ผลของการนึ่งต่อคุณสมบัติทางเคมี กายภาพ และสารประกอบฟีนอลิกทั้งหมด ในผงเปลือกทุเรียนภูเขาไฟศรีสะเกษ

Main Article Content

ศิริลักษณ์ ศรีสันต์
พิกุลทอง สืบศรี
ขนิษฐา ฉิมพาลี
จิรนันต์ รัตสีวอ

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาวะที่เหมาะสมของการนึ่งเปลือกทุเรียนภูเขาไฟศรีสะเกษ ต่อคุณภาพทางกายภาพ เคมี ปริมาณสารประกอบฟีนอลิกทั้งหมดโดยใช้เปลือกด้านในสีขาวของทุเรียนภูเขาไฟศรีสะเกษสายพันธุ์หมอนทอง ใช้ระยะเวลาในการนึ่งที่แตกต่างกัน คือ 0 (ตัวอย่างควบคุม) 10 15 และ 20 นาที นำมาอบแห้งที่อุณหภูมิและระยะเวลาที่เท่ากัน จากนั้นนำตัวอย่างผงมาวิเคราะหาค่าสี ความชื้น ปริมาณน้ำอิสระ ปริมาณเส้นใย และสารประกอบฟีนอลิกทั้งหมด ผลการศึกษาพบว่า ค่าความสว่าง (L*) ของตัวอย่างมีค่าเพิ่มขึ้นหลังจากนึ่ง ปริมาณเส้นใยของเปลือกทุเรียนนึ่งที่เวลา 10 15 นาที มีปริมาณสูงกว่าเวลาที่ 20 นาที (p<0.05) ปริมาณสารฟีนอลิกทั้งหมดของตัวอย่างที่ผ่านการนึ่งทุกตัวอย่างมีปริมาณเพิ่มขึ้นกว่าตัวอย่างควบคุม (0 นาที) ผงเปลือกทุเรียนภูเขาไฟศรีสะเกษที่ใช้เวลาการนึ่ง 15 และ 20 นาที มีปริมาณสารประกอบฟีนอลิกทั้งหมดสูงสุด 660.29±15.55 และ 650.40±19.76 mg GAE/g ตามลำดับ  เมื่อเปรียบเทียบกับทุกตัวอย่าง งานวิจัยนี้ชี้ให้เห็นว่าสภาวะการนึ่งที่เวลา 15 นาที สามารถเพิ่มปริมาณสารประกอบฟีนอลิกทั้งหมดของผงเปลือกทุเรียนและยังคงมีคุณสมบัติทางเคมีกายภาพที่เหมาะสม ดังนั้นการนึ่งที่เวลา 15 นาที นี้จึงสมควรพิจารณาเป็นการผลิตผงเปลือกทุเรียนภูเขาไฟที่เหมาะสมและใช้ผลจากการศึกษานี้นำไปใช้ในการต่อยอดเพื่อผลิตผงเปลือกทุเรียนภูเขาไฟศรีสะเกษต่อไป

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กระทรวงเกษตรและสหกรณ์. (2565). ‘รมช.มนัญญา’ หนุนเที่ยวสวนทุเรียนภูเขาไฟศรีษะเกษ เผยผลผลิตทุเรียนภูเขาไฟพร้อมออกสู่ตลาด 7,369 ตัน กระจายผลผลิตขายบนแพลทฟอร์มออนไลน์. สืบค้น 15 พฤษภาคม 2566, จาก https://www.moac.go.th/news-preview-441291792253

Wanlapa, S., Wachirasiri, K., Sithisam-ang, D., and Suwannatup, T. (2015). Potential of selected tropical fruit peels as dietary fiber in functional foods. International Journal of Food Properties, 18(6), 1306-1316.

Srirajan, S., Mounmued, W., Rungsardthong, V., et al., (2021). Preparation of rice spaghetti with added defatted soy flour, modified starch and durian peel powdered by extrusion method. Science, Engineering and Health Studies, 15(2021), 1-7.

Jiamjariyatam, R., Thongrod, W., and Koocharoenpisal, N. (2023). Durian (Durio zibethinus) Peel Flour as Novel Ingredient in Gluten-Free Biscuit: Physico-Chemical, Technological and Nutritional Perspective. Journal of Culinary Science & Technology, 4(9), 1-13.

Ratseewo J., Meeso N. and Siriamornpun S. (2020). Changes in amino acids and bioactive compounds of pigmented rice as affected by far-infrared radiation and hot air drying. Food Chemistry, 306, 125644.

Ratseewo, J., Tangkhawanit, E., Meeso, N., Kaewseejan, N., and Siriamornpun, S. (2016). Changes in antioxidant properties and volatile compounds of kaffir lime leaf as affected by cooking processes. International Food Research Journal, 23(1), 188.

จิรนันต์ รัตสีวอ และขนิษฐา ฉิมพาลี. (2566). ผลของการอบแห้งด้วยลมร้อนต่อสารหอมระเหย สารออกฤทธิ์ทางชีวภาพ และฤทธิ์การต้านอนุมูลอิสระของทุเรียนภูเขาไฟศรีสะเกษ. วารสารเกษตรพระวรุณ มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม, 20(1), 44–53.

Association of official analytical chemists (AOAC). (1990). Official methods of analysis. 15th Edition. Washington DC.: Association of Official Analytical Chemist.

Chutrakulwong, F., Thamaphat, K., and Limsuwan, P. (2020). Photo-irradiation induced green synthesis of highly stable silver nanoparticles using durian rind biomass: Effects of light intensity, exposure time and pH on silver nanoparticles formation. Journal of Physics Communications, 4(9), 095015.

กองบริหารมาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชน สำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม. (2546). ผลไม้แห้ง. กรุงเทพฯ: กระทรวงอุตสาหกรรม.

Muhtadi, M., & Ningrum, U. (2019). Standardization of durian fruit peels (Durio zibethinus Murr.) extract and antioxidant activity using DPPH method. Pharmaciana, 9(2), 271.

Wachtel-Galor, S., Wong, KW., and Benzie, IF. (2008). The effect of cooking on Brassica vegetables. Food chemistry, 110(3), 706-710.

Ratseewo, J., Warren, FJ., Meeso, N., and Siriamornpun, S. (2022). Effects of Far-Infrared Radiation Drying on Starch Digestibility and the Content of Bioactive Compounds in Differently Pigmented Rice Varieties. Foods, 11(24), 4079.

Ratseewo, J., Meeso, N., and Siriamornpun, S. (2020). Changes in amino acids and bioactive compounds of pigmented rice as affected by far-infrared radiation and hot air drying. Food Chemistry, 306, 125644.