ความหลากหลายของหิ่งห้อย (Coleoptera: Lampyridae) ในเขตพื้นที่จังหวัดพิษณุโลก

Main Article Content

เกียรติศักดิ์ โพธิ์นาค
พัทธเมธา คงเจริญ
พิสิษฐ์ พูลประสริฐ

บทคัดย่อ

การศึกษาในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อสำรวจความหลากชนิดและถิ่นอาศัยของหิ่งห้อยในเขตพื้นที่ของจังหวัดพิษณุโลก ดำเนินการสำรวจหิ่งห้อยจาก 5 พื้นที่หลัก ได้แก่ ไร่ร้าง สวนยางพารา สระบัว ทุ่งนา และ ริมคลอง โดยใช้สวิงโฉบในช่วงเวลา 19.00 น. ถึง 21.00 น. ตั้งแต่เดือน พฤศจิกายน 2559 ถึงเดือน กันยายน 2560 จากการศึกษาครั้งนี้ พบหิ่งห้อยทั้งหมด            5 ชนิด และ 2 รูปแบบสัณฐาน  ใน 2 วงศ์ย่อย คือ 1) วงศ์ย่อย Luciolinae  (Sclerotia  aquatilis,  Trisinuata sp., Medeopteryx sp.  Asymmetricata circumdata และ Asy. ovalis) และ 2) วงศ์ย่อย Lampyrinae  (Pyrocoelia praetexta  และ Lamprigera tenebrosa) ทั้งนี้ในพื้นที่สวนยางพาราสามารถพบหิ่งห้อยได้ถึง 4 ชนิด คือ P. praetexta, L. tenebrosa , Asy. circumdata และ Medeopteryx sp. นอกจากนี้หิ่งห้อย S. aquatilis เป็นเพียงชนิดเดียวที่สามารถพบได้หลากหลายพื้นที่ ได้แก่ สระบัว ทุ่งนา และ ริมคลอง อีกทั้งยังพบได้ตลอดการสำรวจ สำหรับค่าดัชนีความหลากหลายของหิ่งห้อย พบว่า ค่าดัชนีความหลากชนิด (H’) ความสม่ำเสมอ (E) และดัชนีความเด่น (D) โดยรวมเท่ากับ 1.028, 0.574 และ 0.53 ตามลำดับ สำหรับค่าความคล้ายคลึง (Ss) ระหว่างหิ่งห้อยที่สำรวจพบในแหล่งอาศัยต่าง ๆ พบว่ามีค่าตั้งแต่ 0.33-1.00 นอกจากนี้ยังพบว่า กราฟสะสมชนิดของหิ่งห้อยยังคงมีแนวโน้มสูงขึ้นเล็กน้อยเมื่อทำการสำรวจเสร็จสิ้น ทั้งนี้หากมีการสำรวจในพื้นที่เพิ่มเติมเป็นไปได้ว่าจะสามารถพบชนิดของหิ่งห้อยเพิ่มมากขึ้น ข้อมูลพื้นฐานของการศึกษาในครั้งนี้สามารถใช้เป็นแนวทางในการจัดการพื้นที่เพื่อการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติต่อไป

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

1. นันทิยา รัตนจันทร์ นงพงา ปาเฉย และวัฒนา ศักดิ์ชูวงษ์. (2553). การสำรวจความหลากหลายของหิ่งห้อยในเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าเขาสอยดาว. กรุงเทพฯ : สำนักวิจัยการอนุรักษ์ป่าไม้และพันธุ์พืชกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่าและพันธุ์พืช.

2. ยุวรินทร์ บุญทบ ศิริณี พูนไชยศรี ลักขณา บํารุงศรี สุนัดดา เชาวลิต ชมัยพร บัวมาศ อิทธิพล บรรณาการ ชฎาภรณ์ เฉลิมวิเชียรพร และสิทธิศิโรดม แก้วสวัสดิ์. (2554). ความหลากชนิดของหิ่งห้อยในเขตภาคใต้ของประเทศไทย. กรุงเทพฯ : สำนักวิจัยพัฒนาการอารักพืช.

