วารสารเทคโนโลยีการอาหาร มหาวิทยาลัยสยาม (JOURNAL OF FOOD TECHNOLOGY, SIAM UNIVERSITY) ในรูปแบบตีพิมพ์ได้จัดทำฉบับแรกขึ้น ใน ปี พ.ศ. 2547 (ฉบับที่ 1) โดยการดำเนินงานของคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสยาม ต่อมาได้เริ่มจัดทำวารสารในรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์ ISSN 2651-1169 (Online) (ISSN เดิม) และ ISSN 2985-2528 (Online) (ISSN ใหม่) เริ่มใช้ตั้งแต่ 30 ตุลาคม 2566 เป็นต้นไป เพื่อเผยแพร่ผ่านระบบฐานข้อมูลวารสารอิเล็กทรอนิกส์กลางของประเทศไทย (Thai Journals Online (ThaiJO)) โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเผยแพร่งานวิจัยด้านเทคโนโลยีการอาหารและศาสตร์ที่เกี่ยวข้อง เช่น โภชนาการ และเทคโนโลยีหลังการเก็บเกี่ยว เป็นต้น เพื่อบริการวิชาการแก่สังคม ซึ่งมีวาระการออกปีละ 2 ฉบับ ฉบับที่ 1 มกราคม-มิถุนายน และฉบับที่ 2 กรกฎาคม-ธันวาคม
บทความที่เสนอเพื่อตีพิมพ์ลงวารสารฯ มี 2 ประเภท คือ 1) บทความวิจัย เป็นบทความที่มีรูปแบบการเขียนตามหลักวิชาการ ระบุถึงปัญหา วัตถุประสงค์ วิธีการดำเนินงานวิจัย สามารถอภิปรายและสรุปผลที่จะนำไปสู่ความก้าวหน้าทางวิชาการ หรือการนำไปประยุกต์ใช้ และ 2) บทความวิชาการ เป็นบทความที่เขียนขึ้นในลักษณะวิเคราะห์ วิจารณ์หรือเสนอแนวคิดใหม่ๆ จากพื้นฐานวิชาการที่ได้รวบรวม และเรียบเรียงมาจากผลงานทางวิชาการของตนเองหรือของผู้อื่น หรือเป็นบทความทางวิชาการที่เขียนขึ้นเพื่อเป็นความรู้สำหรับผู้ที่สนใจทั่วไป
บทความที่ส่งมายังวารสารฯ ต้องเป็นงานที่ไม่เคยถูกนำไปพิมพ์เผยแพร่ในวารสารอื่นใดมาก่อน และไม่อยู่ในระหว่างการพิจารณาลงพิมพ์ในวารสารใดๆ กรณีส่วนหนึ่งส่วนใดของบทความเคยนำเสนอในการประชุมวิชาการ ผู้นิพนธ์ต้องแจ้งในเชิงอรรถของบทความโดยระบุชื่อการประชุม และปีที่นำเสนอ และบทความที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารฯ ต้องผ่านการพิจารณาจากผู้ทรงคุณวุฒิ (Peer review) อย่างน้อย 3 ท่านต่อบทความ โดยเป็นการประเมินแบบ Double blinded
ปีที่ 19 ฉบับที่ 2 (2024): วารสารเทคโนโลยีการอาหาร มหาวิทยาลัยสยาม ปีที่ 19 ฉบับที่ 2 กรกฎาคม – ธันวาคม 2567
บทบรรณาธิการ
ความหลากหลายทางชีวภาพ โดยเฉพาะความหลากหลายของแหล่งอาหารในประเทศไทยมีทั้งพืช และสัตว์ นอกจากสารอาหารหลัก โปรตีน ไขมัน คาร์โบไฮเดรต แล้วยังพบว่าอาหารบางชนิดมีสารพฤกษเคมีสำคัญที่ส่งเสริมสุขภาพที่ดีของมนุษย์ วิธีการแปรรูปอาหารและการสกัดสารสำคัญด้วยวิธีที่แตกต่างกันย่อมมีผลกระทบต่อทั้งปริมาณและคุณภาพของสารสำคัญดังกล่าว ดังจะเห็นได้จากบทความวิจัยในวารสารเทคโนโลยีการอาหาร ปีที่ 19 ฉบับที่ 2 นี้ ที่นำเสนอผลกระทบของวิธีการให้ความร้อนต่อปริมาณสารฟีนอลิก ฟลาโวนอยด์และความสามารถในการต้านอนุมูลอิสระของถั่วขอ (Mucuna pruriens var. utilis) ผลของวิธีการสกัดที่มีต่อองค์ประกอบกรดไขมัน และคุณลักษณะทางเคมีและกายภาพของน้ำมันจากจิ้งหรีดทองแดงลาย (Acheta domesticus)
วารสารเทคโนโลยีการอาหาร มหาวิทยาลัยสยามได้จัดพิมพ์ขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเผยแพร่ผลงานวิจัยและบริการสู่สังคม ซึ่งบทความทุกเรื่องได้ผ่านการพิจารณาจากผู้ทรงคุณวุฒิในสาขาวิชาที่เกี่ยวข้องจากหลายสถาบันการศึกษา กองบรรณาธิการหวังเป็นอย่างยิ่งว่าผู้อ่านจะได้รับความรู้ที่เป็นประโยชน์ในเชิงวิชาการ รวมถึงสามารถใช้เป็นเอกสารอ้างอิงต่อไป
ISSN 2985-2528 (Online)
เผยแพร่แล้ว:
2024-12-26
ดูทุกฉบับ
Indexed in 