แนวทางการจัดการขยะอันตรายชุมชนในอำเภอเบตง จังหวัดยะลา

Main Article Content

จริยาภรณ์ มาสวัสดิ์
จุฑามาศ แก้วมณี

บทคัดย่อ

ขยะอันตรายต้องมีการจัดการที่ดีและเหมาะสม จึงจำเป็นต้องวิจัยเพื่อศึกษาพฤติกรรมของประชาชนและค้นหาแนวทางในการจัดการขยะอันตรายของชุมชนในพื้นที่อำเภอเบตง จังหวัดยะลา กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ศึกษาประกอบด้วยประชาชนในพื้นที่ทั้งหมด 400 คน เก็บข้อมูลโดยการใช้แบบสอบถาม และการจัดเวทีระดมความคิดเห็น โดยเชิญผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย จำนวน 34 คน ได้แก่ ตัวแทนประชาชน เจ้าหน้าที่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เจ้าหน้าที่องค์การบริหารส่วนจังหวัดยะลา และเจ้าหน้าที่สำนักงานทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม วิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณ โดยใช้สถิติร้อยละ และค่าเฉลี่ย สำหรับข้อมูลเชิงคุณภาพเป็นการวิเคราะห์เนื้อหาและเรียบเรียงเชิงพรรณนา ผลการศึกษาพบว่า ผู้ตอบแบบสอบถามมีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับขยะอันตรายในระดับดี นอกจากนี้ยังพบว่าขยะอันตรายที่เกิดจากบ้านเรือนมากที่สุดเป็นหลอด ฟลูออเรสเซ็นต์ หลอดไฟ ถ่านไฟฉาย แบตเตอรี่มือถือ ยาฆ่าแมลง สารปราบศัตรูพืช ยารักษาโรคหมดอายุ คิดเป็นร้อยละ 38.83 โดยมีปริมาณการทิ้งประมาณ 1-2 ครั้งต่อเดือน และไม่มีการคัดแยกก่อนทิ้ง คิดเป็นร้อยละ 61.75 มีวิธีการในการจัดการโดยการเผากลางแจ้ง คิดเป็นร้อยละ 34.25 ในส่วนทางเลือกการจัดการขยะอันตรายในชุมชน พบว่าประกอบด้วย 3 ทางเลือก ได้แก่ การอบรมให้ความรู้เพิ่มเติมกับประชาชน การจัดกิจกรรมสร้างแรงจูงใจเพื่อให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วม และการแยกถังขยะอันตรายออกจากขยะทั่วไป ซึ่งเมื่อผู้ทรงคุณวุฒิประเมินทางเลือกทั้ง 3 แล้วพบว่าทั้ง 3 ทางเลือกมีคะแนนใกล้เคียงกัน ดังนั้นจึงแนะนำให้ดำเนินการทั้ง 3 ทางเลือกไปพร้อม ๆ กันได้

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

Boonyanupong, S. (1999). A hazardous waste management in Chiang Mai. (1 Ed). Chiang Mai University.

Channawa, K., & Paileeklee, S. (2014). Solid waste management behavior of people in Tumbon Naklang Naklang distric Nong-Bua Lamphu Province. Khon Kaen University Journal of Community Health Development Quarterly, 2(3), 265-271. (in Thai)

Decharat, S. (2018). People participation in hazardous waste management in Pa-Payom District, Phatthalung Province. Thaksin University Journal, 21(3), 299-327. (in Thai)

Ecological Alert and Recovery-Thailand (EARTH). (2011). Report of the expired mobile battery management situation survey in Thailand. International POPs Elimination Network (IPEN) October 2010. (in Thai)

Mmereki, D., Baldwin, A., Hong, L. and Li, B. (2016, October 19). The Management Hazardous Waste in Developing Countries. https://www.researchgate.net/publication/309336776

Nateewattana, J., & Tienthavorn, V. (2017). Knowledge and attitude to waste reduction behavior of Mae Ka community, Muang District, Phayao Province. Journal of Science and Technology, 25(2), 316-330.

(in Thai)

Notification of the Ministry of Interior. (2017, 1 November). Waste management 2017. Government gazette, Issue 134 Part of Special 267, 2.

Persaela, N., Sawatkeaw, N., & Persaela, W. (2015). Betong: the path to determination. King Prajadhipok's Institute Journal, 13(2), 41-46. (in Thai)

Pollution Control Department. (2018). Thailand State of Pollution Report 2018. Style Creative House Co., Ltd. Thailand. (in Thai)

Pollution Control Department. (2016). National waste management master plan 2016-2021. Ministry of Natural Resources and Environment, Thailand. (in Thai)

Prasuwan, T., Jiradetprapai, S., Jiemwijak, D., & Dilokwutthisit, P. (2016). Participation waste management of local administration organization and country in Ban Laeng sub-district, Muang District, Rayong Province. Research and Development Journal Humanities and Social Science, 11(1), 45-60. (In Thai)

Paothong, S., Poum, A., & Sudsakorn, W. (2019). The Association between knowledge, attitude and household’s waste management among people who live in Bangpao Tambon, Kantrang District, Trang. Journal of Health Science and Community Public Health, 2(1), 12-22. (in Thai)

Sinlapajaroen, P. (2019). Household Hazardous Waste Management of Nakhon Pathom city Municipality [Master’s thesis, Silpakorn University]. http://ithesis-ir.su.ac.th/dspace/handle/123456789/2821.

(in Thai)

Supornpokee, C. (2012). Appropriate Administrative Model for Managing Household Hazardous Waste Management in Nakhonratchasima Province [Master’s thesis, National Institute of Development Administration]. http://repository.nida.ac.th/handle/662723737/2916. (In Thai)

Tuprakay, R. S., & Tuprakay, S. (2011). Study of quantity, classification and management of household hazardous waste in nonthaburi province. Suan Dusit University Journal of Research, 4(1), 53-65. (in Thai)

U-Tapan, S., Laemu, N., Paopongsawa, P., & Medhanavyn, K. (2013). A study of environmental contamination from hazardous waste and the community management. Disease Control Journal, 39(3), 258-265. (in Thai)

Yala Provincial Statistical Office. 2017. Yala Provincial Statistical Report. Sukyang Rd., Sateng Muang Yala District Yala Province Thailand.