การใช้สารสกัดจากใบกะเพราและดอกดาวเรืองเป็นสารล่อและเหยื่อพิษ เพื่อควบคุมแมลงวันผลไม้ในสวนมะม่วง

Main Article Content

นุชนาฎ บุญชู
วีรนุช แซ่ตั้ง
กีรติ ตันเรือน
ทิวธวัฒ นาพิรุณ
พิสิษฐ์ พูลประเสริฐ

บทคัดย่อ

แมลงวันผลไม้จัดเป็นแมลงศัตรูพืชที่สำคัญในผักและผลไม้ ปัจจุบันมักมีการฉีดพ่นสารฆ่าแมลงในระบบการปลูกพืชเพื่อป้องกันแมลงวันผลไม้เหล่านี้ การใช้สารกำจัดศัตรูพืชนั้นไม่เพียงจะเป็นอันตรายต่อผู้ใช้แล้วยังทำให้เกิดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมอีกด้วย การใช้สารสกัดจากพืชจึงเป็นอีกทางเลือกหนึ่งเพื่อทดแทนสารเคมีในระบบการเกษตร ดังนั้นการวิจัยในครั้งนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความเป็นไปได้ของการใช้สารสกัดจากพืชเป็นสารล่อและเหยื่อพิษเพื่อควบคุมแมลงวันผลไม้ในสวนมะม่วง โดยการประยุกต์ใช้สารสกัดจากใบกะเพราเพื่อเป็นสารล่อร่วมกับสารสกัดจากดอกดาวเรืองสำหรับเป็นเหยื่อพิษ ที่สกัดด้วยเมทานอลที่ความเข้มข้นแตกต่างกัน ได้แก่ 100 60 40 และ 20 เปอร์เซ็นต์ (v/v) ตามลำดับ จากนั้นนำสารที่สกัดได้มาทดสอบประสิทธิภาพในการเป็นสารล่อและกำจัดแมลงวันผลไม้ในสวนผลไม้ จำนวน 17 กรรมวิธี ๆ ละ 3 ซ้ำ ผลการศึกษา พบว่า กับดักในกรรมวิธีที่มีสารสกัดจากกะเพรา 100% ร่วมกับสารสกัดจากดอกดาวเรือง 40% สามารถดึงดูดแมลงวันผลไม้ได้สูงสุด (20.67 %) ทั้งนี้พบอัตราการตายของแมลงวันผลไม้ในกรรมวิธีที่ประกอบด้วยมะม่วงผสมกับสารสกัดใบกะเพรา 100 % และสารสกัดจากดอกดาวเรืองที่ความเข้มข้น 60% สูงสุด (80.09 %) และยังมีความแตกต่างกับกรรมวิธีอื่นๆ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < 0.05) จากผลการศึกษาเบื้องต้นนี้สรุปได้ว่าสารสกัดจากพืชดังกล่าวมีแนวโน้มในการควบคุมแมลงวันผลไม้ในพื้นที่ได้ ทั้งนี้ยังสามารถนำไปใช้ในการจัดการแมลงศัตรูพืชอื่นๆ ในระบบการปลูกพืชเศรษฐกิจชนิดต่างๆ ต่อไปอีกด้วย

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

1. กรมวิชาการเกษตร. (2552). แมลงวันผลไม้และการป้องกันกำจัด. จดหมายข่าวผลิใบ ก้าวใหม่การวิจัยและพัฒนาการเกษตร, 12(10).

2. กรมส่งเสริมการเกษตรและสหกรณ์. (2559). การควบคุมแมลงวันผลไม้โดยวิธีผสมผสาน.

3. กฤษฎา จาตุรัส. (2550). ความสัมพันธ์ระหว่างลักษณะทางสัณฐานวิทยาของพริกที่สูญเสียกับการเข้าทำลายของแมลงวันผลไม้. วิทยานิพนธ์ปริญญาโท. นครปฐม : มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

4. จรงค์ศักดิ์ พุมนวน และมณทินี ธีรารักษ์. (2555). ประสิทธิภาพของสารสกัดจากดาวเรือง (Tagetes erecta L.) ในการควบคุมหนอนใยผัก (Plutella xylostella L.). วารสารเกษตรพระจอมเกล้า, 30(2), 1-7.

5. ชลธิชา แสงศิริ ไพรพรรณ แพเจริญ พิไลวรรณ เพชรเลี่ยม และธนพร ขจรผล. (2557). ผลของรูปแบบกับดักและเหยื่อล่อที่มีต่อแมลงวันผลไม้. วารสารแก่นเกษตร, 42 (3), 674-679.

6. ณฐพงศ์ เมธินธรังสรรค์ และดวงเดือน วัฏฏานุรักษ์ (2560). ผลของสารสกัดดาวเรือง (Tagetes erecta L.) ในควบคุมหนอนผีเสื้อกินใบมะนาว Papilio demoleus Linnaeus (Lepidoptera: Papilionidae). วารสารวิจัยและพัฒนาวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์, 12(2), 1-10.

7. มนตรี จิรสุรัตน์. (2541). แมลงวันผลไม้, น.128-135. ใน แมลงศัตรูไม้ผล. กรุงเทพฯ : ชุมชนสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.

8. รัตนาภรณ์ พรหมศรัทธา มัณฑนา มิลน์ และอารมณ์ แสงวนิชย์. (2544). การศึกษาองค์ประกอบทางเคมีของดาวเรือง.หน้า 404-409. ใน: การประชุมทางวิชาการของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ครั้งที่ 39. วันที่ 5-7 กุมภาพันธ์ 2554 ณ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์กรุงเทพฯ.

9. สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร. (2555). อุตสาหกรรมผลไม้ในประเทศไทย. ค้นเมื่อ 25 สิงหาคม 2560, จาก: http://www.thaifta.com/thaifta/Portals/0/file/ascn_fruit2.doc

10. อัครินทร์ ท้วมขำ. (2550). การกำจัดแมลงวันทอง. ค้นเมื่อ 25 สิงหาคม 2560, จาก: http://www.doa.go.th/th/ShowArticles.aspx?id=1286.

11. อนงค์ ทองทับ. (2555). การใช้ใบกะเพราดึงดูดแมลงวันทองแทนฟีโรโมน. วารสารวิทยาศาสตร์แห่งมหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี, 66-73.

12. Hardy, D. E. (1969). Taxonomy and distribution of the oriental fruit fly and related species (Tephritidae, Diptera). Proceedings of the Hawaiian Entomological Society, 20, 395-428.

13. Mahmood, T., Hussain, S. I., Khokhar, K. M., Ahmad, M. & Hidayatullah. (2002). Studies on Methyl Eugenol as a Sex Attractant for Fruit Fly Dacus zonatus (Saund) in Relation to Abiotic Factors in Peach Orchard. Asian Journal of Plant science, 4(1), 401-402.

14. Orallo-Rejesus, B. & L. C. Eroles. (1978). Two insecticidal principles from marigold (Tagetes spp.) roots. Philipp. Entomologist, 4(1/2), 87-98.

15. Vargas, R. I., Leblanc, L., Putoa, R. & Eitam, A. (2007). Impact of introduction of Bactrocera Dorsalis (Diptera: Tephritidae) and classical biological control releases of Fopius arisanus (Hymenoptera: Braconidae) on economically important fruit flies in French Polynesia. Journal of Economic Entomology, 100, 670-679.

16. Vargas, R. I., Shelly, T. E. Leblanc, L. & Piñero, J. C. (2010). Recent advances in methyl eugenol and cue-lure technologies for fruit fly detection, monitoring, and control in Hawai. Vitam Horm, 83, 575-595.