ผลของเอทธิฟอนต่อการชักนำการออกดอกของสับปะรดสี (Tillandsia cyanea)
Main Article Content
บทคัดย่อ
ปัจจุบันการผลิตสับปะรดสีเพื่อการค้าจำเป็นต้องมีการใช้สารเคมีเพื่อกระตุ้นการออกดอก สารที่นิยมใช้ คือ เอทธิฟอน ซึ่งอาจจะให้ผลแตกต่างกันตามระดับความเข้มข้นและวิธีการ การใช้เอทธิฟอนในระดับความเข้มข้นสูงมีผลในการยับยั้งการเติบโตและพัฒนาการของช่อดอก ในขณะเดียวกันสายพันธุ์ของสับปะรดสีมีผลต่อการตอบสนองสารเอทธิฟอนแตกต่างกัน งานวิจัยนี้มีจุดประสงค์เพื่อหาความเข้มข้นของเอทธิฟอนและวิธีการให้สารเอทธิฟอนที่เหมาะสมต่อการชักนำให้เกิดตาดอกและขนาดช่อดอกของ Tillandsia cyanea โดยวางแผนการทดลองแบบ (4x2) 10 Factorial in Completely Randomized Design (CRD) มี 2 ปัจจัย ปัจจัยที่ 1 ความเข้มข้นของเอทธิฟอน 4 ระดับ คือ 0 (ชุดควบคุม) 100 200 และ300 มิลลิกรัมต่อลิตร ที่ผสมปุ๋ยยูเรีย (46-0-0) 15 กรัมต่อลิตร ปัจจัยที่ 2 วิธีการให้สาร 2 วิธี คือ การฉีดพ่นทางใบ และการหยอดที่ยอดรวม 8 ทรีตเมนต์ ๆ ละ 10 ต้น จำนวน 80 ต้น ให้สาร 20 มิลลิลิตรต่อต้น จำนวน 2 ครั้ง โดยให้สารครั้งที่ 2 ห่างจากครั้งแรก 1 สัปดาห์ ผลการศึกษาพบว่า T. cyanea ที่ได้รับสารเอทธิฟอนทุกความเข้มข้น มีตาดอกเกิดขึ้นหลังจากการให้สารเป็นเวลา 59.33-72 วัน หรือ 8-9 สัปดาห์ โดยต้นที่ได้รับสารเอทธิฟอน 100 มิลลิกรัมต่อลิตร ด้วยการหยอดที่ยอดทำให้เกิดตาดอกเร็วที่สุด คือ 59.33 วัน ส่วนชุดควบคุมที่ไม่ให้สารเอทธิฟอนไม่เกิดตาดอก ในขณะที่ความเข้มข้นของสารเอทธิฟอนและวิธีการให้สารไม่มีผลต่อความยาวและความกว้างของช่อดอกซึ่งผลการวิจัยนี้สามารถนำไปประยุกต์ใช้เพื่อ ชักนำการออกดอกของสับปะรดสีชนิดอื่นได้อย่างมีประสิทธิภาพ
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการเผยแพร่ในวารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มรย. นี้ ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มรย. หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่งส่วนใดไปเผยแพร่ต่อหรือกระทำการใดๆ จะต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษรจากวารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มรย. ก่อนเท่านั้น
References
Ratchaburi Provincial Farmers Council. (2017). Subdistrict agricultural development plan project to agricultural industry chan (1st ed.). Bangkok. (in Thai)
Issarakraisila, M., Rundon, P. & Nuanla-ong, S. (2017). Effect of ethephon and urea mixtures on flowering and plant quality of bromeliad (Guzmana lingulata). Acta Horticulturae, 1167, 359-362.
Noichinda S., Bodhipadma K., Kruersawat N., Rongyen C. & Chikhuntod U., (2015). Initiation of Kradang Nga Chin (Artabotrys hexapetalus) flower scent by ethephon. Agricultural Sci. J., 46(3)(Suppl.), 673-676.
Puangson, N. (2013). Adding ethive fonts to accelerate development of batavia pineapple fruit color. Bachelor's project. Kasetsart University. (in Thai)
Ratanawichai, C. & Dangcham, S. (2014). Effects of calcium carbide on flowering and fruit quality of Phetchaburi pineapple. Khon Kaen Agriculture Journal, 42(3), 32-38. (in Thai)
Valleser, V. C. (2018). Plant age and rate of flower inducer affects initiation of ‘MD2’ pineapple. International Journal of Research and Review, 5(4), 27-32