การศึกษาคุณค่าทางโภชนะของทางใบปาล์มน้ำมันหมักร่วมกับกากน้ำตาล
Main Article Content
บทคัดย่อ
องค์ประกอบทางเคมีของทางใบปาล์มน้ำมัน แกนทางปาล์มน้ำมัน และใบปาล์มน้ำมันมีค่าวัตถุแห้ง 34.12, 25.04, 44.97% โปรตีนเท่ากับ 3.32, 1.20 และ 8.12% และผนังเซลล์เท่ากับ 44.67, 47.07และ 49.54 เปอร์เซ็นต์ ตามลำดับ จากการศึกษาทางใบปาล์มน้ำมันหมักร่วมกับกากน้ำตาลในระดับ 0, 3, 5 และ 7 เปอร์เซ็นต์ โดยใส่ในถุงหมักหมักนาน 30 วัน ซึ่งแต่ละทรีทเมนต์ประกอบด้วย 5 ซ้ำ พบว่า ทางใบปาล์มน้ำมันหมักร่วมกับกากน้ำตาลส่วนใหญ่มีสีเหลืองอมเขียว โดยทางใบปาล์มน้ำมันหมักร่วมกับกากน้ำตาลในระดับ 3, 5 และ 7 เปอร์เซ็นต์ มีปริมาณของกรดอะซิติกและกรดบิวทีริคต่ำกว่าทางใบปาล์มน้ำมันหมักร่วมกับกากน้ำตาล 0 เปอร์เซ็นต์ แตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P<0.05) นอกจากนั้นเมื่อวิเคราะห์คุณค่าทางโภชนะพบว่าทางใบปาล์มน้ำมันที่หมักร่วมกับกากน้ำตาลในระดับ 5 และ 7 เปอร์เซ็นต์มีโปรตีนสูงกว่าทางใบปาล์มน้ำมันหมักที่หมักร่วมกับกากน้ำตาล 0 และ 3 เปอร์เซ็นต์ ตามลำดับ แตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P<0.05) ดังนั้น การใช้กากน้ำตาลหมักร่วมกับทางใบปาล์มน้ำมันในระดับ 7 เปอร์เซ็นต์ เป็นระดับที่มีความเหมาะสมแก่การนำไปใช้เป็นอาหารหยาบสำหรับสัตว์กระเพาะรวม
Article Details
บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการเผยแพร่ในวารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มรย. นี้ ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มรย. หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่งส่วนใดไปเผยแพร่ต่อหรือกระทำการใดๆ จะต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษรจากวารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มรย. ก่อนเท่านั้น
References
2. ณัฐฐา รัตนโกศล, วันวิศาข์ งามผ่องใส, ไชยวรรณ วัฒนจันทร์ และเสาวนิต คูประเสริฐ. (2552). ผลการหมักทางใบปาล์ม น้ำมันร่วมกับกากน้ำตาลระดับต่างๆ ต่อการกินได้ และการใช้ประโยชน์ได้ของโภชนะในแพะ. วารสารแก่นเกษตร, 37, 235-244.
3. ธีระ เอกสมทราเมษฐ์, ชัยรัตน์ นิลนนท์, ธีรพงศ์ จันทรนิยม, ประกิจ ทองคำ และสมเกียรติ สีสนอง. (2548). ภาพรวมของ อุตสาหกรรมปาล์มน้ำมันในเส้นทางสู่ความสำเร็จการผลิตปาล์มน้ำมัน. สงขลา : ศูนย์วิจัยและพัฒนาการผลิตปาล์มน้ำมัน คณะทรัพยากรธรรมชาติ.
4. บุญฤา วิไลพล. (2539). พืชอาหารสัตว์เขตร้อนและการจัดการ. มหาวิทยาลัยขอนแก่น : ภาควิชาสัตวศาสตร์ คณะเกษตรศาสตร์.
