Development of Sakura Glaze Using Nickel Oxide as a Coloring Agent
Main Article Content
Abstract
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาอัตราส่วนผสมของน้ำเคลือบที่สามารถหลอมตัวที่อุณหภูมิ 1220 องศาเซลเซียส และพัฒนาอัตราส่วนผสมของน้ำเคลือบที่ก่อให้เกิดผลึกขนาดเล็กสีชมพู ใช้วัตถุดิบ 6 ชนิด ได้แก่ โพแทสเฟลด์สปาร์ แบเรียมคาร์บอเนต แมกนีเซียมคาร์บอเนต ซิงค์ออกไซด์ ดินขาวลำปาง และซิลิกา คำนวณอัตราส่วนด้วยทฤษฎีเซเกอร์จำนวน 16 อัตราส่วน แบ่งการทดลองออกเป็น 3 การทดลองโดยเติมนิกเกิลออกไซด์ ร้อยละ 1.00 1.50 และ 2.00 โดยน้ำหนักผงแห้งทุกอัตราส่วนผสม ใช้เวลาบดด้วยเครื่องบดความเร็วสูง 10 นาที ความถ่วงจำเพาะ 1.50 เผาที่อุณหภูมิ 1220 องศาเซลเซียส ยืนไฟ 30 นาที เผาด้วยเตาไฟฟ้า บรรยากาศออกซิเดชัน ผลการวิจัยพบว่า ตัวอย่างงานวิจัยทั้ง 16 อัตราส่วนผสมหลอมตัวที่อุณหภูมิ 1220 องศาเซลเซียส และการเติมนิกเกิลออกไซด์สามารถก่อให้เกิดเคลือบดอกซากุระ
Article Details

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
The content and information in the articles published in the Journal of Science and Technology, Sisaket Rajabhat University reflect the opinions and responsibilities of the respective authors. The editorial board of the journal does not necessarily agree with, nor share responsibility for, these views.
Articles, information, content, images, etc., published in the Journal of Science and Technology, Sisaket Rajabhat University are copyrighted by the Faculty of Science and Technology, Sisaket Rajabhat University. If any individual or organization wishes to republish all or part of the content, or use it for any other purpose, they must obtain written permission from the Journal of Science and Technology, Sisaket Rajabhat University beforehand.
References
ปรีดา พิมพ์ขาวขำ. (2523). เซรามิกส์. พิมพ์ครั้งที่ 4. กรุงเทพฯ: โอเดียนสโตร์.
ไพจิตร อิ่งศิริวัฒน์. (2541). เนื้อดินเซรามิก. กรุงเทพฯ: โอเดียนสโตร์.
ไพจิตร อิ่งศิริวัฒน์. (2537). เคลือบเซรามิก. กรุงเทพฯ: โอเดียนสโตร์.
ธมลวัฒน์ หิรัญชาติอนันต์. (2564). วัตถุดิบที่ใช้ในกระบวนการผลิตอุตสาหกรรมมิก. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ: โอเดียนสโตร์.
นงลักษณ์ มีทอง ประภาวดี ไกรวุฒิอนันต์ อภิสรา สกุลอำนวยชัย สุมาลี จันระวังยศ ศุภสุตา ภู่ผ่าน กุสุมาลย์ ทองขุนด่าน และสุธรรม ศรีหล่มสัก. (2557). อิทธิพลของสัดส่วน Al2O3 กับ SiO2 และรูปแบบการเผาต่อเคลือบผลึกวิลลิไมท์. วารสารวิทยาศาสตร์ มข, 42(3), 845-855.
Ehrt, D. and Flügel, S. (2011). Properties of Zinc Silicate Glasses and Melts. Journal of Materials Science and Engineering, A1, 312-320.
Karasu, B., Çaki, M. and Turan, S. (2000). The development and characterization of zinc crystal glazes used for Amakusa-like soft porcelains. European ceramic society, 20, 2225-2231.
ดรุณี วัฒนศิริเวช และสุธี วัฒนศิริเวช. (2552). การวิเคราะห์แร่ดิน เคลือบ และตำหนิในผลิตภัณฑ์เซรามิก. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
อายุวัฒน์ สว่างผล. (2543). วัตถุดิบที่ใช้แพร่หลายในงานเซรามิกส์. กรุงเทพฯ: โอเดียนสโตร์.