ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อคุณภาพชีวิตของแรงงานนอกระบบ
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาระดับคุณภาพชีวิตของแรงงานนอกระบบ จังหวัดกาฬสินธุ์ และ 2) เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อคุณภาพชีวิตของแรงงานนอกระบบ จังหวัดกาฬสินธุ์ กลุ่มตัวอย่าง คือ แรงงานนอกระบบ จำนวนทั้งหมด 292 คน มีรูปแบบการวิจัยแบบภาคตัดขวาง (Cross-sectional Study) เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสัมภาษณ์ วิเคราะห์ด้วยสถิติเชิงพรรณนา และใช้สถิติเชิงอนุมานวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณ Multiple Linear Regression ผลการศึกษาพบว่า กลุ่มแรงงานนอกระบบส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง มีรายได้เฉลี่ย ต่อเดือนต่ำกว่า 3,000 บาท ส่วนใหญ่ไม่ได้รับการตรวจร่างกายประจำปี โดยมีประวัติการเจ็บป่วยส่วนใหญ่ เป็นโรคทางระบบโครงร่างและกล้ามเนื้อ สำหรับคุณภาพชีวิตของแรงงานนอกระบบ พบว่า ส่วนใหญ่มีคุณภาพชีวิตทั้ง 4 ด้าน ได้แก่ ด้านสุขภาพกาย ด้านจิตใจด้านสัมพันธภาพทางสังคม และด้านสิ่งแวดล้อม อยู่ในระดับปานกลาง ร้อยละ 80.8, 50.3, 59.2 และ 56.5 ตามลำดับ และส่วนใหญ่มีคุณภาพชีวิตโดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง ร้อยละ 63.4 เช่นเดียวกัน ในส่วนปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อคุณภาพชีวิตของแรงงานนอกระบบ ได้แก่ อายุ รายได้เฉลี่ยต่อเดือน และการตรวจร่างกายประจำปี (P-value=0.012, 0.006, และ 0.014 ตามลำดับ) ดังนั้น หน่วยงานที่เกี่ยวข้องควรกำหนดนโยบายเรื่องสวัสดิการด้านการเพิ่มรายได้และสวัสดิการด้านสุขภาพให้กับแรงงานนอกระบบ เพื่อส่งเสริมคุณภาพชีวิตของแรงงานนอกระบบให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีต่อไป
Article Details
เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ลงตีพิมพ์ในวารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ ถือเป็นข้อคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรงซึ่งกองบรรณาธิการวารสาร ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย หรือร่วมรับผิดชอบใด ๆ
บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่งส่วนใดไปเผยแพร่ต่อหรือเพื่อกระทำการใด จะต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักอักษรจากวารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ ก่อนเท่านั้น
References
นนทกานต์ จันทร์อ่อน. การบริหารจัดการแรงงานนอกระบบของประเทศไทย. สำนักวิชาการสำนักงานเลขาธิการวุฒิสภา, 2556; (3)2: 1-21.
สำนักงานสถิติแห่งชาติ. แรงงานนอกระบบกับการทำงานในไทย. [อินเทอร์เน็ต]. 2560 [สืบค้นเมื่อวันที่ 15 ธันวาคม 2563] จาก: http://www.nso.go.th.
จินตนา สุวิทวัส และเนตรชนก แก้วจันทา. คุณภาพชีวิตผู้สูงอายุที่เป็นเบาหวาน. วารสารพยาบาลศาสตร์และสุขภาพ, 2555; 32(3): 29-38.
Marcela, C., Katarina, M., Eleonora, M., Serhiy, M. Informal employment and quality of life in rural areas of Ukraine. European Countryside, 2016; 2: 135-146.
สำนักงานสถิติแห่งชาติ. การสำรวจแรงงานนอกระบบ พ.ศ. 2562. [อินเทอร์เน็ต]. 2562 [สืบค้นเมื่อวันที่ 13 ธันวาคม 2563] จาก: http://www.nso.go.th.
