ผลของสารสกัดทางชีวภาพจากฟางข้าวไทยต่อการยับยั้งการเจริญเติบโตของสาหร่ายพิษ

Main Article Content

ปฏิพัทธ์ สันป่าเป้า
กิจษิพัณธ์ หนูแสง
สุพัฒน์ พลซา
ปิยวัฒน์ ปองผดุง
วิทยา ทาวงศ์

บทคัดย่อ

การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อตรวจสอบการเจริญเติบโตของสาหร่ายพิษ Cylindrospermopsis raciborskii NUPLKC32 ที่เพาะเลี้ยงด้วยอาหารผสมสารสกัดฟางข้าว วางแผนการทดลองแบบแฟกทอเรียลประกอบด้วยสารสกัดจากฟางข้าว 3 สายพันธุ์ (สุพรรณบุรี กข1 และปทุมธานี)  ที่ระดับความเข้มข้นแตกต่างกัน 6 ระดับ (0 ชุดควบคุม, 1, 5, 10, 20 และ 30 g/L) ผลการทดลองพบว่า สารสกัดจากฟางข้าวสายพันธุ์สุพรรณบุรี และ กข1 ที่ความเข้มข้น 10 ถึง 30 g/L สามารถลดจำนวนเซลล์สาหร่ายได้ร้อยละ 99.4-100.0 ภายใน 14 วัน ขณะที่สารสกัดฟางข้าวจากสายพันธุ์ปทุมธานีสามารถลดจำนวนเซลล์ได้ร้อยละ 98.8 (p<0.05)ที่ความเข้มข้น 30 g/L แต่พบว่าลักษณะเซลล์สาหร่ายที่เลี้ยงด้วยอาหารผสมสารสกัดจากฟางข้าวพบการแตกหักของเส้นไตรโครม จากการวิเคราะห์ค่าทางสถิติแบบสองทาง พบว่าสายพันธุ์ข้าวและความเข้มข้นของสารสกัดฟางข้าวในระดับที่แตกต่างกันมีอิทธิพลร่วมกันต่อการเจริญเติบโตของ C. raciborskii NUPLKC32 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.05) และ พบว่าสารสกัดจากฟางข้าวทั้ง 3 สายพันธุ์ ที่ความเข้มข้น 30 g/L มีปริมาณเเทนนินสูงสุด โดยสารสกัดจากฟางข้าวสายพันธุ์สุพรรณบุรีมีปริมาณแทนนินสูงสุดเท่ากับ 1.39±0.05 mg/L จากการศึกษาครั้งนี้แสดงให้เห็นว่าสารสกัดฟางข้าวจากสายพันธุ์สุพรรณบุรีและ กข 1 ที่ความเข้มข้น 10–30 g/L สามารถใช้ยับยั้งการเจริญเติบโตของสาหร่ายพิษ C. raciborskii ได้อย่างมีประสิทธิภาพ และสามารถใช้เป็นแนวทางในการพัฒนาการควบคุม หรือการกำจัดสาหร่ายพิษ ที่ปลอดภัยต่อสิ่งแวดล้อม แต่ควรศึกษาถึงผลกระทบของสารสกัดฟางข้าวไทยกับสาหร่ายชนิดอื่น ๆ ต่อไป

Article Details

บท
บทความวิจัย