิเคราะห์การถดถอยเชิงเส้นพหุคูณสำหรับค่าผิดปกติในตัวแปรตาม. วารสารวิทยาศาสตร์ลาดกระบัง, 30(1), 81-92.

ทิพรดา วาลมุลตรี. (2563). การเปรียบเทียบวิธีการพยา-กรณ์จ่านวนนักท่องเที่ยวในปราสาทเมืองต่ำ อำเภอประโคนชัย จังหวัดบุรีรัมย์. วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี, 8(1), 119-132.

โฉมอนันต์ โพธิวงค์, ชาญวิทย์ สุวรรณ์, พงศกร น้อยมูล, ภัคธีมา ยาวิชัย, สายสุนีย์ จิตมโนวรรณ์ และ ชนกันต์ จิตมนัส. (2563). ผลของพืชสมุนไพรต่อภูมิคุ้มกันและการเจริญเติบโตของปลา. วารสารวิทยาศาสตร์บูรพา, 25(2), 595-616.

เมธาสิทธิ์ ธัญรัตนศรีสกุล. (2562). การเปรียบเทียบวิธีการพยากรณ์ระหว่างวิธีปรับให้เรียบด้วยเส้นโค้งเลขชี้กําลังของวินเทอร์แบบคูณ วิธีบ๊อกซ์-เจนกินส์ และวิธีพยากรณ์รวม สําหรับพยากรณ์ราคากุ้งขาวแวนนาไมรายเดือน. RMUTSB Academic Journal (Humanities and Social Sciences), 7(1), 72-86.

วรางคณา เรียนสุทธิ์ และน้ำอ้อย นิสัน. (2560). การพยา-กรณ์ปริมาณการส่งออกไก่แปรรูป. วารสารมหาวิทยาลัยนเรศวร, 25(2), 140-152.

วรางคณา เรียนสุทธิ์. (2556). ตัวแบบพยากรณ์ราคาขายปลีกน้ำมันแก๊สโซฮอล์ 91 ในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล. วารสารมหาวิทยาลัยทักษิณ, 16(3), 1-10.

วรางคณา เรียนสุทธิ์. (2565). ปริมาณการส่งออกน้ำตาลด้วยวิธีการทางสถิติ. PBRU Science Journal, 19(1), 1-12.

มุกดา แม้นมินทร์. (2549). อนุกรมเวลาและการพยากรณ์. โฟร์พริ้นติ้ง.

ศูนย์สารสนเทศการเจรจาการค้าระหว่างประเทศ กรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ. (2564, พฤษภาคม). การส่งออกสินค้าเกษตรของไทยกับประเทศคู่ FTA ในไตรมาศแรก. https://api.dtn.go.th/files/v3/60b707f7ef41408df1294252/download

สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร. (2566). สถิติการส่งออกเครื่องเทศปี 2559-2566. https://impexpth.oae.go.th/export

อิสริยพร หลวงหาญ. (2562). ตัวแบบสำหรับการพยากรณ์การจำหน่ายผลิตภัณฑ์นมยูเอชทีที่เหมาะสมด้วยวิธีปรับเรียบแบบเอกโพเนนเชียล. การประชุมวิชาการข่ายงานวิศวกรรมอุตสาหการ (น. 583-587). คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงณ์มหาวิทยาลัย.

ณิชาวีร์ ภาโสภะ, ธัญชนิต แก้วแป้น, และวรกานต์ สิน-อุปการะ. (2562). การพยากรณ์การจำหน่ายพลังงานไฟฟ้าของการไฟฟ้านครหลวง. การประชุมวิชาการเสนอผลงานวิจัยระดับชาติ ครั้งที่ 4. (น. 309-316). คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม

Lip, N. M., Rizuan, N. L. N. M., Iezudin, N. I., Mohamad, N. A., Rasyid, N. R. M. R., Hassan, F. A., Ithnin, H. (2021). Comparative study of smoothing methods and Box-Jenkins model in forecasting unemployment rate in malaysia. GADING Journal of Science and Technology, 4(1), 1-8.

Yonar, H., Yonar, A., Tekindal, M. A., Tekindal, M. (2020). Modeling and forecasting for the number of cases of the COVID-19 pandemic with the curve estimation models, the Box-Jenkins and exponential smoothing methods. Eurasian Journal of Medicine and Oncology, 4(2), 160-165. https://DOI: 10.14744/ejmo.2020.28273