การศึกษาอัตราส่วนที่เหมาะสมในการผลิตกระถางต้นไม้ชีวภาพจากเศษเหง้ามันสำปะหลังและชานอ้อย

Main Article Content

กานต์ วิรุณพันธ์
เกียรติชัย แซ่เท้า
ศุภวิชญ์ กวินจรณชัย
พวงทอง ทาเอื้อ
สุรัสวดี ปลิโพธ

บทคัดย่อ

     งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาอัตราส่วนผสมของเศษเหง้ามันสำปะหลังผสมชานอ้อยต่อสมบัติทางกลและทางกายภาพของผลิตภัณฑ์กระถางต้นไม้ โดยนำเศษเหง้ามันสำปะหลังและชานอ้อยมาย่อยให้เป็นผงและแยกดัวยตระแกรงเบอร์ 80 เมช จากนั้นนำมาผสมกันที่อัตราส่วน 90:10, 80:20, 70:30, 60:40, 50:50, 40:60, 30:70, 20:80 และ 10:90 โดยน้ำหนัก โดยใช้แป้งเปียกเป็นตัวประสาน นำส่วนผสมที่ได้ไปอัดขึ้นรูปด้วยเครื่องอัดไฮดรอลิกแรงอัด 10 ตัน เป็นเวลา 5 นาที นำไปอบที่ 60 องศาเซลเซียส เป็นเวลา 6 ชั่วโมง และนำกระถางที่ได้ไปทดสอบค่าความเค้นแรงกด อัตราการขยายตัวเมื่อสัมผัสความชื้น และการเสียรูปทรงจากการใช้งานจริง ผลการทดลองพบว่าเศษเหง้ามันสำปะหลังและชานอ้อยสามารถนำมาขึ้นรูปเป็นกระถางต้นไม้ได้ และอัตราส่วนผสมที่เหมาะสมระหว่างเศษเหง้ามันสำปะหลังและชานอ้อยที่ส่งผลต่อสมบัติทางกลและกายภาพที่ดีที่สุด คือ อัตราส่วนผสมที่ 10:90 โดยน้ำหนัก ซึ่งมีค่าความเค้นแรงกด 0.19±2.27 นิวตันต่อตารางมิลลิเมตร มีอัตราการขยายตัวเมื่อสัมผัสความชื้นร้อยละ 7.97 และการเสียรูปทรงในการใช้งานที่ระยะเวลา 14 วัน น้อยที่สุด เนื่องจากคุณสมบัติของชานอ้อยมีเส้นใยเหนียวจึงช่วยในการยึดเกาะโครงสร้างของกระถางต้นไม้ได้ดี

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

จันทิมา ชั่งสิริพร, พฤกระยา พงศ์ยี่หล้า และนิรณา ชัยฤกษ์. (2565). การผลิตบรรจุภัณฑ์เยื่อกระดาษขึ้นรูปจากฟางข้าวและชานอ้อยโดยใช้ไคโตซานเคลือบผิว. วารสารวิทยาศาสตร์บูรพา, 27(1). 20-30.

นิพนธ์ ตันไพบูลย์กุล, ธรพร บุศย์น้ำเพชร, กนกวรรณ ศุกรนันทน์ และพิมผกา โพธิลังกา. (2565). กระถางชีวภาพจากผักตบชวาโดยใช้แป้งมันสำปะหลังและกากมันสำปะหังเป็นตัวประสาน. วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี หัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ, 8(1). 56-69.

นุชนาฏ นิลออ และกนกรัตน์ นาวีการ. (2560). การผลิตกระถางเพาะชำต้นจากวัสดุเหลือใช้อุตสาหกรรมปาล์มน้ำมัน. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย.

สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร. (2566, May). ข้อมูลพื้นฐานจังหวัดตาก. https://www.opsmoac.go.th/tak-dwl-files-441591791909/

อุกฤษ อุณหเลขกะ. (2565). การส่งเสริมเกษตรกรเก็บซากวัสดุทางการเกษตรผ่านแอปพลิเคชัน รีคัลท์. สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช). https://Khonthai4-0.net/system/resource/file/kpfgo_content_attach_file_320_1.pdf.

Chungsiriporn, J., Pongyeela, P., & Chairerk, N. (2022). Production of Molded Pulp Packaging from Rice Straw and Bagasse Coating by Chitosan. Burapha Science Jornal, 27(1). 20-30.

Kaewmanee, J. (2021). The production of biodegradable flowerpot from sludge of rubber factory with waste from mushroom culture and palm bunches. ASEAN Journal of Scientific and Technological Reports, 24(1). 84-93.

Kaewchuea, P., & Kiatnukul, W. (2011). Project for the development of plant pots from sawdust. The 8th National Kasetsart University Kamphaeng Saen Conference, December 8-9, 2011, Kasetsart University Kamphaeng Saen Campus, Nakhon Prathom: Kasetsart University.

Nunkong, W., & Saeui, Nattaporn. (2020). Possibility of growing material from bagasse sawdust and eggshell. The 12th NPRU National Academic Conference, Nakhon Pathom Rajabhat University.

Piyang, T., Sagulsawasdipan, K., & Chaichan, W. (2018). Production plant pot from palm oil sludge mixed mushroom cultivation waste. Faculty of science and fisheries technology, Rajamengals University of Technology Srivijaya.

Poonpipat, C. (2021). Development of natural rubber composites filled with cellulose fiber from sugarcane bagasse [Master dissertation, Chulalongkorn University].

Sanguansuk, P. (2009). Development of molded-pulp pot packaging from palm oil sludge and activated sludge cake for plant seedlings [Master dissertation, Kasetsart University].

Thammachot, N., Muksan, C., & Sakmas, C. (2019). Flower pot from empty fruit bunch fiber of oil palm and wood dust. Rajamengals University of Technology Srivijaya.

Wisetsin, W. (2010). Development of Nursery pot products from paper wastes in hat yai city municipality [Master dissertation, Prince of Songkla University].