ฤทธิ์ยับยั้งแบคทีเรียของสารสกัดตํารับยาจันทหฤทัยและตํารับยาประสะจันทน์แดง

Main Article Content

พัทธินันท์ วาริชนันท์
ดาลัด ศิริวัน
สาวิตรี ดือราแม

บทคัดย่อ

ปัจจุบันมีโรคติดต่ออุบัติใหม่ที่เกิดจากการติดเชื้อเพิ่มสูงขึ้นทุกปี สมุนไพรไทยจึงเป็นทางเลือกในการป้องกัน และรักษาโรคที่กำลังเป็นที่นิยมของผู้บริโภค ตำรับยาจันทหฤทัยและตำรับยาประสะจันทน์แดง เป็นตำรับยาแผนโบราณของไทยที่ใช้รักษาโรคติดเชื้อจากจุลชีพมาเป็นเวลานาน งานวิจัยนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาประสิทธิภาพของสารสกัดจากตำรับยาทั้ง 2 ตำรับในการยับยั้งแบคทีเรียก่อโรค ได้แก่ Staphylococcus aureus ATCC 25923 และ Escherichia coli ATCC 25922 ซึ่งเป็นกลุ่มตัวแทนของแบคทีเรียก่อโรคแกรมบวกและแกรมลบ ผลการวิจัยพบว่าสารสกัดทั้ง 2 ตำรับที่ผ่านการสกัดด้วยเอทานอล 95 เปอร์เซ็นต์ ที่ความเข้มข้น 100 ถึง 500 ไมโครกรัมต่อมิลลิลิตร มีประสิทธิภาพในการยับยั้งแบคทีเรียก่อโรคได้ทั้งแกรมบวกและแกรมลบซึ่งสูงกว่าสารสกัดที่ผ่านการสกัดด้วยน้ำกลั่น และตำรับยาประสะจันทน์แดงที่สกัดด้วย เอทานอล 95 เปอร์เซ็นต์ ที่ความเข้มข้น 500 ไมโครกรัมต่อมิลลิลิตร สามารถยับยั้งแบคทีเรียก่อโรคแกรมบวก S. aureus ATCC 25923 ได้ดีที่สุด ในขณะที่สารสกัดตำรับยาจันทหฤทัยที่ผ่านการสกัดด้วยเอทานอล 95 เปอร์เซ็นต์ ที่ความเข้มข้น 500 ไมโครกรัมต่อมิลลิลิตร สามารถยับยั้งแบคทีเรียก่อโรคแกรมลบ E. coli ATCC 25922 ได้ดีที่สุด ดังนั้นการเลือกใช้ตัวทำละลายในการสกัดจึงมีผลต่อประสิทธิภาพในการยับยั้งแบคทีเรียก่อโรคซึ่งฤทธิ์ในการยับยั้งจะขึ้นอยู่กับชนิดของตัวทำละลายและความเข้มข้นของสารสกัด ทั้งนี้ควรมีการศึกษาผลของสารสกัดต่อจุลินทรีย์โพรไบโอติกซึ่งเป็นจุลินทรีย์ที่มีประโยชน์ต่อร่างกายที่อาศัยอยู่ในระบบทางเดินอาหารของมนุษย์เพิ่มเติมเพื่อเป็นข้อมูลทางวิทยาศาสตร์ที่จะช่วยสนันสนุนการใช้ตำรับยาสมุนไพรไทยต่อไป

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

Adiana, A., Nurhanan, Y. & Chee, J. (2019). Anti-cancer, antimicrobial, and antioxidative potentials of Mesua ferrea L. and its phytochemical constituents: a review. Asian Journal of Pharmacognosy, 3(3), 5-19.

Chusrithong, R., Thipsut, T. & Manluan, K. (2022). Important herbs in the era of covid for the public. Journal of Social Science for Local Rajabhat Mahasarakham University, 6(1), 293-300. (in Thai)

Ekaiko, M. U., Ajuga, M. U., Okeke, I. M., Arinze, A. G. & Ndulaka, J. C. (2016). Antimicrobial effect of Chromolaena Odorata (L.) and Vernonia Amygdalina Del. leaf extract on clinical isolates from infected wound. IOSR Journal of Pharmacy and Biological Sciences, 11(3), 83-86.

Jingru, L., Xuan, H. & Guo, M. (2022). Antimicrobial activities and mechanisms of extract and components of herbs in East Asia. Royal Society of Chemistry, 12, 29197–29213.

Jia-Yi, F., Tao, Y., Chui-Mei, S., Lin, Z., Wan-Ling, P., Ya-Zhou, Z., et al. (2014). A systematic review of the botanical, phytochemical and pharmacological profile of Dracaena cochinchinensis, a plant source of the ethnomedicine “Dragon’s Blood”. Molecules, 19,10650-10669.

Kaenu, I. & Kongkham, S. (2020). Effect of ethanolic extraction and partial purification on phenolic compounds content and antioxidant capacities of Caesalpinia sappan Heartwood. Thai Journal of Science and Technology, 10(1), 96-108. (in Thai)

Koohsari, H., Ghaemi, E., Sheshpoli, M., Jahedi, M. & Zahiri, M. (2015). The investigation of antibacterial activity of selected native plants from North of Iran. Journal of Medicine and Life, 8(2), 38-42.

Mohammadi, A., Amrollahi, H., Malek, F. & Nazari, H. (2014). In vitro antibacterial activity and phytochemical analysis of some medicinal plants. Journal of Medicinal Plants Research, 8(3), 186-194.

Mounyr, B., Moulay, S. & Saad, K. (2016). Methods for in vitro evaluating antimicrobial activity: A review. Journal of Pharmaceutical Analysis, 6,71-79.

Phuphanee, W. & Thongekkaew, J. (2022). Antibacterial activity of banana blossom extract against pathogenic bacteria. The 16th Research and Innovation for SDGs in the Next Normal Conference, July 11-12, 2022. Ubon Ratchathani: Ubon Ratchathani University. (in Thai)

Sangphum, A., Chaiyawatthanananthn, P. & Itharat, A. (2017). Antibacterial Activity of Extracts from a Thai Traditional Remedy Called Prasachandaeng and Its Plant Components. J Med Assoc Thai, 100(5), 58-66.

Tantipaibulvut, S., Nuamsetti, T. & Dechayuenyong, P. (2012). Antibacterial activity of some fruit-peel extracts. KKU Research Journal, 17(6), 880-894.

Temsiririrkkul, R., Prathanthuraruk, S., Suakul, W. & Keawwongchan, J. (2012). Thai herbs and medicinal formulas: selection based on academic principles (1st ed). Bangkok: Samlada Co., Ltd. (in Thai)

Thongkam, A. (2016). Ya Ha Rak. SanNakhonsithammarat, 46(3), 91-95. (in Thai)

Zhang, Q. W., Lin, L. G. & Ye, W. C. (2018). Techniques for extraction and isolation of natural products: a comprehensive review. Chinese Medicine, 13(1), 1-26.