การออกแบบและพัฒนาเครื่องฟักไข่อัตโนมัติสำหรับสายพันธุ์ไก่แจ้บ้านวังนาคพื้นที่จังหวัดนครศรีธรรมราช ภาคใต้ของประเทศไทย

Main Article Content

รวิศ คำหาญพล
ศักดิ์รพี ขุนเพ็ชร
วิชิต มาลาเวช
ชัญญาภัค ไชยพรรณ
กรีฑา แก้วคงธรรม

บทคัดย่อ

     การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลการออกแบบเครื่องฟักไข่อัตโนมัติสำหรับสายพันธุ์ไก่แจ้บ้านวังนาคตำบลกะหรอ อำเภอนบพิตำ จังหวัดนครศรีธรรมราช เพื่อควบคุมอุณหภูมิและความชื้นสัมพัทธ์ในการฟักไข่ไก่แจ้แบบกลับไข่อัตโนมัติ เพื่อเพิ่มอัตราการเกิดของไก่ในการฟักไข่แจ้บ้านวังนาคในระยะเวลา 21 วัน โดยใช้การประมวลผลข้อมูลด้วยไมโครคอนโทรลเลอร์ Arduino UNO และพัฒนาซอฟต์แวร์การควบคุมบนโปรแกรม LabVIEW โดยใช้ทฤษฎีของฟัซซีลอจิกในการตัดสินใจการควบคุม ซึ่งกฎที่ทำการออกแบบทั้งหมด 9 กฎ การสื่อสารกับอุปกรณ์อินพุตและเอาต์พุตทำการพัฒนา Graphic User Interface (GUI) เพื่อแสดงผลอุณหภูมิและความชื้นสัมพัทธ์ในการฟักไข่ไก่แบบเรียลไทม์สำหรับผู้ใช้งานสามารถสังเกตการได้อย่างสะดวก โดยเครื่องฟักไข่อัตโนมัติมีขนาด 30x40x120 เซนติเมตร (กว้างxยาวxสูง) จากผลการทดลองการควบคุมอุณหภูมิและความชื้นสัมพัทธ์ภายในเครื่องฟักไข่อัตโนมัติ พบว่าค่าเฉลี่ยเท่ากับ 36.86 °C และ 65.16%ตามลำดับ และเมื่อนำไปฟักไข่ไก่แจ้ของกลุ่มพัฒนาสายพันธุ์ไก่แจ้บ้านวังนาคเพื่อวิเคราะห์อัตราการตายและอัตราการฟักของไข่ไก่แจ้พบว่าค่าเฉลี่ยของเปอร์เซ็นต์ไข่มีเชื้อที่ 7 วัน เท่ากับ 96.67% เปอร์เซ็นต์ไข่ไม่มีมีเชื้อที่ 7 วัน เท่ากับ 3.33% เปอร์เซ็นต์ไข่เชื้อตายที่ 7 วัน และ 18 วัน เท่ากับ1.11% และ 3.45% ตามลำดับ เปอร์เซ็นต์ไข่ตายโคมค่อนข้างน้อย เท่ากับ 1.11% เปอร์เซ็นต์การฟักออกจากไข่มีเชื้อ 95.44% และเปอร์เซ็นต์การฟักออกจากไข่เข้าฟักทั้งหมด 92.22% โดยภาพรวมจากผลการทดลองการทำงานของเครื่องฟักไข่อัตโนมัติสามารถตอบสนองความต้องการของชุมชนสำหรับการขยายพันธุ์ไก่แจ้สวยงามบ้านวังนาคและเพิ่มอัตราการรอดของลูกไก่แจ้ให้เพียงพอต่อความต้องการซื้อของกลุ่มคนที่นิยมไก่แจ้ รวมถึงการเพิ่มจำนวนรอบการฟักไข่ไก่แจ้ให้มากขึ้น

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

ณปภัช ช่วยชูหนู ประพจน์ มลิวัลย์ และจรีวรรณ จันทร์ทอง. (2563). การเพิ่มศักยภาพการขยายพันธุ์ไก่แจ้ไทย:ผลของน้ำยาเจือจางน้ำเชื้อต่อคุณภาพน้ำเชื้อและอัตราการผสมติดของไก่แจ้ไทย. รายงานการวิจัย คณะเกษตรศาสตร์: มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย.

นฤมล. (2018). ภูมิปัญญาท้องถิ่นและองค์ความรู้ของเกษตรกรในการเลี้ยงไก่พื้นเมือง.วารสารวิชาการ มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์. 10(2), 27–30.

พยุง มีสัจ.(2010). ระบบฟัซซีและโครงข่ายประสาทเทียม. เอกสารคำสอนวิชา 701801 คณะเทคโนโลยีสารสนเทศ. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ

Asma Luemasueni, L. S. and S. K. (2017). Research and Design an Incubator to Control the Temperature of the Egg Back Automatically. 2(1).

Gayathri, R., Riyaz, N., Karthik, S. S., & Kumar, P. U. (2021). Compact Egg Incubator. Irjmets.Com, 03, 1917–1920.

Ikpeseni, S. C., Owebor, K., Owamah, H. I., Sada, S. O., Dibie, E. C., & Odeh, O. E. (2022). Design and Fabrication of a Local Solar-Powered Poultry Egg Incubator for a Low-Income Country. Journal of The Institution of Engineers (India): Series B. https://doi.org/10.1007/s40031-021-00701-7

I. Sangole and P. Ardak. (2021). Investigation of Constant Temperature Keeping Process To Hatch Hen Egg in an Incubator Unit : a Review. 13(1), 6–10.

Lumchanao, W., & Potprarinya, N. (2018). Development of Egg Incubator for Detecting Embryos in Chicken Eggs Using Digital Image Processing Techniques. SWU Engineering Journal, 13, 151–165.

Natasa POPOVIC, B. P. (2021). A CONTROL SYSTEM FOR REMOTE MONITORING AND CONTROL OF THE TEMPERATURE IN CHICKEN EGGS Nataša POPOVIĆ * Božidar POPOVIĆ. 6(2), 28–34.

Poolwan, J., Sripan, B., & Kingthong, S. (2021) Development of automatic temperature and humidity control systems for eggs incubators with Internet of thing technology. 9(2), 225–236.

Purwanti, S., Febriani, A., Mardeni, M., & Irawan, Y. (2021). Temperature Monitoring System for Egg Incubators Using Raspberry Pi3 Based on Internet of Things (IoT). Journal of Robotics and Control (JRC), 2(5). https://doi.org/10.18196/jrc.25105

Tolentino, L. K. S., Justine Enrico, E. G., Listanco, R. L. M., Anthony Ramirez, M. M., Renon, T. L. U., & Rikko Samson, M. B. (2019). Development of Fertile Egg Detection and Incubation System Using Image Processing and Automatic Candling. IEEE Region 10 Annual International Conference, Proceedings/TENCON, 2018-Octob(October), 701–706

Yadav, B. K., Pokhrel, N., Khatiwada, D., Khanal, M., Bajracharya, T., & Dhakal, R. (2021). Design, Fabrication, and Performance Analysis of an Automatic Horizontal Egg Incubator. Journal of the Institute of Engineering, 16(1), 77–85. https://doi.org/10.3126/jie.v16i1.36557