หลักฐานการเปลี่ยนแปลงระดับน้ำทะเลโบราณในสมัยโฮโลซีนตอนกลางบริเวณคาบสมุทรสทิงพระตอนล่าง ภาคใต้ ประเทศไทย
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิเคราะห์การเปลี่ยนแปลงทางภายภาพตามหลักฐานทางวิทยาศาสตร์เป็นสิ่งจำเป็น จึงทำการวิเคราะห์ ทางตะกอนและบรรพชีวินวิทยาสำรวจบริเวณตอนล่างของคาบสมุทรสทิงพระที่พิกัด UTM 47N 662092 809281 ผลการกำหนดอายุของชั้นตะกอนด้วยวิธีเรืองแสงความร้อนที่ระดับความลึก 50, 100, 150, 200, 250 และ 310 เซนติเมตร พบว่ามีอายุ 2,181 ± 100,2,409 ± 680,3,909 ± 202,4,057 ± 132,4,913 ± 206 และ 5,298 ± 189 ปี ตามลำดับ โดยลำดับชั้นความลึกและอายุของตะกอนมีความสัมพันธ์แบบเชิงเส้น ผลการกำหนดอายุด้วยวิธีเรดิโอคาร์บอนของหอยสองฝาและหอยฝาเดียวที่ระดับความลึก 200, 250, 280, 300 และ 340 เซนติเมตร พบว่ามีอายุ 4,590 ± 130 ปี 7,350 ± 160 ปี 5,610 ± 130 ปี 6,550 ± 140 ปี และ 5,440 ± 140 ปี ตามลำดับ โดยลำดับชั้นความลึกและอายุของหอยทะเลไม่มีความสัมพันธ์แบบเชิงเส้น ผลการกำหนดอายุและชนิดของเปลือกหอยทะเลฝาเดียวและหอยสองฝาที่พบบ่งชี้ว่า ในสมัยโฮโลซีนตอนกลางคาบสมุทรสทิงพระเป็นระบบนิเวศชายฝั่งทะเลชนิดที่ราบน้ำท่วมถึง โดยมีอัตราการสะสมตะกอนเฉลี่ย 0.0734 มิลลิเมตรเมตรต่อปี อายุของหอยทะเลที่พบอยู่ในช่วง 7,350 ± 160 ปี ถึง 4,590 ± 130 ปี สอดคล้องกับช่วงเวลาที่ระดับน้ำทะเลขึ้นสูงสุดในสมัยโฮโลซีนตอนกลาง โดยหลังจาก 4,590 ± 130 ปี ก่อนปัจจุบัน หรือภายหลังสมัย โฮโลซีนตอนกลางระบบนิเวศป่าโกงกางของคาบสมุทรสทิงพระตอนล่างถูกแทนที่ด้วยนิเวศบึงน้ำจืด ดังนั้น ผลการค้นพบ อัตราการสะสมตะกอนดังกล่าว สามารถนำมาใช้ประโยชน์ในการคาดการณ์การสะสมตะกอนและแนวโน้มการตื้นเขินของทะเลสาบสงขลา
Article Details
บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการเผยแพร่ในวารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มรย. นี้ ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มรย. หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่งส่วนใดไปเผยแพร่ต่อหรือกระทำการใดๆ จะต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษรจากวารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มรย. ก่อนเท่านั้น
References
Bos, J.J., (2017).Thermoluminescence as a Research Tool to Investigate Luminescence Mechanisms. Materials, 10(1357).1-22. DOI:10.3390/ma10121357.
Chanchao, U. (2017). Trace of the Evidence of Brahmanism in Ancient Communities on Satingphra Peninsula Prior the 14Th Century A.D. Master’s Thesis. Silpakorn University. (in Thai).
Hanebuth, T.J.J., Voris, H.K., Yokoyama, Y., Saito, Y. and Okuno, J.I. (2011). Formation and Fate of Sedimentary Depocentres on Southeast Asia’s Sunda Shelf over the Past Sea-Level Cycle and Biogeographic Implications.Earth-Science Reviews, 104(1), 92-110.
Kemp, A.C., Horton, B., Donnelly, J.P., Mann, M.R., Vermeer, M., Rahmstorf, S. (2011). Climate Related Sea-Level Variations over the Past Two Millennia. PNAS 108(27), 11017-11022. DOI: 10.1073/pnas. 1015619108.
Mann, T., Bender, M., Lorscheid, T., Stocchi, P., Vacchi, M., Switzer., et al. (2019) Holocene Sea levels in Southeast Asia, Maldives, India and Sri Lanka: The SEAMIS database. Quaternary Science Reviews 219, 112-125.
Neamsuwan, O., Singdam, P., Yingcharoen, K. and Sengnon, N. (2012). A Survey of Medicinal Plants in Mangrove and Beach Forest from Sating Phra Peninsula, Songkhla Province, Thailand.Journal of Medicinal Plants Research, 6(12), 2421-2437.
Nimnate, P., Chutakositkanon, V., Choowong M., Pailoplee, S. and Phantuwongraj, S. (2015). Evidence of Holocene Sea Level Regression from Chumphon Coast of the Gulf of Thailand.ScienceAsia, 41, 55-63.
Noppradit, P. (2019). Late Quaternary Evolution of Songkhla Coast, Southern Thailand, Revealed by OSL Dating. Chiang Mai Journal of Science, 46(1), 152-164.
Scheffers, A., Brill, D., Kelletat, D., Bruckner, H., Scheffers, S. and Fox, K. (2012). Holocene Sea Levels Along the Andaman Sea Coast of Thailand. The Holocene.22(10), 1169-1180.
Surakiatchai, P., Choowong, M., Charusiri, P., Charoentitirat, T., Chaw,chai, S, Pailoplee, S., et al. (2018). Paleogeographic Reconstruction and History of the Sea Level Change at Sam RoiYot National Park, Gulf of Thailand. Tropical Natural History, 8(2), 112-134.
Tongsang, B., Daoh, M., Hemsalammad, J. and Meeped, W. (2011).Age of Sa-Ting Pra Peninsula, Songkhla Province from 14C Dating of Shell.Journal of Taksin University, 14(3), 146-150. (Special Issue).(in Thai).
Tongsang, B. (2017). Dating of Sating-Pra Peninsula in Southern Thailand by Radiocarbon and Termoluminescence Techniques. Doctor’s Thesis. Taksin University. (in Thai)
Tongsang, B., Chusiri, N., Kessaratikoon, P. and Putsukee, T. (2017). Paleogeography of Sating-Pra Peninsula, Southern Thailand.Journal of YalaRajabhat University, 14(1), 73-84. (in Thai).
Walker, M.J.C., Berkelhammer, M., Bjorck, S., Cwynar, L.C., Fisher, D.A., Long, A.J., et al. (2012). Formal Subdivision of the Holocene Series/Epoch: a Discussion Paper by a Working Group of INTIMATE (Integration of ice-core, marine and terrestrial records) and the Subcommission on Quaternary Stratigraphy (International Commission on Stratigraphy.Journal of Quaternary Science, 27(7), 649-659. ISSN 0267-8179.DOI: 10.1002/jqs2565.