ความหลากชนิดของผีเสื้อกลางวันในมหาวิทยาลัยขอนแก่น

Main Article Content

ทศพล ไชยอนันต์พร
สิริกมล พลายงาม
นภาทิพย์ พรรณงาม
นิศารัตน์ ตั้งไพโรจน์วงศ์

บทคัดย่อ

     การศึกษาครั้งนี้ทำการสำรวจความหลากชนิดของผีเสื้อกลางวันในมหาวิทยาลัยขอนแก่นด้วยการใช้สวิงโฉบแมลง โดยวิธีการวางแปลง (Quadrat method) และวางแนวแถบสำรวจ (Strip transect) โดยทำการเก็บตัวอย่างตั้งแต่เดือนมกราคมถึงเดือนเมษายน พ.ศ. 2564 ในพื้นที่ป่ามหาวิทยาลัยขอนแก่น 3 สถานี ได้แก่ (1) สถานีพิพิธภัณฑ์ธรรมชาติวิทยา (2) สถานีสวนร่มเกล้ากัลปพฤกษ์ และ (3) สถานีโรงไฟฟ้า ผลการศึกษาพบผีเสื้อกลางวันทั้งสิ้น 1,118 ตัว จัดจำแนกเป็น 5 วงศ์ 39 สกุล 57 ชนิด ได้แก่ วงศ์ผีเสื้อขาหน้าพู่ (Family Nymphalidae) (23 ชนิด) รองลงมาคือ วงศ์ผีเสื้อหนอนกะหล่ำ (Family Pieridae) (12 ชนิด) วงศ์ผีเสื้อสีน้ำเงิน (Family Lycaenidae) (10 ชนิด) วงศ์ผีเสื้อหางติ่ง (Family Papilionidae) (10 ชนิด) และวงศ์ผีเสื้อบินเร็ว (Family Hesperiidae) (2 ชนิด) ตามลำดับ ผลการศึกษาจำนวนชนิดในแต่ละสถานี ดัชนีความหลากหลาย (Shannon-Wiener diversity index; H´) และดัชนีความสม่ำเสมอ (Evenness index; E) พบว่า สถานีสวนร่มเกล้ากัลปพฤกษ์พบผีเสื้อกลางวันมากที่สุดคือ 47 ชนิด (H´=3.24, E=0.84) รองลงมาคือ สถานีโรงไฟฟ้าพบผีเสื้อกลางวัน 45 ชนิด (H´=3.17, E= 0.83) และสถานีพิพิธภัณฑ์ธรรมชาติวิทยาพบผีเสื้อกลางวัน 28 ชนิด (H´= 2.64, E= 0.79) ตามลำดับ ผลการศึกษาดัชนีความคล้ายคลึงกัน (Sorensen similarity index) พบว่า สถานีสวนร่มเกล้ากัลปพฤกษ์และโรงไฟฟ้ามีดัชนีความคล้ายคลึงมากที่สุดคือ 0.80 จากการศึกษาสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของสเปียร์แมน (Spearman's rank correlation coefficient - rho) พบว่าความหลากชนิดของผีเสื้อกลางวันมีความสัมพันธ์กับความชื้นสัมพัทธ์ (rho=0.450, S=4271.2, p-value=0.006) และอุณหภูมิอากาศ (rho=0.427, S=4454.6, p-value=0.009) และทำการศึกษาพืชบริเวณสถานีเก็บตัวอย่าง พบพืช 98 ชนิด สถานีสวนร่มเกล้ากัลปพฤกษ์พบจำนวนชนิดพืชมากที่สุด (81 ชนิด) สถานีโรงไฟฟ้า (75 ชนิด) และสถานีพิพิธภัณฑ์ธรรมชาติวิทยา (71 ชนิด) จากการศึกษาสหสัมพันธ์พบว่า จำนวนชนิดพืชในพื้นที่ไม่มีความสัมพันธ์กับความหลากชนิดของผีเสื้อกลางวัน (rho=0.065, S=7268.5, p-value=0.708)

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กิตติ ตันเมืองปัก และศิริกรณ์ ศรีโพธิ์. (2559). ความหลากชนิดของผีเสื้อกลางวัน ในเขตสวนป่านาปอ อำเภอนาแห้ว จังหวัดเลย. การประชุมวิชาการระดับชาติ

มหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร ครั้งที่ 3 (น. 366-371). สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร.

