ผลสะสมของกากแป้งมันสำปะหลังและหินปูนบด และปุ๋ยเคมีต่อผลผลิต และการดูดใช้ธาตุอาหารของมันสำปะหลังที่ปลูกในชุดดินยโสธร

Main Article Content

ณัฐปคัลภ์ ทานะวงศ์
สมชัย อนุสนธิ์พรเพิ่ม
ศุภิฌา ธนะจิตต์
เอิบ เขียวรื่นรมณ์
มัชฌิมา พันธุ์เอี่ยม

บทคัดย่อ

มันสำปะหลังที่ปลูกในดินเนื้อหยาบได้ผลผลิตค่อนข้างต่ำเนื่องจากดินมีความอุดมสมบูรณ์ต่ำและขาดความชื้นได้ง่าย จึงดำเนินทดสอบผลสะสมของกากแป้งมันสำปะหลัง (CSW) และหินปูนบด (GL) และปุ๋ยเคมีธาตุอาหารหลักที่ใส่ต่อเนื่อง 7 ปี ต่อผลผลิตและการดูดใช้ธาตุอาหารหลักของมันสำปะหลังพันธุ์ห้วยบง 80 ที่ปลูกในชุดดินยโสธร การศึกษานี้เป็นผลของปีที่ 7 วางแผนการทดลองแบบ Split plot จำนวน 4 ซ้ำ แปลงหลัก ประกอบด้วยการใส่กากแป้งมันสำปะหลัง (CSW) และหินปูนบด (GL) จำนวน 6 ตำรับการทดลอง แปลงรองเป็นการเปรียบเทียบปุ๋ยเคมีธาตุอาหารหลัก 4 อัตรา ผลการศึกษาพบว่า การใส่กากแป้งมันสำปะหลัง (CSW) ผสมกับหินปูนบด (GL) อัตรา 6.25 และ 1.25 ตัน/เฮกตาร์และปุ๋ยเคมีธาตุอาหารหลักอัตรา 100:50:100 กิโลกรัม N:P2O5:K2O/เฮกตาร์ซึ่งเป็นอัตราแนะนำมีอิทธิพลร่วมส่งเสริมให้ได้ผลผลิตหัวมันสำปะหลังสด และผลผลิตแป้งสูงสุดอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติเท่ากับ 29.22 และ 6.92 ตัน/เฮกตาร์ตามลำดับ โดยค่าสูงสุดดังกล่าวสูงกว่าที่ได้จากแปลงควบคุมที่ไม่มีการใส่วัสดุปรับปรุงดินตลอดระยะเวลา 7 ปีแต่ได้รับปุ๋ยเคมีธาตุอาหารหลักตามอัตราแนะนำ และการไม่ใส่ปุ๋ยเคมีธาตุอาหารหลักถึงร้อยละ 78.4 และ 114.9 ตามลำดับ การดูดใช้ทั้งหมดในมันสำปะหลัง พบว่า มีการดูดใช้ไนโตรเจนสูงสุด รองลงมาคือ โพแทสเซียม ส่วนฟอสฟอรัสถูกดูดใช้ในสัดส่วนที่น้อยมากเมื่อเทียบกับอีก 2 ธาตุ โดยมันสำปะหลังมีการสะสมไนโตรเจนในส่วนกิ่งก้านใบค่อนข้างมากเกินไป ขณะที่การดูดใช้ไนโตรเจนและโพแทสเซียมในหัวค่อนข้างน้อยเกินไป ดังนั้น การปลูกมันสำปะหลังในดินทรายจำเป็นต้องใส่กากแป้งมันสำปะหลัง (CSW) ผสมกับหินปูนบด (GL) อัตรา 6.25 และ 1.25 ตัน/เฮกตาร์และปุ๋ยเคมีธาตุอาหารหลักอัตรา 100:50:100 กิโลกรัม N:P2O5:K2O/เฮกตาร์ต่อเนื่องทุกปีเพื่อรักษาระดับของผลผลิต

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

Boonrawd, S., Anusontpornperm, S., Thanachit, S., Kheoruenromne, I. & Janjirawuttikul, N. (2021). Characteristics and fertility capability of cassava growing soils under different annual rainfall conditions in Northeast Thailand. Khon Kaen Agricultural Journal, 49(4), 1034-1046.

