การประเมินความหลากหลายของมันพื้นเมือง สกุล Dioscorea spp. ในจังหวัดน่านโดยใช้ผลผลิตและคุณค่าทางโภชนาการ

Main Article Content

บรรจง อูปแก้ว
อนุชา จันทรบูรณ์

บทคัดย่อ

     งานวิจัยนี้มีวัตถุ์ประสงค์เพื่อประเมินความหลากหลายของมันพื้นเมืองสกุล Dioscorea spp. โดยใช้ผลผลิตและคุณค่าทางโภชนาการในจังหวัดน่าน ในการยกระดับและพัฒนาศักยภาพเพิ่มมูลค่ารวมถึงการเป็นแหล่งอาหารทางเลือกสู่การผลิตเชิงพาณิชย์ และนำมาใช้เป็นข้อมูลสนับสนุนการวิจัยในระดับที่สูงขึ้นไป โดยทำการศึกษามันพื้นเมือง จำนวน 30 พันธุ์ ในพื้นที่มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา น่าน อำเภอภูเพ่ยง จังหวัดน่าน โดยศึกษาพันธุ์มันพื้นเมืองที่เหมาะสมในการผลิตมันพื้นเมืองที่หายากในเชิงปริมาณและคุณภาพ สำหรับเป็นแหล่งผลิตอาหารทดแทนสำหรับปลูกในพื้นที่จังหวัดน่าน ซึ่งเป็นมันพื้นเมืองที่ได้จากการเก็บตัวอย่างจากการสำรวจมันพื้นเมืองในพื้นที่จังหวัดน่าน แล้วนำมาตรวจสอบระบุชนิดมันพื้นเมืองและชื่อวิทยาศาสตร์จากตัวอย่างที่ได้จากการสำรวจพบ ด้วยการอ้างอิงงานวิจัยและตรวจสอบจากเอกสารทางอนุ์กรมวิธาน โดยการทดลองปลูกในแปลงทดสอบผลผลิตใช้แผนทดลองแบบสุ่มภายในบล็อกสมบูรณ์ 3 ซ้ำ 30 พันธุ์ ประกอบด้วย มันเจ้า มันข้าว มันเลือด มันซา มันเหยือก มันหมี มันเหน็บ มันแซง มันจาวพร้าว มันอ้อน มันกล่ำ มันเลือดนก มันอ้อ มันปลา มันหวาย มันแกลบ มันหูช้าง มันพร้าวยาว มันมือเสือ มันเหลี่ยม มันออน มันกู้ มันเสา มันแปลง มันกองข้าว มันเห็บ มันกองขี้ มันหัวช้าง มันเหลือง และมันพร้าวปู้ ผลการทดลองพบว่าพันธุ์มันพื้นเมืองทั้ง 30 พันธุ์ ให้ผลผลิตต่างกันอย่างมีนัยสำคัญยิ่งทางสถิติ (P < 0.01) โดยมันกล่ำและมันเลือดเป็นพันธุ์ที่มีแนวโน้มให้ผลผลิตสูงที่สุดและผลผลิตมีคุณภาพดีเหมาะสำหรับการปลูกในพื้นที่จังหวัดน่าน โดยให้ผลผลิต 6,638 และ 6,517 กิโลกรัมต่อไร่ และมีสหสัมพันธ์ทางบวกระหว่างผลผลิตกับน้ำหนักหัวสดและน้ำหนักหัวแห้ง มีค่า 0.99 และ 0.97 ตามลำดับ ผลการศึกษาในครั้งนี้สามารถนำไปใช้ในการเพิ่มประสิทธิภาพผลผลิตและเป็นข้อมูลหนุนเสริมการใช้ประโยชน์จากความหลากหลายของมันพื้นเมืองเพื่อเป็นพืชอาหารทางเลือกเพื่อสุขภาพต่อไป

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

บรรจง อูปแก้ว, พิกุล สุรพรไพบูลย์, อภิรยา เทพสุคนธ์, สุธาทิพย์ ไชยวงศ์,นลัทพร คูหา และสุภัควดี พิมพ์มาศ. (2564). สำรวจเก็บรวบรวมพันธุกรรมมันพื้นเมืองในเขตภาคเหนือเพื่อการอนุรักษ์และใช้ประโยชน์ ปีที่ 1. รายงานโครงการวิจัย ภายใต้โครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา.

พิชัย สุรพรไพบูลย์. (2544). เอกสารประกอบการสอนวิชาหลักการปรับปรุงพันธุ์พืช. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยี ราชมงคล น่าน.

รักชัย คุรุบรรเจิดจิต. (2558). การทดสอบพันธุ์มันเทศประกอบการรับรองพันธุ์. รายงานโครงการวิจัย กรมวิชาการเกษตร ประจำปี 2558.

