การศึกษาคุณภาพน้ำและปริมาณแร่ธาตุจากแหล่งที่ใช้อุปโภคและบริโภคในเขตชุมชนบ้านบ่อน้ำร้อน อำเภอเบตง จังหวัดยะลา
Main Article Content
บทคัดย่อ
การศึกษาคุณภาพน้ำบริเวณบ่อน้ำพุร้อน อ.เบตง จ.ยะลา ระหว่างเดือนกรกฏาคม ถึง เดือนตุลาคม พ.ศ.2560 ผลจากการวิเคราะห์คุณภาพน้ำ โดยเปรียบเทียบกับคุณภาพน้ำตามมาตรฐานน้ำผิวดินตามประกาศคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ พ.ศ. 2537 พบว่าปริมาณทองแดง แมงกานีสแคดเมียม ตะกั่ว ปรอท สารหนู โคลิฟอร์มแบคทีเรีย ออกซิเจนที่ละลายน้ำ ไนเตรท-ไนโตรเจน และแอมโมเนีย-ไนโตรเจนในบ่อน้ำพุร้อน สามารถจัดคุณภาพน้ำอยู่ในประเภท 2-3 สามารถนำไปใช้เพื่อการอุปโภคและบริโภค แต่ต้องผ่านการฆ่าเชื้อโรคตามปกติและผ่านกระบวนการปรับปรุงคุณภาพน้ำทั่วไปก่อน และจากการศึกษาปริมาณแร่ธาตุบางชนิดในบ่อน้ำพุร้อน เปรียบเทียบกับมาตรฐานคุณภาพน้ำแร่ตามธรรมชาติตามประกาศของกรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข พ.ศ. 2543 และเปรียบเทียบกับ มาตรฐานคุณภาพน้ำแร่ตามมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมน้ำแร่ธรรมชาติ มอก. 2208-2547 พบปริมาณฟลูออไรด์ ค่าความเป็นกรด - ด่าง และค่าความกระด้างเกินค่ามาตรฐาน นอกจากนี้ยังตรวจพบแร่ธาตุที่เป็นอันตรายคือ แคดเมียม ตะกั่ว และปรอท และจากการศึกษา ปริมาณแร่ธาตุชนิดอื่นในบ่อน้ำพุร้อน พบปริมาณคลอไรด์โพแทสเซียม โซเดียม และเหล็กเหมาะสมที่จะนำไปใช้ประโยชน์ในการทำน้ำแร่ในอุตสาหกรรม สปาได้
Article Details
บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการเผยแพร่ในวารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มรย. นี้ ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มรย. หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่งส่วนใดไปเผยแพร่ต่อหรือกระทำการใดๆ จะต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษรจากวารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มรย. ก่อนเท่านั้น
References
2. จำเรียง หนูสีแก้ว อรวรรณ บุญธรรม ฉัตร ผลนาค และสุวิทย์ เพชรห้วยลึก. (2548). การวิเคราะห์หาธาตุ องค์ประกอบของน้ำแร่จากแหล่งน้ำพุร้อนธรรมชาติบางแหล่งน้ำในพื้นที่จังหวัดสงขลาและจังหวัดพัทลุงโดยใช้เทคนิคการเรืองรังสีเอ็กซ์. วารสารวิทยาศาสตร์ทักษิณ, 2(2), 68-78.
3. ซัยนะ เจะสะอิ ไตรภพ ผ่องสุวรรณ และธวัช ชิตตระการ. (2552). ไอโซโทปกัมมันตรังสีเรเดียม-226 และการแพร่กระจายในบริเวณแหล่งน้ำพุร้อนของจังหวัดสุราษฎร์ธานี ใน การประชุมวิชาการวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีนิวเคลียร์ ครั้งที่ 11. วันที่ 2-3 กรกฎาคม 2552. กรุงเทพฯ : สถาบันเทคโนโลยีนิวเคลียร์แห่งชาติ.
4. ประกาศคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ ฉบับที่ 25. (2547). เรื่อง กำหนดมาตรฐานคุณภาพดิน. (2547, 20 ตุลาคม). ราชกิจจานุเบกษา. เล่มที่ 121 ตอนพิเศษ 119ง.
5. ประกาศคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ ฉบับที่ 8 (2537). เรื่อง กำหนดคุณภาพน้ำในแหล่งน้ำผิวดิน. (2537, 24 กุมภาพันธ์). ราชกิจจานุเบกษา. เล่มที่ 111 ตอนที่ 16ง.
6. นันทนา คชเสนี. (2539). คู่มือปฏิบัติการนิเวศวิทยาน้ำจืด.กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัย.
7. ศิริพงษ์ เกียรติประดับ. (2546). ความหลากหลายของสาหร่ายพิษ สีเขียวแกมน้ำเงินและคุณภาพน้ำใน อ่างเก็บน้ำบางพระ จังหวัดชลบุรี ปี 2543-2544. วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตร มหาบัณฑิต, สาขาจุลชีววิทยา, คณะวิทยาศาสตร์, มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
8. Eaton, A. D., L. S. Clesceri, E. W. Rice, A.E. Greenberg & M. A. H. Franson. (2005). Standard Methods for the Examination of Water and Wastewater: Centennial Edition. (21th ed.) Washington D.C.: American Public Health Association.
9. Jurdi, M., Korfali, S. I., Karahagopian, Y. & Davies B. (2002). Evaluation of Water Quality of the Qaraoun Reservoir, Lebanon: Suitability for Multipurpose Usage. Environmental Monitoring and Assessment, 77, 11-30.