ปริมาณสารโดปามีนในกล้วยหอมทองที่เก็บรักษาที่อุณหภูมิ 14 และ 25 องศาเซลเซียส

Main Article Content

ศุภิสรา จันทราอภิรักษ์
ธีรนุต ร่มโพธิ์ภักดิ์
จงรักษ์ แก้วประสิทธิ์
อาทร ลอยสรวงสิน

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้วิเคราะห์หาปริมาณสารโดปามีนในเนื้อกล้วยหอมทองที่เก็บรักษาแบบทั้งหวี ณ อุณหภูมิ 14 และ 25 องศาเซลเซียส  ณ ระยะเวลาการเก็บรักษาต่างๆ โดยใช้โครมาโทกราฟีของเหลวสมรรถนะสูง (HPLC) พบว่าอุณหภูมิ 14 องศาเซลเซียส ชะลอการสุกของผลกล้วยให้อยู่ในระยะสุกที่ 2 (ผลสีเขียวอ่อน) ได้เป็นเวลา 21 วัน ซึ่งเป็นระยะที่พบปริมาณโดปามีนสูงสุด คือ 379 มิลลิกรัม/เนื้อกล้วย 1 กิโลกรัม ผลกล้วยที่ผ่านการเก็บรักษาที่ 14 องศาเซลเซียส เป็นเวลา 45 และ 51 วัน ไม่สุกในระยะที่ 4-6 (ผลสีเหลืองอมเขียว-เหลืองทั้งผล)  ส่วนการเก็บรักษาที่ 25 องศาเซียลเซียส พบว่า หลังจากการเก็บรักษาเป็นเวลา 4 วัน ผลกล้วยสุกในระยะที่ 2 และมีปริมาณสารโดปามีนเพียง 48.04 มิลลิกรัม/เนื้อกล้วย 1 กิโลกรัม ซึ่งน้อยกว่าปริมาณที่พบในผลสุกระยะที่ 4-6 (65.45 – 87.99 มิลลิกรัม/เนื้อกล้วย 1 กิโลกรัม)

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

1. จุฑา พีรพัชระ. (2555). โครงการการเพิ่มมูลค่าผลิตภัณฑ์แปรรูปจากกล้วยเพื่อประโยชน์เชิงพาณิชย์ (ปีที่ 2). รายงานฉบับสมบูรณ์ ศูนย์คลินิกเทคโนโลยีสถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร.

2. เบญจมาศ ศิลาย้อย. (2545). กล้วย (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

3. สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร. (2556). ข้อมูลพื้นฐานเศรษฐกิจการเกษตร. เอกสารสถิติการเกษตรเลขที่ 402. กรุงเทพฯ : สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์.

4. ธนัชชา แซ่ไล่. (2556). โดปามีน สารควบคุมอารมณ์และความรู้สึก [ออนไลน์]. ค้นเมื่อ 15 มีนาคม 2558 จาก : https://www.vcharkarn.com/varticle/44344.

5. Ke, L. & Hwang, S. C. (1988). Postharvest handling of banana in Taiwan. Taipei: Shutter Printing.

6. Kanazawa, K. & Sakakibara. H. (2000). High content of dopamine, a strong antioxidant, in Cavendish banana. Journal of Agricultural and Food Chemistry, 48, 844-848.

7. Someya, S., Yoshiki, Y. & Okubo, K. (2002). Antioxidant compounds from bananas (Musa Cavendish). Journal of Food Chemistry, 79, 351-354.

8. Lavizzari, T., Teresa Veciana-Nogues, M., Bover-Cid, S., Marine-Font, A. & Carmen Vidal-Carou, M. (2006). Improved method for the determination of biogenic amines and polyamines in vegetable products by ion-pair high-performance liquid chromatography. Journal of Chromatography A, 1129, 67-72.

9. Kulma, A. & Szopa, J. (2007). Catecholamines are active compounds in plants. Plant Science, 172(3), 433-440.

10. Tapre, A. R. & Jain, R. K. (2012). Study of advanced maturity stages of banana. International Journal of Advanced Engineering Research and Studies, 1(3), 272-274.

11. Khozaei, M., Ghorbani, F., Mardani, G. & Emamzadeh, R. (2014). Catecholamine are active plant-based drug compounds in Pisumsativum, Phaseolus vulgaris and Viciafaba species. Journal of Herbmed Pharmacology, 3(1), 61-65.