Thant, KK., Julia, DG., Gisele, Y., Laura, G. Informal workplaces and their comparative effects on the health of street vendors and home-based garment workers in Yangon, Myanmar: a qualitative study. BMC Public Health, 2020; 20(524): 1-14.
Valentina Zigante. Informal care in Europe, Exploring Formalisation, Availability and Quality. London :European Commission. 2018.
สำนักงานสถิติจังหวัดกาฬสินธุ์. รายงานวิเคราะห์สถานการณ์การจัดทำข้อมูลเชิงพื้นที่จังหวัดกาฬสินธุ์. [อินเทอร์เน็ต]. 2561 [สืบค้นเมื่อวันที่ 10 ธันวาคม 2563] จาก: http://osthailand.nic.go.th/masterplan_area.
สุวรรณ์ ศรีอาภรณ์. โครงการส่งเสริมและพัฒนาแรงงานนอกระบบจังหวัดกาฬสินธุ์. สำนักงานประชาสัมพันธ์จังหวัดกาฬสินธุ์. อินเทอร์เน็ต]. 2558 [สืบค้นเมื่อวันที่ 13 ธันวาคม 2563] จาก: https://pr.prd.go.th/kalasin.
Mahatnirunkun, S., Tantipiwattanasakun ,W. and Pumphaisanchai, W. WHOQOL–BREF–THAI (26 items). Journal of Mental Health of Health of Thai, 1998; 5: 4-15.
Kittipichai, W., Arsa, R., Jirapongsuwan, A., … Singhakant, C. Quality of Life Among Thai Workers in Textile Dyeing Factories. Global Journal of Health Science, 2015; 7(3): 274-282.
จักรกฤณ วังทัน และนทัต อัศราภรณ์. แนวทางพัฒนาอาชีพกลุ่มแม่บ้านเกษตรกรเย็บปักถักร้อยผลิตภัณฑ์ใยกัญชงตามแนวปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง. วารสารวิทยาลัยสงค์นครลำปาง, 2561; 7(1): 155–124.
Suda Hanklang. Quality of life and mental health among Thai older workers in community enterprises. Journal of Health Research, 2018; 32(3): 237-250.
Sampaothong G. Family and elderly health care. Pathum Thani: Thammasat University. 2006.
ชวพรพรรณ จันทร์ประสิทธิ์ และคณะ. (2561). สถานการณ์ด้านอาชีวอนามัยและสิ่งแวดล้อมของกลุ่มแรงงานตัดเย็บผ้า: การวิเคราะห์ในวิสาหกิจชุมชน. วารสารสภาการพยาบาล, 2561; 33(1): 61-73.
Kelly, M., Strazdins, L., Dellora. T., Sleigh, AC. Thailand’s work and health transition. International Labour Review, 2010; 149(3): 371-386.
Florey, LS., Sandro, G. and Wilson, MS. Macrosocial determinants of population health in the context of globalization. In Sandro Galea (ed.), Macrosocial determinants of population health. New York, Springer. 2007.
Rajakaruna,. R. K. G. and Kaluarachchige, I. P. Quality of Work Life and Job Satisfaction of Sewing Machine Operators in a Sri Lankan Organization. Research Symposium, 2020; 1: 73-74.
สุวิทย์ อินนามมา. แรงงานนอกระบบ: วิถีชีวิต การทํางาน การดูแลสุขภาพและสังคม กรณีศึกษากลุ่มเย็บผ้า ตําบลบ้านเม็ง อำเภอหนองเรือ ขอนแก่น. วารสารวิจัยระบบสาธารณสุข, 2553; 4(3): 379–392.
สุภัทรา ฝอฝน และคณะ. ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อคุณภาพชีวิตของผู้ประกอบการค้าแผงลอยในกรุงเทพมหานคร. วารสารสาธารณสุขและการพัฒนา, 2557; 12(2): 69-83.
Akazili, J., Chatio, S., Ataguba, J.E., Oduro, A. (2018). Informal workers’ access to health care services: findings from a qualitative study in the Kassena-Nankana districts of Northern Ghana. BMC International Health and Human Rights, 2018; 8(20): 1-9.