Bainbridge, Z., Tomlins, K., Wellings, K. & Westby, A. (1996๗. Methods for assessing quality characteristics of non-grain starch staples. (Part 2. field methods). Chatham: Natural Resources Institute.

Chaem-Ngern, C., Anusontpornperm, S., Thanachit S. & Kheoruenromne, I. (2020). Response of cassava, Huay Bong 80 variety, grown in an Ustic Quartzipsamment, to chicken manure and potassium fertilizer. Communications in Soil Science and Plant Analysis, 51(22), 2765–2777.

Howeler, R. H. (2014). Sustainable soil and crop management of cassava in Asia: A reference manual. Cali: Centro Internacional de Agricultura Tropical (CIAT).

Junior, E. C., Gonçalves Jr., A. C., Seidel, E. P., Ziemer, G. L., Zimmermann, J., De Oliveira, V. H. D., Schwantes, D. & Zeni, C.D. (2020). Effects of liming on soil physical attributes: A review. Journal of Agriculture Science, 12(10), 278-286.

Lunlio, P., Anusontpornperm, S., Thanachit, S. & Kheoruenromne, I. (2017). The impacts of tillage, soil conditioners, and chemical fertilizer on yield of cassava in Yasothon Soil Series (Typic Paleustult), relationship between nutrient concentration and cassava yield components, and soil property. Khon Kaen Agricultural Journal, 45(2), 373-382.

Meewassana, E., Anusontpornperm, S., Kheoruenromne, I. & Suddhiprakarn, A. (2010). Characteristics of plough pan under cassava production areas in Nakhon Ratchsima province. Khon Kaen Agriculture Journal, 38(3), 205-214.

Office of Agricultural Economics. (2023). Cassava for Industry [Online]. Retrieved July 17, 2023, from http://www.oae.go.th/assets/portals/1/fileups/prcaidata/files/cacava%2065.pdf.

Phun-iam, M., Anusontpornperm, S., Thanachit, S. & Kheoruenromne, I. (2018). Yield response of cassava Huay Bong 80 variety grown in an Oxyaquic Paleustult to cassava starch waste and nitrogen fertilizer. Agriculture and Natural Resources, 52(6), 573–580.

Prombut, N., Anusontpornperm, S., Thanachit, S., Kheoruenromne, I. & Phun-Iam, M. (2022). Response of cassava to potassium fertilization in a tropical sandy Typic Paleustult amended with burnt rice husk for two-consecutive years. Communications in Soil Science and Plant Analysis, 53(14), 1823–1840.

Santos, N. S., Alves, J. M. A., Uchôa, S. C. P., Oliveira, N. T. & Albuquerque, J. A. A. (2014). Absorption of macronutrients by cassava in different harvest dates and dosages of nitrogen. Revista Ciência Agronômica, 45, 633–40.

Senachai, W., Anusontpornperm, S., Thanachit, S. & Kheoruenromne, I. (2020). Response of cassava to chemical fertilizer in Yasothon soil series amended with cassava starch waste and ground limestone for 5 consecutive years. Khon Kaen Agricultural Journal, 48(6), 1254-1265.

Sittibusaya, C. (1996). Strategies for developing fertilizer recommendations for field crops. Bangkok: Ministry of Agriculture and Cooperatives.

Sowcharoensuk, C. (2023). Industry Outlook 2023-2025: Cassava Industry [online]. Retrieved July 21, 2023, from: https://www.krungsri.com/en/research/industry/industry-outlook/agriculture/cassava/io/cassava-2023-2025, 12 July 2023.