การวิเคราะห์อัตราการไหลหลากของฝายบ้านโพนทราย

Main Article Content

นันทวัน ทองพิทักษ์
โชคชัย ไตรยสุทธิ์

บทคัดย่อ

การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ ศึกษาปริมาณทางสถิติน้ำฝนรายปี และปริมาณการไหลหลากของฝายกั้นน้ำบ้านโพนทราย ตำบลหนองบัว อำเภอกันทรารมย์ จังหวัดศรีสะเกษ ทำการรวบรวมและวิเคราะห์ปริมาณน้ำฝน 14 ปี จากสถานีวัดน้ำฝนเขื่อนหัวนา โดยวิธีทางสถิติวิเคราะห์ และอุทกศาสตร์เพื่อให้ทราบถึงสาเหตุของปัญหาการกักน้ำในพื้นที่ฝาย ผลการวิจัยพบว่า ปริมาณน้ำไหลหลากรายเดือนตลอดทั้งปี (น้ำท่ารายปี) มีปริมาณ 845,733,595 ลูกบาศก์เมตร มีค่าเฉลี่ยของน้ำท่าไหลหลากทั้งปีอยู่ที่ 70,477,799 ลูกบาศก์เมตร โดยมีน้ำท่าไหลหลากมากที่สุดในเดือนกันยายนที่ 277,002,000 ลูกบาศก์เมตร และน้อยสุดในเดือนมกราคมที่ 32,987.50 ลูกบาศก์เมตร ของทุกปี ปริมาณในการกักเก็บน้ำในพื้นที่ฝายมีปริมาตรความจุอยู่ที่ไม่เกิน 80 ล้านลูกบาศก์เมตร จากการสำรวจทางกายภาพพบว่า สาเหตุที่อ่างไม่สามารถกักเก็บน้ำได้เนื่องจาก พื้นที่มีความต่างระดับไม่มาก และเกิดจากการ  ทับถมของตะกอนทรายจากการไหลหลากของน้ำจากแม่น้ำมูล การไหลของน้ำท่า เป็นการไหลลงสู่ลำคลองอย่างรวดเร็ว ลักษณะลำน้ำรับภายหลังจากที่ฝนตกและไหลออกจากพื้นที่ระบายน้ำในเวลาไม่นานนัก ระดับน้ำในห้วยจะมีระดับต่ำกว่าน้ำใต้ดิน ทำให้น้ำที่อยู่ส่วนบนจะไหลลงสู่ลำน้ำตลอดเวลา การแก้ไขปัญหาการกักเก็บน้ำด้วยวิธีการขุดอ่างให้มีปริมาตรอ่างตามที่ได้วิเคราะห์ไว้ และปูพื้นอ่างด้วยวัสดุทึบน้ำให้อ่างสามารถกักเก็บน้ำได้

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

ธนกร ศิลปะรายยะ และศุภวัฒนกร วงศ์ธนวสุ. (2562). รูปแบบการบริหารจัดการน้ำอย่างยั่งยืย : การถอดบทเรียนการบริหารจัดการน้ำอ่างเก็บน้ำห้วยคล้าย อันเนื่องมาจากพระราชดำริ ตำบลกุดหมากไฟ อำเภอหนองบัวซอ จังหวัดอุดรธานี. สักทอง : วารสารมนุษย์ศาสตร์และสังคมศาสตร์ (สทมส), 25(1), 203-217.

ชาญวิทย์ สายหยุดทอง. (2561). การสร้างแผนที่น้ำท่วมถึงของแม่น้ำนครนายกด้วยฟรีแวร์และข้อมูลเปิด. วารสารมหาวิทยาลัยศรีนครินทร์วิโรฒ สาขาวิทยาศาสตร์และแทคโนโลยี, 10(20), 25-33.

นันท์นภ้ส ปลัดศรีช่วย. (2558). วิธีการมีส่วนร่วมของประชาชน ในการจัดการน้าอ่างเก็บน้าสาธารณะโสกรัง ตำบลโนนสะอาด อำเภอโนนสะอาด จังหวัดอุดรธานี. วารสารสหวิทยาการวิจัย: ฉบับบัณฑิตศึกษา, 4(2), 56-63.

สุจิตรา ยศดา และประสิทธิ์ ประคองศรี. (2554). การมีส่วนร่วมของราษฎรในการจัดการและการใช้ประโยชน์พื้นที่ชุ่มนํ้าอ่างเก็บนํ้าห้วยใหญ่ ตำบลป่าหวายนั่ง อำเภอบ้านฝาง จังหวัดขอนแก่น. วารสารวิจัย มข., 11(1), 59-70.

ฉลอง เกิดพิทักษ์ และชัยวัฒน์ ขยันการนาวี. (2557). การศึกษาเบื้องต้นของคลองช่องลัดเพื่อลดระดับและเวลาน้ำท่วมตาม ลำน้ำชี – มูล. วารสารวิชาการราชภัฏตะวันตก, 8(2), 17-25.

ฉลอง เกิดพิทักษ์. (2558). การออกแบบอ่างเก็บน้ำและการจัดการน้ำในอ่างด้วยแบบจำลอง. วารสารวิจัยสหวิทยาการไทย, 10(2), 1-7.

กีรติ ลีวัฒนกุล. (2539). วิศวกรรมชลศาสตร์. ปทุมธานี: มหาวิทยาลัยรังสิต.