โครงสร้างทางชุมนุมและความหลากหลายทางชีวภาพของแมลงในนาข้าวสายพันธุ์ต่างๆ

Main Article Content

วีรนุช แซ่ตั้ง
นุชนาฎ บุญชู
พิสิษฐ์ พูลประเสริฐ

บทคัดย่อ

การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อโครงสร้างทางชุมนุมและความหลากหลายทางชีวภาพของแมลงที่มีประโยชน์ในนาข้าวสายพันธุ์ต่างๆ โดยเลือกศึกษาจาก 3 สายพันธุ์หลัก ได้แก่ กข 41 ปทุมธานี 80 และ พิษณุโลก 2 ในระยะข้าวแตกกอ จากตำาบลทับหมัน อำาเภอตะพานหิน จังหวัดพิจิตร ทั้งนี้ในนาข้าวแต่ละสายพันธุ์ ทำาการเก็บตัวอย่างโดยใช้สวิงโฉบ 20 ครั้งต่อแปลงนา จำานวน 3 แปลง ระหว่างเดือนมิถุนายน ถึงเดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2560 ตัวอย่างที่ได้ทำาการจัดจำาแนกตามลักษณะสัณฐานวิทยาภายนอก พบแมลงทั้งหมด 53 ชนิด 37 วงศ์ ใน 11 อันดับ โดยข้าวพันธุ์ กข 41 พบจำานวนชนิดมากที่สุด เท่ากับ 40 ชนิด ทั้งนี้ค่าความหลากชนิดของแมลง (H’) โดยรวมในข้าวทุกสายพันธุ์ค่อนข้างสูง (2.69) อย่างไรก็ตามค่าความหลากชนิด (H’) ค่าความสมำ่าเสมอ (J’) และดัชนีความเด่น (D) ในข้าวพันธุ์ กข 41 โดยรวมตลอดการสำรวจมีค่ามากที่สุด เท่ากับ 2.89, 0.82 และ 0.91 ตามลำาดับ สำาหรับค่าความคล้ายคลึง (Ss) ระหว่างข้าวทั้ง 3 สายพันธุ์ พบว่ามีค่าตั้งแต่ 0.66-0.74 นอกจากนี้แมลงศัตรูในข้าวทั้ง 3 สายพันธุ์ที่พบบ่อย ได้แก่ แมลงวันเจาะยอดข้าว (วงศ์ Ephydridae), แมลงบั่ว (วงศ์ Cecidomyiidae) และเพลี้ยจั่กจันสีเขียว (วงศ์ Cicadellidae) ในขณะที่แมลงศัตรูธรรมชาติที่พบได้บ่อย ได้แก่ ด้วงเต่าสีส้ม (วงศ์ Coccinellidae), แมลงปอเข็ม (วงศ์ Agrionidae) และแมลงวันหัวบุบ (วงศ์ Asillidae) ของการศึกษาในครั้งนี้

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

1. ปรีชา วังศิลาบัตร. (2542). การระบาดเพิ่ม (Resurgence) ของเพลี้ยกระโดดสีนำ้าตาลหลังการใช้สารฆ่าแมลง. วารสารกีฏและสัตววิทยา, 21(4), (266-275).

2. วันทนา ศรีรัตนศักดิ์. (2553). เพลี้ยกระโดดสีนำ้าตาล : ศัตรูข้าวตัวฉกาจของการปลูกข้าวนาชลประทานและมิติใหม่ของการจัดการ. วารสารวิชาการข้าว, 4(1), 72-82.

3. วันทนา ศรีรัตนศักดิ์ สุกัญญา อรัญมิตร และจินตนาไชยวงศ์. (2554). สถานการณ์การระบาดของเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลในประเทศไทย. วารสารวิชาการข้าว, 5(1), 79-89.

4. วีรยุทธ สร้อยนาค วีรเทพ พงษ์ประเสริฐ ไสว บูรณพานิชพันธ์ และสมชาย ธนสินชยกุล. (2556). ประสิทธิภาพของสารฆ่าแมลงบางชนิดต่อเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลในภาคเหนือตอนล่างของประเทศไทย. วารสารเกษตร, 29(3), 231-238.

5. สำนวน ฉิมพกา และวีรเทพ พงษ์ประเสริฐ. (2548). ปัจจัยที่มีผลต่อการใช้สารเคมีป้องกันกำจัดศัตรูข้าวของเกษตรกร อำเภอตะพานหิน จังหวัดพิจิตร. วารสารเกษตรนเรศวร, 8(1), 77-94.

6. สุวัฒน์ รวยอารีย์. (2554). การจัดการแมลงศัตรูข้าวโดยวิธีผสมผสาน. กรุงเทพฯ : กองกีฏและสัตววิทยา กรมวิชาการเกษตร.
7. รุ่งเกียรติ แก้วเพชร ปิยาภรณ์ วรานุสันติกูล ภาวัช วิจารัตน์ และศมาพร แสงยศ. (2557). ดัชนีความหลากหลายทางชนิดของศัตรูธรรมชาติของแมลงศัตรูข้าวในรูปแบบการปลูกข้าวที่ใช้สารเคมีและอินทรีย์ในพื้นที่ภาคเหนือตอนบน. วารสารวิทยาศาสตร์เกษตร, 45(2), 417-420.

8. Leclerg, E. L., Leonard, W. H. & Clark, A. G., (1966). Field Plot Technique. Minnesota: Burgess Publishing Company.

9. Ludwig, J. A. & Reynolds, J. F. (1988). Statistical Ecology. New York; John Wiley and Sons.

10. Mulder, C. P. Bazeley-White, H. E. Dimitrakopoulos, P. G. Hector A. Scherer-Lorenzen M. & Schmid, B. (2004). Species evenness and productivity in experimental plant communities. Oikos, 107, 50–63.

11. Pathak, M. D. & Khan, Z. R. (1994). Insect Peste of Rice. Phillippines: IRRI. Simpson, E. H. (1949). Measurement of Diversity. Nature, 163, 688.

12. Sorensen, T. A. (1948). A method of establishing groups of equal amplitude in plant sociology based on similarity of species content, and its application to analyses of the vegetation on Danish commons. Kongelige Danske Videnskabernes Selskabs Biologiske Skrifter, 5, 1-34.