ความหลากหลายของพรรณไม้ในป่าชุมชนผาดำ อำเภอนาด้วง จังหวัดเลย
Main Article Content
บทคัดย่อ
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความหลากหลายของพรรณไม้ในพื้นที่ป่าชุมชนผาดำ อำเภอนาด้วง จังหวัดเลย โดยวิธีการวางแปลงตัวอย่างแบบสี่เหลี่ยมขนาด 20x20 เมตร สำหรับพรรณไม้ต้น และแปลงขนาด 5x5 เมตร สำหรับพรรณไม้พื้นล่าง จำนวนทั้งหมด 14 แปลง ผลการศึกษาพบพรรณไม้ทั้งหมด 29 วงศ์ 41 สกุล 45 ชนิด วงศ์ที่พบมากที่สุดคือวงศ์ Rubiaceaea จำนวน 7 ชนิด รองลงมีคือวงศ์ Dipterocarpaceae จำนวน 4 ชนิด จากการวิเคราะห์ข้อมูลพบว่า กลุ่มพรรณไม้ต้นที่มีค่าดัชนีความสำคัญ (IVI) สูงสุดคือ เต็ง (Shorea obtusa Wall. ex Blume) มีค่าเท่ากับ 150.160 รองลงมาคือ เหียง (Dipterocarpus obtusifolius Teijsm.ex Miq.) มีค่าเท่ากับ 43.442 ส่วนไม้พื้นล่างที่มีค่าดัชนีความสำคัญ (IVI) สูงสุดคือเพ็ก (Vietnamosasa pusilla (A.Chev. & A.Camus) T.Q.Nguyen) มีค่าเท่ากับ 52.709 รองลงมาคือ หญ้านิ้วหนู (Fimbristylis dichotoma (L.) Vahl) มีค่าเท่ากับ 13.881 ค่าดัชนีความหลากหลายของชนิดพันธุ์ (H’) ไม้ต้นและไม้พื้นล่างมีค่าเท่ากับ 3.034 และ 2.645 ตามลำดับ ค่าความสม่ำเสมอในการกระจายตัว (J) มีค่าเท่ากับ 0.996 และ 0.832 และค่าความหลากหลายชนิดพันธุ์ (D) มีค่าเท่ากับ 7.531 และ 7.454 ตามลำดับ นอกจากนี้ยังพบพืชหายากในประเทศไทยจำนวน 1 ชนิด ได้แก่ คำมอกหลวง (Gardenia sootepensis Hutch.) และพืชหายากของโลก (Rare) จำนวน 1 ชนิด คือ เหมือดคน (Scleropyrum pentandrum (Dennst.) Mabb.)
Article Details
References
กรมป่าไม้ สำนักแผนงานและสารสนเทศ. (2564). ข้อมูลถิติกรมป่าไม้. สืบค้นเมื่อ 17 กรกฎาคม 2566, https://forestinfo.forest.go.th/Content/
file/stat2564/Binder%2064(1).pdf.
ก่องกานดา ชยามฤต. (2548). ลักษณะประจำวงศ์พรรณไม้.กรุงเทพฯ : สำนักงานหอพรรณไม้ สำนักวิจัยการอนุรักษ์ป่าไม้และพันธุ์พืช กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช.
ก่องกานดา ชยามฤต. (2550). ลักษณะประจำวงศ์พรรณไม้ 2. กรุงเทพฯ: สำนักงานหอพรรณไม้ สำนักวิจัยการอนุรักษ์ป่าไม้และพันธุ์พืช กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช.
ก่องกานดา ชยามฤต. (2551). ลักษณะประจำวงศ์พรรณไม้ 3. กรุงเทพฯ : สำนักงานหอพรรณไม้ สำนักวิจัยการอนุรักษ์ป่าไม้และพันธุ์พืช กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช.
กฤตวิชญ์ สุขอึ้ง, พรรณิภา วงค์ชัย และจุฬาลักษณ์ ลาเกิด. (2562). การศึกษาแหล่งพืชสมุนไพรในป่าพรุนํ้าจืดของอุทยานแห่งชาติภูซาง จังหวัดพะเยา. วารสารหน่วยวิจัยวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และสิ่งแวดล้อมเพื่อการเรียนรู้. 10(2), 263-271.
คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี. (2565). ฐานข้อมูลยาและสมุนไพร. สืบค้นเมื่อ 25 ตุลาคม 2566. https://phar.ubu.ac.th/main/database.
ดอกรัก มารอด. (2554). เทคนิคการสุ่มตัวอย่างและการวิเคราะห์สังคมพืช. กรุงเทพฯ: คณะวนศาสตร์มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
เต็ม สมิตินันท์. (2557). ส่วนพฤกษศาสตร์ป่าไม้ สำนักวิชาการป่าไม้. ชื่อพรรณไม้แห่งประเทศไทย (Thai Plant Names) ฉบับแก้ไขเพิ่มเติม พ.ศ. 2557. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ: ประชาชนจำกัด.