กิตติ ตันเมืองปัก, ศิริกรณ์ ศรีโพธิ์ และพิสุทธิ์ เอกอำนวย. (2560). ความหลากชนิดของผีเสื้อกลางวัน ในอุทยานแห่งชาติภูเรือ อำเภอภูเรือ จังหวัดเลย.

วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, 37(1), 65-78.

ก่องกานดา สยามฤต. (2548). ลักษณะประจำวงศ์พรรณไม้. กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่าและพันธุ์พืช.

เกรียงไกร สุวรรณภักดิ์. (2556). Thailand Butterfly Guide. สารคดี.

เขตไทย ภูผาสุก. (2537). การสำรวจผีเสื้อกลางวันในมหาวิทยาลัยขอนแก่น. โครงงานวิจัย. สาขาชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

ชุตินันท์ ชูสาย, หิรัญ แสวงแก้ว และ พัชรินทร์ ฤชุวรารักษ์. (2543). โครงการจัดสร้างฐานข้อมูลความหลากหลายทางชีวภาพของผีเสื้อในมหาวิทยาลัยขอนแก่น.

สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยขอนแก่น: ฝ่ายข้อมูลข่าวสารการพัฒนาสถาบันวิจัยและพัฒนามหาวิทยาลัยขอนแก่น มหาวิทยาลัยขอนแก่น. คณะ

วิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

ณัฐพงศ์ ขาววิสุทธิ์. (2563). ความหลากหลายของผีเสื้อกลางวัน (Superfamily Papilionoidea) ในหย่อมป่าในมหาวิทยาลัยขอนแก่น. โครงงานวิจัย. สาขาวิชา

วิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อม. คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

ประนอม จันทรโณทัย. (2553). ศึกษาพรรณไม้สวนร่มเกล้ากัลปพฤกษ์มหาวิทยาลัยขอนแก่น. โรงพิมพ์คลังนานาวิทยา.

สุทธิ มลิทอง. (ม.ป.ป.). ผีเสื้อกลางวันในมหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย (พิมพ์ครั้งที่ 1). บริษัท เชียงใหม่ ดอคคิวเมนทารี ดีไซน์ จำกัด.

สันติไมตรี ก้อนคำดี. (2548). การจำแนกวัชพืช. คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

สมาคมวิทยาการวิชาพืชแห่งประเทศไทย. (2545). วัชพืชสามัญภาคกลาง. ห้างหุ้นส่วนจำกัด ฟันนี่พับบลิชชิ่ง.

สิริกมล พลายงาม และนิศารัตน์ ตั้งไพโรจน์วงศ์. (2564). ความหลากชนิดของผีเสื้อกลางวันบริเวณห้วยหญ้าเครือและห้วยพรมแล้งในเขตอุทยานแห่งชาติน้ำ

หนาว จังหวัดเพชรบูรณ์. วารสารเกษตรศาสตร์และเทคโนโลยี, 2(3), 79-94.

สุรชัย มัจฉาชีพ. (2538). วัชพืชในประเทศไทย. สำนักพิมพ์แพร่วิทยา.

สุรชัย ชลดำรงกุล และชลธร ชำนาญคิด. (2541). การใช้ผีเสื้อกลางวันเป็นดัชนีความหลากหลายทางชีวภาพของอุทยานแห่งชาติน้ำหนาว. วารสารเทคโนโลยี

สุรนารี, 5, 147-161.

