ประสิทธิภาพของเชื้อเพลิงชีวมวลอัดแท่งจากผักตบชวาและเปลือกกระเทียม โดยใช้แป้งข้าวโพดเป็นตัวประสาน

Main Article Content

พัลลภา ชาบำเหน็จ
วรรณวิสา นิลวัฒน์
พัฒนพงษ์ จำรัสประเสริฐ

บทคัดย่อ

จากปัญหาการแพร่กระจายของผักตบชวาและเปลือกกระเทียมที่เป็นของเหลือทิ้งจากอุตสาหกรรมครัวเรือนจำนวนมากที่ไม่ได้นำมาใช้ประโยชน์ จึงได้นำมาพัฒนาให้เกิดประโยชน์โดยการนำมาผลิตเป็นเชื้อเพลิงชีวมวลอัดแท่ง และศึกษาสมบัติเชื้อเพลิงชีวมวลอัดแท่งจากผักตบชวาและเปลือกกระเทียมโดยใช้แป้งข้าวโพดเป็นตัวประสาน ในอัตราส่วนผักตบชวาต่อเปลือกกระเทียมที่ต่างกัน 5 อัตราส่วน คือ 80:20 60:40 50:50 40:60 และ 20:80 โดยน้ำหนัก และใช้ตัวประสานในอัตราส่วนคงที่ เชื้อเพลิงชีวมวลอัดแท่งในงานวิจัยนี้อัดขึ้นรูปด้วยวิธีอัดเย็นจากนั้นใส่ในตู้อบพลังงานแสงอาทิตย์เป็นเวลา 7 วันพบว่า สามารถขึ้นรูปได้ทุกอัตราส่วน ผลการวิเคราะห์คุณสมบัติของเชื้อเพลิงชีวมวลอัดแท่งด้านค่าความชื้น ปริมาณเถ้า ปริมาณสารระเหย ปริมาณคาร์บอนคงตัวตามวิธีมาตรฐานของ ASTM D7582 และค่าความร้อนตามวิธีมาตรฐานของ BSEN 14918 พบว่าเชื้อเพลิงชีวมวลอัดแท่งที่ให้ประสิทธิภาพดีที่สุดคือ ผักตบชวาต่อเปลือกกระเทียมอัตราส่วน 20:80 โดยน้ำหนัก โดยจะให้ปริมาณคาร์บอนคงตัวสูงที่สุดร้อยละ 13.54 ปริมาณสารระเหยสูงที่สุด ร้อยละ 71.07 ค่าความร้อนสูงที่สุด คือ 3,445 กิโลแคลอรี/กิโลกรัม ปริมาณเถ้าต่ำที่สุดร้อยละ 8.70 ซึ่งมีสมบัติความเป็นเชื้อเพลิงค่อนข้างสูง แต่มีปริมาณคาร์บอนคงตัวไม่เป็นไปตามเกณฑ์มาตรฐานที่ไม่ควรต่ำกว่าร้อยละ 15 ซึ่งยังคงต้องมีการศึกษาวิธีการควบคุมความชื้นการเพิ่มประสิทธิภาพของเชื้อเพลิงและคุณสมบัติของวัสดุที่นำมาใช้ต่อไปเพื่อส่งผลให้เกิดเชื้อเพลิงชีวมวลอัดแท่งที่มีคุณภาพมากขึ้น

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

Chanthong, Ch. (2015). Feasibility study of waste utilization: fuel briquettes from mango peel. Master of Engineering. Thammasat University. (in Thai)

Chubandit, S. (2014). Water hyacinth national problem. Water Hyacinth Management Law [Online]. Retrieved November 18, 2020, from: https://www.senate.go.th/w3c/senate/pictures/comm/71/file_1408422840.pdf (in Thai)

Department of Industrial Works. (2012). Guidelines and qualification criteria for waste processing into fuel rods and cement blocks. Bangkok: CMS Environmental Consultant Printing. (in Thai)

Sama, A., Lenu, N., & Jarawae, R. (2017). The development of Briquette from water hyacinth. National Conference on Science and Social Sciences 2017 Nakhon Si Thammarat Rajabhat University, February 13-14, 2017. Nakhon Si Thammarat: Nakhon Si Thammarat Rajabhat University. (in Thai).

Sreela-or, C. & Sahem, D. (2018). Solder type suitable for the production of charcoal briquettes from coconut shells. Synthesize knowledge from research and creative works, 2(1), 32-34. (in Thai)

Tanpiboonkul, N. & Budnumpetch, T. (2016). Molding and binding method on properties of fuel from water hyacinth. Veridian E-Journal, Science and Technology Silpakorn University, 3(6), 86-100.