การพัฒนาวิธีตรวจวิเคราะห์ชนิดของยาและสารเสพติดชนิดใหม่ในเลือดโดยเทคนิค Liquid Chromatography - Tandem Mass Spectrometry (LC-MS/MS)
Main Article Content
บทคัดย่อ
การตรวจวิเคราะห์เพื่อระบุชนิดของยาและสารเสพติดในเลือดเป็นส่วนหนึ่งของการตรวจพิสูจน์ทางนิติพิษวิทยาเพื่อหาสาเหตุของการเสียชีวิตหรือใช้เป็นหลักฐานในคดีต่างๆ เช่น การใช้ยาหรือสารเสพติดในการก่อคดีอาชญากรรมที่เกี่ยวกับความผิดทางเพศ ในช่วง 2-3 ปี ที่ผ่านมาได้มีการแพร่ระบาดของสารเสพติดชนิดใหม่ที่รู้จักกันในชื่อ “New Psychoactive substance” หรือ NPS ซึ่งสารในกลุ่มนี้มีหลากหลายชนิดและวิธีตรวจวิเคราะห์สารในกลุ่มนี้ยังไม่แพร่หลายในประเทศไทย นอกจากนี้ปัญหาหลักของการตรวจพิสูจน์ระบุชนิดของยาและสารพิษในเลือดคือปริมาณยาที่อยู่ในกระแสเลือดนั้นมีปริมาณตำ่ามาก เช่น ระดับยาที่ใช้ในการรักษาซึ่งมีปริมาณอยู่ในระดับนาโนกรัมต่อมิลลิลิตรจึงต้องอาศัยเทคนิค LC-MS/MS ในการตรวจวิเคราะห์ บทความนี้เสนอแนวทางการพัฒนาวิธีตรวจวิเคราะห์ชนิดของยาและสารเสพติดชนิดใหม่ในเลือดโดยเทคนิค LC-Triple-quadrupole ด้วยวิธีการวิเคราะห์แบบ dynamic multiple reaction monitoring (dMRM) ผลการพัฒนาพบว่า วิธีที่พัฒนาขึ้นมานี้สามารถนำามาใช้ในการตรวจชนิดของยาและสารเสพติดชนิดใหม่ NPS 34 ชนิดในเลือดได้ในระดับที่ใช้ในการรักษาด้วยการวิเคราะห์ 1 ครั้ง โดยมีค่าขีดจำากัดของการตรวจวัด (limit of detection) ของเครื่องมือที่ความเข้มข้น 0.5 ng/ml
Article Details
บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการเผยแพร่ในวารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มรย. นี้ ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มรย. หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่งส่วนใดไปเผยแพร่ต่อหรือกระทำการใดๆ จะต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษรจากวารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มรย. ก่อนเท่านั้น
References
2. Drummer, O. (2010). Forensic toxicology. In Luch, A. (Ed.), Molecular, Clinical and Environmental Toxicology. Basel: Birkhäuser.
3. SOFT. (2006). SOFT/AAFS Forensic Toxicology Laboratory Guidelines [Online]. Retrieved 13 March 2018, from: https://www.soft-tox.org/file/Guidelines_2006_Final.pdf
4. UNODC. (2015) World Drug Report 2015 [Online]. Retrieved 9 March 2018, from: https://www.unodc.org/documents/wdr2015/World_Drug_Report_2015.pdf