การเปลี่ยนแปลงความงอกและการเจริญเติบโตของต้นกล้าถั่วเหลือง หลังการเคลือบเมล็ดด้วยหัวเชื้อจุลินทรีย์ Bacillus thuringiensis และ Beauveria bassiana
Main Article Content
บทคัดย่อ
เกษตรกรนิยมปลูกถั่วเหลืองพันธุ์เชียงใหม่ 60 และ สจ. 5 ซึ่งเป็นพันธุ์ส่งเสริมที่นิยมปลูกกันมาเป็นเวลานาน ทำให้เกษตรกรมีความเสี่ยงต่อการเข้าทำลายของโรคและแมลงได้ทั้งในระยะการเพาะปลูก การเก็บเกี่ยว และในระยะการเก็บรักษาเมล็ดพันธุ์ ดังนั้นงานทดลองนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของการเคลือบเมล็ดด้วยหัวเชื้อจุลินทรีย์ชีวภาพ Bacillus thuringiensis สูตร 4 (MMO4) และหัวเชื้อจุลินทรีย์ชีวภาพ Beauveria bassiana สูตร 5 (MMO5) ในอัตราที่แตกต่างกัน ต่อการเปลี่ยนแปลงความงอกและการเจริญเติบโตของต้นกล้าถั่วเหลืองพันธุ์ สจ. 5 โดยแบ่งออกเป็น 8 กรรมวิธีทดลอง คือ เมล็ดไม่เคลือบ T1), การเคลือบเมล็ดด้วยสารเคลือบเพียงอย่างเดียว T2), และการเคลือบเมล็ดด้วย MMO4 และ MMO5 ที่อัตรา 3 ระดับคือ 0.1, 0.2 และ 0.3 มิลลิลิตร (T3-T8) ตามลำดับ โดยมีผลการทดลองดังนี้ การเคลือบเมล็ดด้วย Carboxymethyl cellulose การเคลือบเมล็ดด้วย MMO5 อัตรา 0.1 และ 0.2 มิลลิลิตร มีการงอกราก ดีมากกว่าเมล็ดที่ไม่เคลือบ นอกจากนี้การเคลือบเมล็ดทุกวิธีการมีความงอกดีมากกว่าเมล็ดที่ไม่ได้ผ่านการเคลือบ และเมื่อตรวจสอบในสภาพเรือนทดลองพบว่า การเคลือบเมล็ดด้วย MMO5 ทุกอัตราทำให้ความยาวต้น และผลรวมต้นกล้ามีการเจริญเติบโตที่ดีมากกว่าเมล็ดที่ไม่ได้เคลือบเมื่อตรวจสอบในสภาพห้องปฏิบัติการ และการเคลือบเมล็ดด้วย MMO5 ทุกอัตรามีความยาวต้นของต้นกล้าดีมากกว่าเมล็ดที่ไม่ได้เคลือบเมื่อตรวจสอบในสภาพเรือนทดลอง ดังนั้นการเคลือบเมล็ดด้วย MMO5 อัตรา 0.1 มิลลิลิตร เป็นอัตราแนะนำสำหรับใช้เคลือบร่วมกับเมล็ดพันธุ์ถั่วเหลือง เนื่องจากลดต้นทุนมากที่สุดและมีผลต่อการส่งเสริมคุณภาพเมล็ดพันธุ์มากที่สุ
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการเผยแพร่ในวารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มรย. นี้ ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มรย. หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่งส่วนใดไปเผยแพร่ต่อหรือกระทำการใดๆ จะต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษรจากวารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มรย. ก่อนเท่านั้น
References
Agricultural Research Development Agency. (2016). Maize, Soybean, Mung Bean and Peanut, Direction of Thai Economic Crops in Asean. Bangkok: Pornsup Printing Co., Ltd. (in Thai).
Backer, R., Rokem, J. S., Ilangumaran, G., Lamont, J., Praslickova, D., Ricci, E., & Smith, D. L. (2018). Plant Growth-Promoting Rhizobacteria Context, Mechanisms of Action, and Roadmap to Commercialization of Biostimulants for Sustainable Agriculture. Frontiers in Plant Science, 9, Article ID 1473, 1-17.
Clinic Technology Call Center. (2010). Request Information of Insect Fungi Beauveria Bassiana [Online]. Retrieved October 20, 2010, from: https://bit.ly/2SaZZdD. (in Thai).
Glick, B. R. (2012). Plant Growth-Promoting Bacteria: Mechanisms and Applications. Scientifica, 2012, Article ID 963401, 1-15.
Institute of Product Quality and Standardization. (2020). Distribution of Biological Products (Microbes) [Online]. Retrieved February 2, 2020, from: http://www.iqs.mju.ac.th. (in Thai).
ISTA (International Seed Testing Association). (2017). International Rules for Seed Testing, Edition 2017. Bassersdorf: International Seed Testing Association.
Kangsopa, J. (2019). Seed Coating. Journal of Agricultural Production, 1(2), 63-76. (in Thai).
Kesan, J. P. (2007). Agricultural Biotechnology and Intellectual Property: Seeds of Change. Wallingford, UK: CAB International.
Office of Agricultural Economics (Thailand). (2019). Statistic of Exports [Online]. Retrieved February 2, 2020, from: https://bit.ly/38Uqqem. (in Thai).
Pedrini, S., Merritt, D. J., Stevens, J. & Dixon K. (2017). Seed Coating: Science or Marketing Spin?.Trends
in Plant Science, 22(2), 106-116.
Schillaci, M., Gupta, S., Walker, R., & Roessner, U. (2019). The Role of Plant Growth-Promoting Bacteria in the Growth of Cereals under Abiotic Stresses. pp. 1-21. In: Root Biology-Growth, Physiology, and Functions. London: IntechOpen.
Siri, B. (2015). Seed Conditioning and Seed Enhancements. Khon Kaen: Klungnanawitthaya Priting. (in Thai).
Su, W. F. (2013). Principles of Polymer Design and Synthesis. Berlin, Heidelberg: Springer Berlin Heidelberg.
Zeng, D., Luo, X. & Tu, R. (2012). Application of Bioactive Coatings Based on Chitosan for Soybean Seed Protection. International Journal of Carbohydrate Chemistry, 2012, Article ID 104565, 1-5.