เทียมหทัย ชูพันธ์. (2562a). ความหลากหลายของพรรณไม้ในป่าชุมชนบ้านบัลลังก์ อำเภอโนนไทย จังหวัดนครราชสีมา. วารสารวิทยาศาสตร์ วิศวกรรมศาสตร์ และเทคโนโลยี. 1(1). 1-10.
เทียมหทัย ชูพันธ์. (2562b). พืชมีท่อลำเลียงในวนอุทยานไม้กลายเป็นหิน อำเภอบ้านตาก จังหวัดตาก. วารสารวิทยาศาสตร์บูรพา. 24(1), 170-189.
เทียมหทัย ชูพันธ์. (2564). พรรณพืชในป่าชุมชนภูประดู่เฉลิมพระเกียรติ อำเภอครบุรี จังหวัดนครราชสีมา. วารสารวิทยาศาสตร์ มข. 47(4), 673-690.
เทียมหทัย ชูพันธ์ และ วิไลลักษ์ ซูมสไตอินน์. (2557). ความหลากหลายของพรรณไม้ในวนอุทยานภูผาล้อม อําเภอนาด้วง จังหวัดเลย. วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, 34(4), 226-341.
บุญเลี้ยง สุพิมพ์, นรุวรรณ อยู่สำราญ, ปิยะพงษ์ ชุมศรี, มธุรส ชลามาตย์ และ อรทัย ปานเพชร. (2566). วารสารวิทยาศาสตร์บูรพา. 28(1), 1-19.
ราชันย์ ภู่มา. (2551). พืชหายากของประเทศไทย. กรุงเทพฯ: สำนักงานหอพรรณไม้ สำนักวิจัยการอนุรักษ์ป่าไม้พันธุ์พืชกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช.
ศรัญญา ก่อพันธ์, ธวัดชัย ธานี และสมบัติ อัปมระกา. (2562). ความหลากชนิดและการใช้ประโยชน์ของพืชสมุนไพรของกลุ่มชาติพันธุ์กุยในพื้นที่ป่าชุมชนโคกคูขาด บ้านคูสี่แจ อำเภอไพรบึง จังหวัดศรีสะเกษ. วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยมหาสารคาม. 38(3), 247-262.
สมหญิง บู่แก้ว, เพ็ญแข ธรรมเสนานุภาพ และ ธวัดชัย ธานี. (2552). ความหลากชนิดของพรรณไม้และการใช้ผลผลิตจากป่า ในป่าชุมชนโคกใหญ่ อำเภอวาปีปทุม จังหวัดมหาสารคาม. วารสารสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรธรรมชาติ. 7(1): 36-50.
สุฑารัตน์ คนขยัน, แววตา แสงศิริ และหัดฐญา ทิพย์
สนเท่ห์. (2562). พืชสมุนไพรในภูแม่นางม่อน เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าภูสีฐาน จังหวัดมุกดาหาร. วารสารวิทยาศาสตร์บูรพา. 24(2), 500-516.
สุรชาติ สินวรณ์ และณัฐบดี วิริยาวัฒน์. (2557). ความ
หลากหลายของสมุนไพรและการใช้ประโยชน์ในพื้นที่เขาพระ อำเภอเดิมบางนางบวช จังหวัดสุพรรณบุรี. วารสารวิจัย มสด สาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. 7(1), 1-19.
เอื้อมพร จันทร์สองดวง ดาริกา โพธิ์ศรี และอรอนงค์
น่าบัณฑิต. (2561). ความหลากหลายทางชีวภาพ
ระดับชนิดและการใช้ประโยชน์ของไม้ต้นในเขต
ป่าชุมชนโคกกุง ตำบลเกาะแก้ว อำเภอเสลภูมิ
จังหวัดร้อยเอ็ด. วารสารวิทยาศาสตร์และ
เทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี, 6(1),
-16.
เอื้อมพร จันทร์สองดวง, กัญญาพัชร ทะนะเวช, สุวรรณา
ลำใย, วิภาพร หลวงเทพ, มาลิตา คำมณี และน
ธภร ไชยธรรม. (2563). ความหลากหลาย
ระดับชนิดของพืชสมุนไพรในอำเภอสุวรรณภูมิ
จังหวัดร้อยเอ็ด. วารสารเกษตรศาสตร์และ
เทคโนโลยี. 1(2), 1-26.
Forest Herbarium. (2017). Threatened plants in
Thailand. Bangkok: Department of National
Parks, Wildlife and Plant Conservation.
Krebs, C.J. (1985). Ecology : The Experimental
Analysis of Distribution and Abundance. 3 rd ed. New York: Harper and Row.