ความแตกต่างของรูเหงื่อบริเวณนิ้วมือระหว่างสัญชาติไทย สัญชาติเมียนมา และสัญชาติกัมพูชา

Main Article Content

รุ่งรัตน์ อุระเพ็ญ
วรธัช วิชชุวาณิชย์

บทคัดย่อ

      รูเหงื่อหนึ่งในคุณลักษณะของลายนิ้วมือซึ่งสามารถนำมาใช้ในการตรวจพิสูจน์เพื่อยืนยันตัวบุคคลได้ โดยงานวิจัยนี้ได้ทำการศึกษาข้อมูลของรูเหงื่อในอาสาสมัครเพศชายสัญชาติไทย สัญชาติเมียนมา และสัญชาติกัมพูชา จำนวนทั้งหมด 75 คน และมีอายุระหว่าง 20-60 ปี บริเวณที่เลือกศึกษาคือบริเวณนิ้วหัวแม่มือขวาและซ้ายโดยใช้วิธีการพิมพ์นิ้วแบบกลิ้ง (จากขอบเล็บด้านหนึ่งไปยังขอบเล็บอีกด้านหนึ่ง) และทำการถ่ายภาพลายนิ้วมือเพื่อศึกษารูเหงื่อด้วยเครื่องถ่ายภาพวัตถุพยาน DCS4 ซึ่งผลการศึกษาพบว่าจำนวนรูเหงื่อเฉลี่ยในทั้ง 3 สัญชาติมีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญที่ p<0.05 โดยสัญชาติเมียนมามีรูเหงื่อเฉลี่ยมากที่สุด (115.12±2.25) รองลงมาคือสัญชาติกัมพูชา (107.12±1.60) ส่วนสัญชาติไทยพบจำนวนรูเหงื่อเฉลี่ยน้อยที่สุด (97.56±0.97) สำหรับการศึกษารูปแบบของรูเหงื่อพบว่าทั้งแบบปิดและแบบเปิดในทั้ง 3 สัญชาติมีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญที่ p<0.05 และพบรูเหงื่อแบบปิดมากกว่ารูเหงื่อแบบเปิด และในการศึกษาขนาดของรูเหงื่อพบว่ารูเหงื่อขนาดใหญ่ไม่พบความแตกต่างระหว่างสัญชาติ แต่รูเหงื่อขนาดเล็กและขนาดกลางพบว่ามีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญ (p<0.05)

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

สุนันทา ยาวาปี และรัชดาภรณ์ เบญจวัฒนานนท์. (2560). การศึกษารูเหงื่อบริเวณปลายนิ้วมือในลายนิ้วมือแฝงบนกระดาษชนิดต่างๆ ด้วย วิธีนินไฮดริน. วารสารวิทยาศาสตร์ มข., 45(3), 513-520.

สำนักงานตำรวจแห่งชาติ. (2561). คู่มือการปฏิบัติงานด้านนิติวิทยาศาสตร์ในการสืบสวนสอบสวน. กรุงเทพมหานคร.

สำนักงานพิสูจน์หลักฐานตำรวจ. (2559). คู่มือการปฏิบัติงานการตรวจพิสูจน์ลายนิ้วมือ ฝ่ามือและฝ่าเท้า. สำนักงานพิสูจน์หลักฐานตำรวจกรุงเทพมหานคร.

Ashbaugh, D.R. (1999). Quantitative-qualitative friction ridge analysis: An introduction to basic and advanced ridgeology (Series ed). CRC Press.

Bhagwat, V., Kumar, D.M. & Lakshmi, N.V. (2020). Poroscopy - the study of sweat pores among central Indian population. Scholars International Journal of Anatomy and Physiology, 3(6), 53-56.

Bindra, B., Jasuja, O.P. & Singla A.K. (2000). Poroscopy: A method of personal identification revisited. Anil Aggrawal’s Internet Journal of Forensic Medicine and Toxicology, 1(1).

Holder, E. H., Robinso, L. O. & Laub, J. H. (2004). The fingerprint sourcebook. Department of Justice Office of Justice Programs.

Jain, A. K., Chen, Y., & Demirkus, M. (2007). Pores and Ridges: High-Resolution fingerprint matching using level 3 features. IEEE Transactions on Pattern Analysis and Machine Intelligence, 29(1), 15-27.

Matltni, D., Maio, D., Jain, A. K. & Prabhakar S. (2009). Handbook of fingerprint recognition (2nd ed.). Springer-Verlag.

Oklevski, S., Jasuca, O.P. & Singh G. (2019). Poroscopy as a method for personal identification: Issues and challenges. Turkish Journal of Forensic Science and Crime Studies, 1(1), 36-49.

Preethi, D.S., Nithin, M.D., Manjunatha, B. & Balaraj B.M. (2012). Study of poroscopy among south Indian population. Journal of Forensic Sciences, 57(2), 449-452.

Tafazoli, M., Shahri, N.M., Ejtehadi, H., Haddad, F., Nooghabi, H.J., Shahri, M.M. & Naderi S. (2013). Biological variability of sweat gland pores in the fingerprints of a fars Iranian family from Khorasan Razavi province, Iran. Anatomical Sciences Journal, 10(2), 99-104.

Wijerathne, BTB. (2015). Poroscopy: an important research field in medicine and physical anthropology. Anuradhapura Medical Journal, 9(2), 44-46.

Zhao, Q., Zhang, D., Zhang, L. & Luo, N. (2010). Adaptive fingerprint pore modelling and extraction. Pattern Recognition, 43, 2833-2844.