อลงกรณ์ ผาผง. (2551). ความหลากชนิดของผีเสื้อกลางวันในเขตมหาวิทยาลัยราชภัฎมหาสารคาม จังหวัดมหาสารคาม. รายงานวิจัย. สาขาชีววิทยา คณะ

วิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม.

โอฬาร ฤกษ์รุจิพิมล. (2551). ความหลากชนิดของผีเสื้อกลางวันในสวนรุกขชาติเขาพุทธทอง. งานวิจัย. สำนักบริหารพื้นที่อนุรักษ์ที่ 4 กรมอุทยานแห่งชาติสัตว์ป่า

และพันธุ์พืช.

Chaianunporn, T. & Khoosakunrat, S. (2018). Relationship between lemon emigrant butterfly Catopsilia pomona (Lepidoptera: Pieridae)

population dynamics and weather conditions in Khon Kaen Province, Thailand. Tropical Natural History, 18(2), 97–111.

Chaianunporn, K. & Chaianunporn, T. (2019). Effects of habitat types on butterfly communities (Lepidoptera, Papilionoidea) in

Chulabhorn Dam, Chaiyaphum Province, Thailand. Tropical Natural History, 19(2), 70–87.

Chaianunporn, K. & Chaianunporn, T. (2022). Comparison of butterfly communities between agroecosystems and dipterocarp forest in

Khon Kaen Province, Thailand. Agriculture and Natural Resources, 56(5), 925–934.

Chaianunporn, T. & Hovestadt, T. (2022). Emergence of spatially structured populations by area-concentrated search. Evolutionary

Ecology, 12, e9528. https://doi.org/10.1002/ece3.9528

Connell, J. H. (1978). Diversity in tropical rainforests and coral reefs. Science, 4335(199), 1302-1309.

Ek-Amnuay, P. (2012). Butterflies of Thailand. (2nd ed). Ammarin Printing and Publishing.

Honda, K. & Kato, Y. (2005). Butterfly Biology. University of Tokyo Press, Tokyo.

Jeratthitikul, E., Lewvanich, A., Butcher, B. A. & Lekprayoon, C. (2009). A Taxonomic Study of the Genus Eurema Hübner, [1819]

(Lepidoptera: Pieridae) in Thailand. Tropical Natural History, 9, 1–20.

Krebs, C. J. (1986). Ecological Methodology. Harper Collins Publishers.

Magurran, A. E. (2004). Measuring Biological Diversity. Blackwell Publishing.

Moilanen, A., & Hanski, I. (1998). Metapopulation dynamics: Effects of habitat quality and landscape structure. Ecology, 79, 2503–2515.

https://doi.org/10.1890/0012-9658(1998)079

Pollard, E. (1997). A method for assessing changes in the abundance of butterflies. Biological Conservation, 12(2), 115-134.

Pollard, E., Van-Swaay, C. A. M. & Yates, T. J. (1993). Changes in butterfly numbers in Britain and the Netherlands. Ecological

Entomology, 18, 93-94.

R Core Team. (2018). R: A Language and Environment for Statistical Computing. Vienna, Austria: R Foundation for Statistical Computing.

http://www.R-project.org/.Campus. Nota Lepidopterologica, 30(1), 179–88.

Ratiwiriyapong, P. (2004). Diversity of butterfly populations at Pha Kluai Mai-Haew Suwat waterfall trail, Khao Yai National Park,

Thailand. Thesis. Mahidol University.

Smallidge, J. P., Leopold, J. D. & Allen, M. C. (1996). Community characteristics and vegetation management of Karner blue butterfly

(Lycaeides melissa samuelis) habitats on rights-of-way in East-Central New York, USA. Journal of Applied Ecology, 33(6), 1405-1419.

Stilley, J. A. & Gabler, C. A. (2021). Effects of patch size, fragmentation, and invasive species on plant and lepidoptera communities in

Southern Texas. Insects, 12(9), 777. https://doi.org/10.3390/insects12090777

Tiple A. D., Khurad, A. M. & Dennis, R. H. L. (2007). Butterfly diversity in relation to a human-impact gradient on an Indian University