รักชัย คุรุบรรเจิดจิต, ณรงค์ แดงเปี่ยม, กำพล เมืองโคมพัส,เพ็ญจันทร์ สุทธานุกูล, ทัศนัย เพิ่มสัตย์ และ พรรณผกา รัตนโกศล. (2558). การปรับปรุงพันธ์มันเทศเพื่อการบริโภคสด. กรมวิชาการเกษตร.

รงรอง หอมหวล, มณฑา วงศ์มณีโรจน์, สุลักษณ์ แจ่มจํารัส, สมนึก พรมแดง, วุฒิชัย ทองดอนแอ, ประเทือง ดอนสมไพร, รัตนา เอการัมย์ และสนธิชัย จันทร์เปรม. (2560). การขยายพันธุ์มันพื้นบ้านสกุล Dioscorea เพื่อเป็นแหล่งอาหารทดแทน. วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, 6(1), 127-137.

รงรอง หอมหวล. (2560). มันเลือด มันพื้นบ้าน มากประโยชน์. เกษตรอภิรมย์, 3(18), 36-38.

ละอองศรี ศิริเกสร, สุชาดา บุญเลิศนิรันดร์ และวชิรญา เหลียวตระกูล. (2561). การเปรียบเทียบการเจริญเติบโตและผลผลิตของมันเทศ 6 พันธุ์. วารสารวิจัยมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย, 10(3), 411-423.

สิทธิโชค ศรีโช. (2022). Local yam. https://www. greenery.org/g101-thai-dioscorea/.

สมนึก พรมแดง, รงรอง หอมหวล, มณฑา วงศ์มณีโรจน์, รัตนา เอการัมย์ และสุลักษณ์ แจ่มจำรัส. (2561). สารสำคัญทางโภชนาการของมันเลือด. วารสารวิชาการเกษตรศาสตร์กำแพงแสน สายวิทยาศาสตร์, 1(1), 19-27.

โอรส รักชาติ. (2548). สมบัติเคมีฟิสิกส์ของสตาร์ชจากพืชหัวในสกุล Dioscorea. บางชนิดที่พบในประเทศไทย [ปริญญาวิทยาศาสตรดุษฎีบัณฑิต, เทคโนโลยีชีวภาพ]. มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

อำนวย อรรถรังรอง, สุภาวดี สมภาค, ดรุณี สมณะ และ ทิพย์ดรุณี สิทธินาม. (2558). การเปรียบเทียบพันธุ์ มันเทศลูกผสมเนื้อสีส้ม (ชุดที่ 2). รายงานโครงการวิจัย กรมวิชาการเกษตร ประจำปี 2558.

Anjali, K & Kathi, J. (1999). Wild Yam (Dioscoreaceae). Journal of Herbal Pharmacotherapy, 3(4), 77-91

AOAC. (2000). Official method of analysis. The Association of Official Analytical Chemists Inc.

Darkwa, K., Olasanmi, B., Asiedu, R. & Asfaw, A. (2019). Review of empirical and emerging breeding methods and tools for yam (Dioscorea spp.) improvement: Status and prospects. Journal Plant Breeding, 139 (2), 474-497.

Gomez, K.A. & A.A. Gomez. (1984). Statistical procedures for agricultural research. John Wiley and Sons.

Lazze, M.C., Savio, M., Pizzala, R., Cazzalini, O., Perucca, P., Scovassi, A.I., Stivala, L.A. & Bianchi, L. (2004). Anthocyanins induce cell cycle perturbations and apoptosis in different human celllines. Journal Carcinogenesis, 25 (8), 1427-1433.

Ngo ngwe, M. F. S., Omokolo, N. D. & Joly, S. (2015). Evolution and phylogenetic diversity of yam species (Dioscorea spp.): implication for conservation and agricultural practices. PLoS ONE,10(12), e0145364.

Tamiru, M., Becker, C. H. & Maass, L. B. (2008). Diversity, distribution and management of yam landraces (Dioscorea spp.) in Southern Ethiopia. Journal of the Science of Food and Agriculture, 88(10), 1675-1685.

Santisuk, T. & K. Larsen. (2009). Flora of Thailand. The Forest Herbarium, National Park, Wildlife and Plant Conservation Department.

Wilkin, P. & Thapyai, C. (2009). Dioscoreaceae. In Santisuk T. & Larsen K., eds. Flora of Thailand. Prachachon.

Wu, W. H., Chung, C. J., Liu, L. Y., Jou, H. J. & Wang, T. A. (2005). Estrogenic effect of yam ingestion in healthy postmenopausal women. Journal of the American College of Nutrition, 24(4), 235-243.

Wu, G. Z., Chung, W, Nitin, M., Bao, Q. Z., Chen, L. S., & Tao, M. Z. (2016). Characterizing diversity based on nutritional and bioactive compositions of yam germplasm (Dioscorea spp.) commonly cultivated in China. Journal of Food and Drug Analysis, 24 (2), 367-375.