ภูมิปัญญาในกระบวนการเก็บรักษาเมล็ดพันธุ์พืชพื้นบ้านและการใช้ประโยชน์ของชาวกระเหรี่ยง กรณีศึกษาชุมชนบ้านยางแก้ว ตำบลอมก๋อย อำเภออมก๋อย จังหวัดเชียงใหม่

Main Article Content

ผานิตย์ นาขยัน
พรทิพย์ ปัญญาทะ
เยาว์นิตย์ ธาราฉาย
ทิพย์สุดา ตั้งตระกูล

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) สำรวจและรวบรวมภูมิปัญญาในการเก็บรักษาเมล็ดพันธุ์พืชพื้นบ้าน และ 2) ศึกษาการใช้ประโยชน์จากพืชพื้นบ้านที่มาจากการเพาะปลูกเมล็ดพืชพื้นบ้านของชาวกระเหรี่ยง ชุมชนบ้านยางแก้ว งานวิจัยเป็นแบบผสมเชิงคุณภาพและเชิงปริมาณ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาวิจัยคือเกษตรกรตัวอย่างของชุมชน จำนวน 80 ครัวเรือน  เก็บรวบรวมข้อมูลโดยศึกษาจากข้อมูลมือสอง การสัมภาษณ์ การสำรวจและการสังเกตุ วิเคราะห์ข้อมูลโดยการบรรยายและใช้สถิติพรรณา เพื่อหาค่าร้อยละ และค่าเฉลี่ย ผลการศึกษาพบว่า ภูมิปัญญาในการเก็บรักษาเมล็ดพันธุ์พืชพื้นบ้านของชาวกระเหรี่ยง กรณีศึกษาชุมชนบ้านยางแก้ว มีทั้งหมด 4 วิธี ได้แก่ การเก็บรักษาเมล็ดพันธุ์โดยการเก็บไว้ในที่ร่ม การเก็บรักษาโดยการตากแดด โดยการรมควัน และการใช้ขี้เถ้าแกลบกลบ ทั้ง 4 วิธีสามารถเก็บรักษาเมล็ดพันธุ์ได้ในระยะเวลา 6 เดือนถึง 2 ปี อัตราการงอกอยู่ที่ร้อยละ 70-100 ชุมชนมีจำนวนชนิดเมล็ดพันธุ์ 25 ชนิด เพิ่มมาจากอดีตที่มี 18 ชนิด วิธีการเก็บรักษาเมล็ดพันธุ์ที่ปฏิบัติกันมากที่สุดคือวิธีที่ 2 คือการนำเมล็ดผึ่งแดดและเก็บรักษาไว้ในที่แห้งและเย็น (ร้อยละ 68)  การประโยชน์ แบ่งตามลักษณะการใช้ประโยชน์ได้ 4 ประเภท คือ รับประทานเป็นเครื่องเคียงกับน้ำพริก ใช้ประกอบอาหารในชีวิตประจำวัน รับประทานเป็นของว่างและผลไม้ และใช้ประกอบในพิธีกรรมในการดำเนินชีวิตของชุมชน

Article Details

How to Cite
นาขยัน ผ. ., ปัญญาทะ พ. ., ธาราฉาย เ. ., & ตั้งตระกูล ท. . (2020). ภูมิปัญญาในกระบวนการเก็บรักษาเมล็ดพันธุ์พืชพื้นบ้านและการใช้ประโยชน์ของชาวกระเหรี่ยง กรณีศึกษาชุมชนบ้านยางแก้ว ตำบลอมก๋อย อำเภออมก๋อย จังหวัดเชียงใหม่. วารสารเกษตรนเรศวร, 17(1), 28–37. สืบค้น จาก https://li01.tci-thaijo.org/index.php/aginujournal/article/view/247984
บท
บทความวิจัย