ชนิดของแมลงที่พบในแปลงมันสำปะหลังในเขตพื้นที่อำาเภอทองแสนขัน จังหวัดอุตรดิตถ์

Main Article Content

พัทธเมธา คงเจริญ
เกียรติศักดิ์ โพธิ์นาค
สราวุติ สิทธิกุล
สิริวดี พรหมน้อย
พิสิษฐ์ พูลประเสริฐ

บทคัดย่อ

สำรวจแมลงในแปลงปลูกมันสำาปะหลังจากพื้นที่อำเภอทองแสนขัน จังหวัดอุตรดิตถ์ ตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ ถึงเดือนมิถุนายน 2560 โดยใช้กับดักมุ้ง สวิงโฉบ และการเก็บด้วยมือ พบแมลงทั้งสิ้น 66 ชนิด 41 วงศ์ ใน 9 อันดับ พบว่า ความหลากชนิด (H’) ความสม่ำเสมอ (J’) และดัชนีความเด่น (D) โดยรวมตลอดการศึกษามีค่า 3.14, 0.90 และ 0.92 ตามลำดับ ทั้งนี้ความหลากชนิด (H’) และดัชนีความเด่น (D) ของแมลงที่ดักได้จากกับดักมุ้งมีค่าสูงที่สุด มีค่าเท่ากับ 2.93 และ 0.91แต่พบความสม่ำเสมอ (J’) มีค่ามากที่สุดในการใช้กับดักสวิง (0.92) ในขณะที่ดัชนีความหลากหลายของแมลงมีค่าต่ำสุดที่พบได้จากการเก็บตัวอย่างด้วยมือ มีค่าเท่ากับ 1.14, 0.58 และ 0.54 ตามลำาดับ สำาหรับค่าความคล้ายคลึง (Ss) ของแมลงที่พบในมันสำปะหลังระหว่างการเก็บตัวอย่างจาก 3 วิธีการ มีค่าตั้งแต่ 0.03 – 0.40 นอกจากนี้ยังพบว่า เพลี้ย จั่กจั่น Edwardsiana bergmanni (วงศ์ Cicadellidae) ซึ่งกลุ่มของแมลงศัตรูพืชนั้นพบได้มากสุด (10.56%) ในขณะที่พบด้วงเต่า Micraspis crocea (วงศ์ Coccinellidae) ซึ่งเป็นแมลงศัตรูธรรมชาติที่พบได้บ่อยที่สุด (13.79%) ของการสำรวจในครั้งนี้ นอกจากนี้เมื่อทำการสำรวจเสร็จสิ้นยังพบว่า กราฟสะสมชนิดของแมลงยังคงมีแนวโน้มสูงขึ้นเรื่อยๆ หากมีการสำารวจในระยะถัดไปเพิ่มเติมเป็นไปได้ว่าจะสามารถพบชนิดของแมลงเพิ่มมากขึ้น ทั้งนี้ข้อมูลพื้นฐานของการศึกษาในครั้งนี้สามารถใช้เป็นแนวทางในการจัดการศัตรูพืชแบบแบบบูรณาการในการปลูกมันสำปะหลังต่อไป

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

1. กรมส่งเสริมการเกษตร. (2548). การปลูกมันส�าปะหลัง. เอกสารวิชาการ. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์กรมส่งเสริมการเกษตร.
2. ศานิต รัตนภุมมะ. (2554). กีฏวิทยาแม่บท. (พิมพ์ครั้งที่ 2). เชียงใหม่ : ภาควิชากีฏวิทยาและโรคพืชคณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
3. สันชนิตย์ อึ้งประภา Mohammad Al-Deghairi สุภัทรา ชื่นชอบ และไพพรรณ แพเจริญ. (2558). ประสิทธิภาพของสารสกัดจากพืชในการควบคุมเพลี้ยแป้งมันสำาปะหลังสีเทา. ใน การประชุมวิชาการอาราขาพืชแห่งชาติครั้งที่ 12. 20-22 ตุลาคม 2558, หน้า 843-850.
4. สำนักงานคณะกรรมการกำากับการซื้อขายสินค้าเกษตรล่วงหน้า. (2554). รายงานผลการศึกษาสินค้าเกษตร ประเภทมันสำปะหลัง. สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร. (2559). มันสำปะหลัง. (ออนไลน์), จาก : http://www.oae.go.th/ewt_news.php?nid=24472&filename=news
5. องุ่น ลิ่ววานิช. (2544). ผีเสื้อและหนอน. (พิมพ์ครั้งที่ 1). กรุงเทพฯ : กองกีฏและสัตววิทยา กรมวิชาการเกษตร
6. Joshua W., Campbell J. & Hanula L. (2007). Efficiency of Malaise traps and colored pan traps for collecting flower visiting insects from three forested ecosystems. Journal of Insect Conservation, 11, 399-408.
7. Ludwig, J. A. & Reynolds, J. F. (1988). Statistical Ecology. New York: John Wiley and Sons.
8. McCune, B. & Mefford, M. J. (2006). PC-ORD. Multivariate Analysis of Ecological Data. Version 5.10 MjM Software, U.S.A.: Gleneden Beach, Oregon.
9. Mulder, C. P. H. EBazeley-White, E., Dimitrakopoulos, P. G., Hector, A., Scherer-Lorenzen, M. & Schmid. B. (2004). Species evenness and productivity in experimental plant communities. Oikos, 107, 50-63
10. Simpson, E. H. (1949). Measurement of Diversity. Nature, 163, 688.
11. Sorensen, T. A. (1948). A method of establishing groups of equal amplitude in plant sociology based on similarity of species content, and its application to analyses of the vegetation on Danish commons. Kongelige Danske Videnskabernes Selskabs Biologiske Skrifter, 5, 1-34.
12. Tripplehorn, C. A. & Johnson, N. F. (2005). Borror and DeLong’s Introduction to the Study of Insects. (7 th ed.), CA: Thomas Brooks/Cole.