การพัฒนาผลิตภัณฑอาหารฮาลาลท้องถิ่น: แยมส้มแขกแคลอรี่ต่ำ

Main Article Content

นุชเนตร ตาเย๊ะ
ต่วนนัจวา ต่วนกาจิ
ฮานาน อาลี

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาแยมส้มแขกแคลอรี่ต่ำ โดยใช้ซูคราโลสทดแทนน้ำตาล ทำการศึกษาโดยพัฒนาแยมส้มแขก 4 สูตร คือสูตรควบคุม สูตรทดแทนน้ำตาลด้วยซูคราโลสร้อยละ 25, 50 และ 75 ทำการคัดเลือกสูตรการผลิตที่ดีที่สุด โดยการทดสอบทางประสาทสัมผัสด้วยวิธี 9-point hedonic scale นำสูตรที่คัดเลือกได้มาทดสอบคุณลักษณะทางกายภาพ เคมีและจุลินทรีย์ จากการศึกษาพบว่า แยมส้มแขกที่ทดแทนน้ำตาลด้วยซูคราโลสร้อยละ 25 ได้คะแนนคุณลักษณะด้านเนื้อสัมผัสและความชอบโดยรวมมากกว่าสูตรอื่นๆ (p<0.05) มีค่าความสว่าง (L*) ค่าสีแดง (a*) และค่าสีเหลือง (b*) เท่ากับ 22.72, 6.43 และ 8.52 ตามลำดับ ปริมาณน้ำอิสระ (aw) เท่ากับ 0.57 วิเคราะห์องค์ประกอบทางเคมี ได้แก่ ปริมาณเยื่อใยทั้งหมด ความชื้น ปริมาณกรดทั้งหมดในรูปกรด ซิตริก ปริมาณน้ำตาลทั้งหมด และปริมาณของแข็งทั้งหมด เท่ากับร้อยละ 0.93, 37.66, 6.63, 30.86 และ 70.30 ตามลำดับ ผลิตภัณฑ์มีค่าพีเอชเท่ากับ 3.05 ค่าพลังงานของแยมส้มแขกสูตรทดแทนซูคราโลส เท่ากับ 140.08 กิโลแคลอรี่/100 กรัม มีค่าลดลงต่ำกว่าแยมส้มแขกสูตรพื้นฐานร้อยละ 22 (180.18 กิโลแคลอรี่/100 กรัม) ตรวจพบจุลินทรีย์ทั้งหมดไม่เกิน 1x104 CFU/กรัม ยีสต์และรา ไม่เกิน 100 CFU/กรัม และไม่พบการเจริญของ E.coli ซึ่งเป็นไปตามเกณฑ์มาตรฐาน (มผช. 342-2547)

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

1. Atre, A. (2011). Application of GARCINIA INDICA as a colorant and antioxidant in rice extrudates. Master of Science Thesis, Graduate School-New Brunswick. The State University of New Jersey. United State of America.

2. AOAC (1999). Official methods of analysis (16th Edition). Washington DC.: Association of Official Analytical Chemists.

3. AOAC (2005). Official method of analysis (18th Edition). Washington DC.: Association of Official Analytical Chemists.

4. BAM. (2001). Bacteriological Analytical Manual (BAM). Retrieved August 24, 2016, from http://www.fda.gov/default.htm

5. กองโภชนาการ กรมอนามัย. 2543. ประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่อง แยม เยลลี่ และมาร์มาเลด ในภาชนะบรรจุที่ปิดสนิท ฉบับที่ 213. กรุงเทพฯ.

6. กันยารัตน์ บรรจงแจ่ม. (2552). การพัฒนาผลิตภัณฑ์แยมมะเขือเทศลดพลังงาน. วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตร์มหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

7. นพรัตน์ วงศ์หิรัญเดชา. (2554). แยมมังคุด. วารสารเทคโนโลยีการเกษตร, 88-93.

8. นัยทัศน์ ภู่ศรันย์. (2529). ศึกษาการสกัดเพคตินจากส่วนเหลือใช้จำปาดะ. ปัญหาพิเศษวิทยาศาสตร์การอาหาร. สงขลา : มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.

9. บังอร บุญชู. (2547). นํ้าตาลและความหวานที่ไร้นํ้าตาล [ออนไลน์]. ค้นเมื่อ 30 มีนาคม 2560, จาก : https://soclaimon. wordpress.com/.

10. พิมพ์เพ็ญ พรเฉลิมพงศ์. (2558). แยม. [ออนไลน์]. ค้นเมื่อ 20 กุมภาพันธ์ 2560, จาก : http://www.Food network solution.com/

11. พิมพ์เพ็ญ พรเฉลิมพงศ์ และนิธิยา รัตนาปนนท์. (2558). แอคตีวิตี้ของน้ำ [ออนไลน์]. ค้นเมื่อ 12 มีนาคม 2560, จาก : http: //www.foodnetworksolution.com/.

12. พิมพ์เพ็ญ พรเฉลิมพงศ์. (2558). เส้นใยอาหาร [ออนไลน์]. ค้นเมื่อ 24 มีนาคม 2560, จาก : http://www.foodnetwork solution.com/.

13. มาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชน. (2547). แยม มผช. 342/2547 เล่มที่ 121. กรุงเทพฯ : สำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์ อุตสาหกรรม. [ออนไลน์]. ค้นเมื่อ 6 กรกฎาคมมีนาคม 2560, จาก : http://www.acfs.go.th/halal/general.php.

14. วิภาดา มุนินทร์นพมาศ. (2554). หลักการถนอมและแปรรูปอาหาร. ยะลา : มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา.

15. วัชระ เวียงแก้ว. (2549) การสกัดเพคตินด้วยไอน้ำจากเปลือกส้มโอ. ภาควิชาวิศวกรรมเคมี มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ. องครักษ์ : นครนายก.

16. อภัย ราษฏรวิจิตร. (2559). ซูคราโลส [ออนไลน์]. ค้นเมื่อ 25 กรกฎาคม 2561, จาก : http://haamor.com/th/.

17. องอาจ เด็ดดวง. (2553). การเปรียบเทียบเพคตินสกัดจากฝรั่งสามชนิดกับเพคตินมาตรฐาน. สารนิพนธ์ กศ.ม.(เคมี). กรุงเทพฯ : บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.