พฤติกรรมการคัดแยกขยะมูลฝอยในครัวเรือนของประชาชน ในเขตเทศบาลเมืองวารินชำราบ อำเภอวารินชำราบ จังหวัดอุบลราชธานี

Main Article Content

ลลิตา ทองบุราณ
มนัสนันท์ ลิมปวิทยากุล

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาพฤติกรรมการคัดแยกขยะมูลฝอยในครัวเรือนและศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยนำ ปัจจัยเอื้อและปัจจัยเสริม กับพฤติกรรมการคัดแยกขยะมูลฝอยในครัวเรือนของประชาชน เขตเทศบาลเมืองวารินชำราบ อำเภอวารินชำราบ จังหวัดอุบลราชธานี คือ ครอบครัวที่ตั้งบ้านเรือนอยู่ในเขตเมืองวารินชำราบ จำนวน 370 คน โดยคัดเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบ Multi-stage Sampling เครื่องมือที่ใช้ คือ แบบสอบถามเชิงสำรวจตรวจสอบคุณภาพเครื่องมือโดยผู้เชี่ยวชาญจำนวน 3 ท่าน คำนวณค่า IOC (Index of Objective Congruence) เท่ากับ 0.88 แ ล ะ ค่ า Reliability เท่ากับ 0.74 วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติแจกแจงความถี่ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติวิเคราะห์ความสัมพันธ์ Pearson’s Product Moment Correlation ผลการวิจัยพบว่า ค่าเฉลี่ยพฤติกรรมของประชาชนต่อการคัดแยกขยะมูลฝอยของกลุ่มตัวอย่างอยู่ในระดับปานกลางเท่ากับ 51.89 (S.D.=7.35) ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยนำ ปัจจัยเอื้อ ปัจจัยเสริม กับพฤติกรรรมการคัดแยกขยะมูลฝอยของประชาชนในเขตเทศบาลเมืองวารินชำราบ จังหวัดอุบลราชธานี พบว่า ปัจจัยนำ ได้แก่ ทัศนคติ และการรับรู้ประโยชน์ มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมของประชาชนต่อการคัดแยกขยะมูลฝอยอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ p<0.05 ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ (r) เท่ากับ 0.226 และ 0.118 ตามลำดับ ปัจจัยเอื้อ พบว่า มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมของประชาชนต่อการคัดแยกขยะมูลฝอยอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ P<.05 ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ (r) เท่ากับ 0.249 และปัจจัยเสริม ได้แก่ การได้รับการสนับสนุนจากคนในครอบครัว พบว่า มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมของประชาชนต่อการคัดแยกขยะมูลฝอยอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ p<0.05 ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ (r) เท่ากับ 0.203 โดยแสดงว่าตัวแปร ทั้งสอง มีความสัมพันธ์ในทิศทางเดียวกันในระดับต่ำมาก


 


 

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม. (2562). สิ่งแวดล้อม การนําขยะมูลฝอย และสิ่งปฏิกูลทำเพื่อการเกษตร. กรุงเทพมหานคร: กรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม กระทรวงเกษตรและสหกรณ์.

เทศบาลเมืองวารินชำราบ. (2562). ข้อมูลพื้นฐานเทศบาลเมืองวารินชำราบ (เอกสารประกอบการปฏิบัติงาน 2562).อุบลราชธานี: เทศบาลเมืองวารินชำราบ อำเภอวารินชำราบ จังหวัดอุบลราชธานี.

Daniel, WW. (1995). Biostatistics : A foundation for analysis in the health sciences. 8th ed. John Wiley & Sons.

Best, JW. & Kahn, JV. (2006). Research in Education. 10th ed. Pearson Education Inc.

Hinkle, DE. (1998). Applied Statistics for the Behavioral Sciences. Boston: Houghton Mifflin.

กานดา ปุ่มสิน ทอแสง พิมพ์เบ้าธรรม และนลพรรณ เจนจำรัสฤทธิ์. (2564). การศึกษาพฤติกรรมของประชาชนในการจัดการมูลฝอยขององค์การบริหารส่วนตำบลแก้งไก่ อำเภอสังคม จังหวัดหนองคาย. วารสารวิทยาศาสตร์ วิศวกรรมศาสตร์ และเทคโนโลยีมหาวิทยาลัยราชภัฏเลย, 1(2), 10-22.

ศรินทร์ทิพย์ บุญจันทร์ และจักรพันธ์ เพ็ชรภูมิ. (2561). ปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมการคัดแยกขยะของแม่บ้านในตำบลบึงพระอำเภอเมือง จังหวัดพิษณุโลก. วารสารบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์, 12(1), 180-190.

วันวิสาข์ คงพิรุณ สรัญญา ถีป้อม และวิโรจน์ จันทร. (2560). ปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมการจัดการขยะในหมู่บ้านโป่งปะ ตำบลแก่งโสภา อำเภอวังทอง จังหวัดพิษณุโลก. วารสารวิชาการสาธารณสุข, 26(2), 310-321.

อภิชิต กองเงิน. (2564). การพัฒนารูปแบบการจัดการขยะมูลฝอยโดยการมีส่วนร่วมของชุมชนตำบลน้ำชุน อำเภอหล่มสัก จังหวัดเพชรบูรณ์. วารสารวิจัยการพยาบาลและการสาธารณสุข, 1(1), 55-64.

Bernstad, A. (2016). Household food waste separation behavior and the importance of convenience. WasteManagement, 34(7), 1317-1323.

จักรพันธ์ เพ็ชรภูมิ บรรณกร เสือสิงห์ วัฒนศักดิ์ จันทร์แปลง วิเชียร พุทธภูมิ และบุญชนัฏฐา พงษ์ปรีชา. (2561). ปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมการจัดการขยะในครัวเรือนของแม่บ้านในอำเภอเขาคอจังหวัดเพชรบูรณ์. วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีมหาวิทยาลัยอุบลราชธานี, 20(1), 203-212.

Knickmeyer, D. (2020). Social factors influencing household waste separation: A literature review on good practices to improve the recycling performance of urban areas. Journal of Cleaner Production, 245, 118605. doi: 10.1016/j.jclepro.2019.118605