3. สุรชัย ชลดำรงค์กุล นันทิยา รัตนจันทร์ และนงพงา ปาเฉย. (2553). ความหลากหลายของหิ่งห้อยในพื้นที่ลุ่มน้ำเพชรบุรี. กรุงเทพฯ : สำนักงานการอนุรักษ์ป่าไม้และพันธุ์พืช กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่าและพันธุ์พืช.

4. Ballantyne, L. A., Lambkin, L. C., Luan, X., Boontop, Y., Nak-eiam, S., Pimpasalee, S., Silalom , S. & Thancharoen, A. (2016). Further studies on south eastern Asian Luciolinae: 1. Sclerotia Ballantyne, a new genus of fireflies with back swimming larvae 2. Triangulara Pimpasalee, a new genus from Thailand (Coleoptera: Lampyridae). Zootaxa, 4170, 201-249.

5. Drees, B. M, & Jackman, J. (1999). Field Guide to Texas Insects. Houston, TX: Gulf Publishing Company.
Lewis, S., & Lloyd, J. E. (2003). Summer flings: firefly courtship, sex, and death. Natural History, (July/August), 44-49. Online Retrieved November 30, 2017.

6. Lloyd, J. E., Wing, S. R. & Hongtrakul, T. (1989). Ecology, flashes and behavior of congregating Thai fireflies. Biotropica, 21(4), 373-376.

7. Ludwig, J. A. and J. F. Reynolds. (1988). Statistical Ecology. New York: John Wiley and Sons.

8. McCune, B. & Mefford, M.J. (2006). PC-ORD. Multivariate Analysis of Ecological Data. Version 5.10 MjM Software, Gleneden Beach, Oregon, U.S.A.

9. Mulder, C.P.H. E. Bazeley-White, P.G. Dimitrakopoulos, A. Hector, M. Scherer-Lorenzen and B. Schmid. (2004). Species evenness and productivity in experimental plant communities. Oikos. 107, 50–63.

10. Nak-eiam, S. (2015). Taxonomy and species distribution of fireflies (Coleoptera; Lampyridae) in the North of Thailand. Doctoral dissertation, Ph.D., Naresuan University.

11. Rice, G. (2005). How and why do fireflies light up? Ask the Experts. Scientific American, 5 (Sept.). Online Retrieved November 30, 2017.

12. Simpson, E. H. (1949). Measurement of Diversity. Nature, 163, 688.

13. Sorensen, T. A. (1948). A method of establishing groups of equal amplitude in plant sociology based on similarity of species content, and its application to analyses of the vegetation on Danish commons. Kongelige Danske Videnskabernes Selskabs Biologiske Skrifter, 5, 1–34.

14. Thancharoen, A. (2001). Study on diversity of firefly populations in highland and lowland habitats. M.Sc. Thesis (Environmental Biology). Faculty of Graduate Studies, Mahidol University Bangkok.

15. Thancharoen, A. (2007). The biology and mating behavior of an aquatic firefly species, Luciola aquatilis sp. nov. Thancharoen (Coleoptera: Lampyridae). Doctoral dissertation, Ph.D., Mahidol University.

16. Thancharoen, A, Ballantyne, L. A., Branham, M. A. and Jeng, M. L. (2007). Description of Luciola aquatilis sp. nov., a new aquatic firefly (Coleoptera: Lam- pyridae: Luciolinae) from Thailand. Zootaxa, 1611, 55–62.

17. Wattanachaiyingcharoen, W., Nak-eiam, S., Phanmuangma, W., Booninkiaew, S. and Nimlob, N. (2016). Species diversity of firefly in the highlands of northern Thailand. NU. International Journal of Science, 13(2), 24 –32.