5. ประดิษฐ์ อาจชมพู, ศิริศักดิ์ บริรักษ์ธนกุล, เกียรติศักดิ์ สร้อยสุวรรณ, สมจิตร ถนอมวงศ์วัฒนะ และสมพร จัทระ. (2551). การพัฒนาทางใบปาล์มน้ำมันเป็นแหล่งอาหารหยาบสำหรับแพะ ใน เอกสารประกอบการสัมมนาวิชาการงานแพะแห่งชาติครั้งที่ 5 เรื่องการพัฒนาอาชีพการเลี้ยงแพะอย่างยั่งยืน, 23 เมษายน 2551.
6. พรชัย ล้อวิลัย. (2548). พืชอาหารสัตว์หมัก. มหาวิทยาลัยขอนแก่น : ภาควิชาสัตวศาสตร์ คณะเกษตรศาสตร์.
7. สายัณห์ ทัดศรี. (2547). พืชอาหารสัตว์เขตร้อน. กรุงเทพฯ : ภาควิชาพืชไร่นา คณะเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์,
สุนทร รอดด้วง, ไชยวรรณ วัฒนจันทร์ และวันวิศาข์ งามผ่องใส. (2553). ผลของระดับทางใบปาล์มน้ำมันหมักและอาหารข้นในอาหารผสมสำเร็จต่อปริมาณการกินได้ และสมรรถภาพการเจริญเติบโตของแพะเพศผู้. ใน สัมมนาวิชาการเกษตร ครั้งที่ 11 ณ มหาวิทยาลัยขอนแก่น, 13 กุมภาพันธ์ 2553.
8. วันวิศาข์ งามผ่องใส. 2549. การใช้ทางใบปาล์มน้ำมันและกากเนื้อในเมล็ดปาล์มน้ำมันเป็นอาหาร สัตว์เคี้ยวเอื้อง. นิตยสารวัวเศรษฐกิจ, 2(15), 20-21.
9. วารุณี พานิชผล, ฉายแสง ไผ่แก้ว, สมคิด พรหมมา, โสภณ ชินเวโรจน์, จันทกานต์ อรณนันท์, วิโรจน์ ฤทธิ์ฤาชัย และวรรณา อ่างทอง. (2547). มาตรฐานพืชอาหารสัตว์หมักคุณภาพดี. กรุงเทพฯ : กรมปศุสัตว์ กระทรวงเกษตร และสหกรณ์.
10. AOAC. (1990). Official Methods of Analysis. (15th ed.). Washington DC: Association of Official Analytical Chemists.
11. Cheva-Isarakul, B. & Cheva-Isarakul, B. (1980). Handbook of feed analysis. Faculty of Agriculture, Chiangmai University.
12. Church, D. C. (1991). Livestock Feeds and Feeding. U.S.A.: Prentice Hall international, inc.
Goering, H. K. & Van Soest, P. J. (1970). Forage Fiber Analysis (Apparatus, Reagents, Procedures and some Applications). Agricultural Handbook No. 379, USDA.
13. Ishida, M. & Abu Hassan, O. (1997). Utilization of oil palm front as cattle feed. JARQ., 13, 41-47.
Khamseekhiew, B., Liang, J. B., Jalan, Z. A. & Wong, C. C. (2002). Fibre degradability of oil palm frond pellet, supplement with Arachis pintoi in cattle. Songklanakarin. J. Sci. Technol., 24, 209-216.
14. Rohweder, D. A., Barnes R. F. & Jorgensen, N. (1978). Proposed hay grading standards based on laboratory analyses for evaluating quality. J. Anim. Sci., 47, 747-759.
15. SAS Institute. (1996). Statistical Analysis System Institute (SAS/STAT). User’s Guide. Statistics, Release 6.12, SAS Institute, Cary, NC.Washington D. C., 1-20.
16. Zobell, D. R., Okine, E. K., Olson, K. C., Wiedmeier, R. D., Goonewardene L. A. & Stonecipher, C. (2004). The feasibility of feeding whey silage and effects on production and digestibility in growing cattle. J. Anim. Vet. Advances, 3(12), 804-809.