การศึกษาผลกระทบของกาว 5 ชนิดต่อการดูดซับ อัตราการแพร่ และการระเหยในผ้าที่ติดบนแผ่นอะลูมิเนียม

Main Article Content

ก้องนที วัฒนานุสิทธิ์
จุฬาลักษณ์ อินชนะ
อาทิตย์ คูณศรีสุข

บทคัดย่อ

      การศึกษานี้เป็นการศึกษาเชิงทดลองที่มีวัตถุประสงค์เพื่อหาชนิดของกาวที่เหมาะสมสำหรับการปรับปรุงการดูดซับ อัตราการแพร่และความสามารถในการระเหยน้ำของผ้าซึ่งช่วยยกระดับความสามารถในการทำความเย็นของเครื่องทำความเย็นแบบน้ำระเหย วิธีการศึกษาจะเปรียบเทียบกาว 5 ชนิด ที่ใช้ติดผ้าเข้ากับแผ่นอลูมิเนียม ประเมินการดูดซับและอัตราการแพร่ของน้ำในผ้าโดยการสังเกตพฤติกรรมของน้ำที่หยดลงบนผ้า ขณะที่ความสามารถในการระเหยประเมินจากความชื้นสัมบูรณ์ของอากาศที่ไหลผ่านผ้าเปียกที่ติดตั้งในชุดทดสอบ  เมื่อเปรียบเทียบอัตราการแพร่ของน้ำ, การระเหยของน้ำ และราคาต่อหน่วยมวลของกาว พบว่า กาว Draga เหมาะที่สุดที่จะใช้ติดผ้าเข้ากับอลูมิเนียม โดยชิ้นงานที่ใช้กาว Draga มีอัตราการแพร่ของน้ำมากกว่ากาว SikaFlex 740, Hot glue, และ SA เท่ากับ 5.64 เท่า, 7.36 เท่า, และ 11.52 เท่า ตามลำดับ  ขณะที่ความชื้นสัมบูรณ์ของอากาศที่ทางออกของชุดทดสอบเมื่อใช้กาว Draga เท่ากับ 16.91 g/kg ซึ่งมากกว่ากาว SikaFlex 740, Hot glue, และ SA เท่ากับ  22.17%, 22.46%, และ 26.70% ตามลำดับ  นอกจากนี้ กาว Draga มีราคาถูกกว่ากาวชนิดอื่นประมาณ 2 เท่า  ผลการศึกษานี้แสดงให้เห็นว่า การใช้กาว Draga สามารถเพิ่มอัตราการแพร่ของน้ำ การระเหยน้ำ และความสามารถในการทำความเย็นของเครื่องทำความเย็นแบบน้ำระเหยได้อย่างมีนัยสำคัญ

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

ก้องนที วัฒนานุสิทธิ์ และ อาทิตย์ คูณศรีสุข. (2566). การศึกษาเชิงทดลองของระบบทำความเย็นแบบน้ำระเหยโดยอ้อมชนิดอากาศไหลย้อนกลับ, การถ่ายเทพลังงานความร้อนและมวลในอุปกรณ์ด้านความร้อนและกระบวนการ ครั้งที่ 22. คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

AATCC 79. (2014). Absorbancy of textiles, AATCC technical manual. AATCC, Research Triangle Park.

ASHRAE. (2013). American society of heating refrigeration and air-conditioning Engineers, Inc. 1791Tullie Circle N.E.

Aumpai, N., & Koonsrisuk, A. (2020). An experimental investigation of an integrated system of split air conditioner and indirect evaporative cooler. Proceedings of the 19th conference on Energy, Heat and Mass Transfer in Thermal Equipment and Processes. Chanthaburi, Thailand.

Delfani, S., Esmaeelian, J., Pasdarshahri, H., & Karami, M. (2010). Energy saving potential of an indirect evaporative cooler as a pre- cooling unit for mechanical cooling systems in Iran. Energy and Buildings, 42(11), 2169-2176. doi.org/10.1016/j.enbuild.2010.07.009

Lertsatitthanakorn, C., Rerngwongwitaya, S., & Soponronnarit, S. (2006). Field experiments and economic evaluation of an evaporative cooling system in a silkworm rearing house. Biosystems Engineering, 93(2), 213-219.doi.org/10.1016/j.biosystemseng.2005.12.003

Li, A., Thu, K., Ismail, A. B., Shahzad, M. W., & Ng, K. C. (2016). Performance of adsorbent- embedded heat exchangers using binder- coating method. International journal of heat and mass transfer, 92, 149-157.doi.org/10.1016/j.ijheatmasstransfer.2015.08.097

Sengupta, S., Ghosh, P., & Mustafa, I. (2022). Properties of poly-vinyl alcohol bonded jute (corchorus olitorius) nonwoven fabric and its performance as disposable carry bag. Journal of Natural Fibers, 19(6), 2034-2052.doi.org/10.1080/15440478.2020.1798842

Xu, P., Ma, X., Zhao, X., & Fancey, K. S. (2016). Experimental investigation on performance of fabrics for indirect evaporative cooling applications. Building and Environment, 110, 104-114.doi.org/10.1016/j.buildenv.2016.10.003

Xu, P., Ma, X., Zhao, X., & Fancey, K. (2017). Experimental investigation of a super performance dew point air cooler. Applied Energy, 203, 761-777. doi.org/10.1016/j.apenergy.2017.06.095