โครงสร้างของรังไข่และกระบวนการพัฒนาเซลล์ไข่ในหมึกกะตอย Loliolus (Loliolus) affinis Steenstrup, 1856 จากบริเวณแม่น้ำปราณบุรี ประเทศไทย
Main Article Content
บทคัดย่อ
การศึกษาทางด้านมิญชวิทยาในรังไข่ของหมึกส่วนใหญ่ล้วนเป็นรายงานวิชาการที่ปรากฏอยู่ในต่างประเทศทั้งสิ้นซึ่งตรงกันข้ามกับข้อมูลข้างต้นในประเทศไทยกลับมีน้อยมาก ในการศึกษาครั้งนี้จึงสนใจศึกษาโครงสร้างของรังไข่ขั้นเจริญเต็มที่และกระบวนการพัฒนาของเซลล์ไข่ในหมึกกะตอย Loliolus (Loliolus) affinis Steenstrup, 1856 จากบริเวณแม่น้ำปราณบุรีประเทศไทย ด้วยเทคนิคด้านมิญชวิทยาและมิญชเคมี ก่อนที่จะมีการศึกษาวงจรการสืบพันธุ์ (Reproductive cycle) และจุลกายพยาธิวิทยา (Histopathology) ในอนาคตต่อไป ผลการศึกษาแสดงให้เห็นว่ารังไข่ของหมึกกะตอยเป็นแบบไข่สุกไม่พร้อมกัน ซึ่งภายในรังไข่ประกอบด้วยเซลล์ไข่ในระยะต่าง ๆ เมื่อพิจารณาภายใต้กล้องจุลทรรศน์แบบใช้แสงพบว่ารังไข่ถูกห่อหุ้มด้วยทูนิกา แอลบูจิเนีย ที่กระบวนการพัฒนาของเซลล์ไข่แบ่งเป็น 8 ระยะ คือ เซลล์ไข่ระยะที่ 1, เซลล์ไข่ระยะที่ 2, เซลล์ไข่ระยะที่ 3 เซลล์ไข่ระยะที่ 4 เซลล์ไข่ระยะที่ 5 เซลล์ไข่ระยะที่ 6 เซลล์ไข่ระยะที่ 7 และเซลล์ไข่ระยะที่ 8 ซึ่งคล้ายคลึงกับกลุ่มหมึกทั่วไป
Article Details
บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการเผยแพร่ในวารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มรย. นี้ ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มรย. หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่งส่วนใดไปเผยแพร่ต่อหรือกระทำการใดๆ จะต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษรจากวารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มรย. ก่อนเท่านั้น
References
2. Baeg, G. H., Sakurai, Y. & Shimazaki, K. (1993). Maturation processes in female Loligo bleekeri Keferstein (Mollusca: Cephalopoda). Veliger, 36, 228–235.
3. Knipe, J. H. & Beeman, R. D. (1978). Histological observations on oogenesis in Loligo opalescens. Californian Fish and Game Bulletin, 169, 23–33.
4. Laptikhovsky, V. V. & Arkhipkin, A. I. (2001). Oogenesis and gonad development in the cold water Loliginid squid Loligo Gahi (Cephalopoda: Myopsida) on the Falkland Shelf. Journal of Molluscan Studies, 67(4), 475-482.
5. Lum-Kong, A. (1993). Oogenesis, fecundity and pattern of spawning in Loligo forbesi (Cephalopoda: Loliginidae). Malacological Review, 26, 81-88.
6. Presnell, J. K. & Schreibman, M. P. (1997). Humason’s Animal Tissue Techniques. (5 th ed.). USA: Johns Hopkins University Press.
7. Sauer, W. H. H. & Lipinski, M. R. (1990). Histological validation of morphological stages of sexual maturity in chokker squid Loligo vulgaris reynaudii D’Orb. (Cephalopoda: Loliginidae). South African Journal of Marine Science, 9, 189-200.
8. Selman, K. & Aenold, J. M. (1977). An ultrastructure and cytochemical analysis of oogenesis in the squid, Loligo pealei. Journal of Morphology, 152, 381-400.
9. Sirinupong, P. (2012). Reproductive biology and distribution of neuropeptide APGWamide in the brain and reproductive organs of pygmy squid, Idiosepius pygmaeus (Steenstrup. 1881). Ph.D Thesis, Department of Biology, Faculty of Science, Prince of Songkla University, Thailand.
10. Suvarna, K. S., Layton, C. & Bancroft, J. D. (2013). Bancroft’s Theory and Practice of Histological Techniques. (7 th ed.). Canada: Elsevier.
11. Tait, R. W. (1986). Aspects physiologiques de la senescence post reproductive chez Octopus vulgaris. Ph.D Thesis, University of Paris, France.
12. Wang, W., Dong, G., Yang, J., Zheng, X., Wei, X. & Sun, G. (2015). The development process and seasonal changes of the gonad in Octopus ocellatus Gray off the coast of Qingdao, Northeast China. Fisheries Science, 81, 309-319.